ข้ามไปเนื้อหา

ช่วงอายุเจลาเซียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช่วงอายุเจลาเซียน
2.58 – 1.80 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
เคยเป็นส่วนหนึ่งของยุค/หินยุคเทอร์เทียรี
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีกาลของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหินหินช่วงอายุ
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่าง
ขอบล่าง GSSPชั้นหินมอนเตซานิโกลา เมืองเจลา แคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี
37°08′49″N 14°12′13″E / 37.1469°N 14.2035°E / 37.1469; 14.2035
การอนุมัติ GSSP2539 (ในฐานะฐานของช่วงอายุเจลาเซียน)[3]
คำนิยามขอบบนที่ความลึกประมาณ 8 เมตรหลังจากการสิ้นสุดของสภาพขั้วแม่เหล็กในหินรุ่น C2n (ออลดูไว)
ขอบบน GSSPชั้นหินวรีซา แคว้นคาลาเบรีย ประเทศอิตาลี
39°02′19″N 17°08′05″E / 39.0385°N 17.1348°E / 39.0385; 17.1348
การอนุมัติ GSSP5 ธันวาคม 2554 (ในฐานะฐานของช่วงอายุคาลาเบรียน)[4]

ช่วงอายุเจลาเซียน (อังกฤษ: Gelasian age) เป็นช่วงอายุหนึ่งในธรณีกาลสากลหรือหินช่วงอายุหนึ่งในการลำดับชั้นหินตามอายุกาล เป็นการแบ่งย่อยแรกสุดหรือเก่าสุดของยุค/หินยุคควอเทอร์นารีและสมัย/หินสมัยไพลสโตซีน กินเวลาระหว่าง 2.588 ± 1.800 ล้านปีก่อนถึง 1.806 ± 0.005 ล้านปีก่อน[5] สืบต่อมาจากช่วงอายุ/หินช่วงอายุปีอาเซนเซียน (ส่วนหนึ่งของสมัยไพลโอซีน) และตามด้วยช่วงอายุ/หินช่วงอายุคาลาเบรียน

นิยาม

[แก้]

ชื่อเจลาเซียนถูกนำมาใช้เป็นชื่อช่วงเวลาในธรณีกาลในปี พ.ศ. 2541[6] ชื่อดังกล่าวตั้งตามเมืองเจลาทางตอนใต้ของเกาะของเกาะซิซิลี ในปี พ.ศ. 2552 ช่วงเวลานี้ถูกย้ายจากสมัยไพลโอซีนไปยังสมัยไพลสโตซีนเพื่อให้ธรณีกาลมีความสอดข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในภูมิอากาศ มหาสมุทร และชีวชาติของโลกที่เกิดขึ้นเมื่อ 2.588 ล้านปีก่อน[7]

ฐานของช่วงอายุเจลาเซียนถูกกำหนดในแง่การลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาลเป็นฐานของหินรุ่นมาสึยามะ (C2r) (ที่ขอบการลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาลเกาส์–มาสึยามะ) หรือหินรุ่นไอโซโทป 103 เหนือแนวนี้เกิดการสูญพันธุ์ที่โดดเด่นของซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กมากหินปูน ได้แก่ ดิสโคสเตอร์เพนตาราดีเอตัส และ ดิสโคสเตอร์เซอร์คูลัส ขึ้น[5][8][6] จุดและแหล่งชั้นหินแบบฉบับขอบทั่วโลก (GSSP) สำหรับช่วงอายุนี้ตั้งอยู่ในมอนเตซานนิโกลาใกล้กับเมืองเจลา

ขอบบนของช่วงอายุนี้ถูกกำหนดโดยการลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาลว่าเป็นการสิ้นสุดของหินรุ่นออลดูไว (C2n) และในแง่สัตวชาติเป็นระดับการสูญพันธุ์ของซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กมากหินปูน ดิสโคสเตอร์โบรเวอรี (ฐานของส่วนชั้นชีวภาพ CN13) ด้านบนของเจลาเซียนเป็นการเกิดขึ้นครั้งแรกของซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กมากหินปูน เกไฟโรแคปซา เอสพี. และระดับการสูญพันธุ์ของแพลงก์ตอนฟอรามินิเฟอรา โกลบิเจอไรนอยด์เอ็กเทรมัส[5][9][6]

ภูมิอากาศ

[แก้]

ในช่วงอายุเจลาเซียน พืดน้ำแข็งในซีกโลกเหนือเริ่มขยายขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคน้่ำแข็งควอเทอร์นารี ตัวอย่างแกนทะเลลึกที่ระบุได้อยู่ที่ประมาณ 40 หินช่วงอายุไอโซโทปทะเล (MIS 103 – MIS 64) ในระหว่างช่วงอายุ ดังนั้น จึงอาจมีวัฎจักรยุคน้ำแข็งประมาณ 20 รอบที่มีความรุนแรงแตกต่างกันไปในระหว่างช่วงอายุ

ทวีปยุโรป

[แก้]

ในประวัติธารน้ำแข็งของเทือกเขาแอลป์ ช่วงอายุนี้เรียกว่าบีเบอร์ ซึ่งสอดคล้องกับพรีทีเลียนและทีเลียนในยุโรปเหนือ[10]

ในระหว่างช่วงอายุ หมวดหินเรดแครกในบุตลีย์, นิวบอร์นแครก และ หมวดหินนอร์วิชแครก (ทั้งหมดอยู่ในอีสต์แองเกลีย ประเทศอังกฤษ) ถูกทับถมไว้ ช่วงอายุนี้เทียบเท่ากับหินช่วงอายุเพรทีเลียนและทีเลียนในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมักใช้ในประเทศแถบยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ

อ้างอิง

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. Cohen, K. M.; Finney, S. C.; Gibbard, P. L.; Fan, J.-X. (January 2020). "International Chronostratigraphic Chart" (PDF). International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
  2. Mike Walker; และคณะ (December 2018). "Formal ratification of the subdivision of the Holocene Series/Epoch (Quaternary System/Period)" (PDF). Episodes. Subcommission on Quaternary Stratigraphy (SQS). 41 (4): 213–223. doi:10.18814/epiiugs/2018/018016. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  3. Rio, Domenico; R. Sprovieri; D. Castradori; E. Di Stefano (1998). "The Gelasian Stage (Upper Pliocene): A new unit of the global standard chronostratigraphic scale". Episodes. 21 (2): 82–87. doi:10.18814/epiiugs/1998/v21i2/002.
  4. Cita, Maria; Gibbard, Philip; Head, Martin (September 2012). "Formal ratification of the GSSP for the base of the Calabrian Stage (second stage of the Pleistocene Series, Quaternary System)". Episodes. 35 (3). doi:10.18814/epiiugs/2012/v35i3/001. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 ช่วงอายุเจลาเซียน ที่ ฐานข้อมูล GeoWhen
  6. 6.0 6.1 6.2 Rio, D., Sprovieri, R., Castradori, D., Di Stefano, E. "The Gelasian Stage (Upper Pliocene): A new unit of the global standard chronostratigraphic scale", Episodes, Vol. 21, No. 1, March 1998. pp 82-87. Retrieved March 18, 2020.
  7. Gibbard, Philip L.; Head, Martin J.; Walker, Michael J. C. (2009), "Formal ratification of the Quaternary System/Period and the Pleistocene Series/Epoch with a base at 2.58 Ma", Journal of Quaternary Science, 25 (2): 96, doi:10.1002/jqs.1338
  8. Gradstein et al. (2005), p. 28
  9. Gradstein et al. (2005)
  10. German Stratigraphic Commission: Stratigraphische Tabelle von Deutschland 2016

เอกสารข้อมูล

[แก้]