ซาซ่า ศ.อารีย์
ซาซ่า ศ.อารีย์ | |
---|---|
เกิด | อังศนา คำหาญพล 2 ตุลาคม พ.ศ. 2537 |
สถิติ | |
รุ่น | ฟลายเวท |
เหรียญรางวัล | ||
---|---|---|
ตัวแทนของ ไทย | ||
มวยไทยหญิง | ||
มวยไทยสมัครเล่นชิงแชมป์โลก จากสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ | ||
พ.ศ. 2552 | ฟลายเวท (52 กก.) |
ซาซ่า ศ.อารีย์ ชื่อเล่น ซาซ่า เกิดวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2537 เป็นนักมวยไทยหญิงชาวจังหวัดสระบุรี ซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในประเทศญี่ปุ่น เช่นเดียวกับกระแต โฟร์ทีน โดยซาซ่าสามารถชนะ เกรซิเออร์ อากิ ซึ่งเป็นแชมป์เจ-เกิร์ล ชาวญี่ปุ่น ด้วยการชนะคะแนนอย่างเป็นเอกฉันท์ ในรายการ เอ็ม-วัน แฟร์เท็กซ์เบียร์สิงห์มวยไทยชาเลนจ์ 2009 - ยอดนักสู้ vol.4 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ดิฟเฟอร์อาริอาเกะคอลิเซียม ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[2]
นอกจากนี้ เธอยังเป็นแชมป์อัศวินดำสเตเดี้ยม กรุงเทพ และแชมป์ช่อง 9 ประเทศไทย[3][4] ซาซ่าเคยให้สัมภาษณ์ในรายการเจาะใจในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 พร้อมกับจีจ้า ญาณิน เกี่ยวกับความนิยมของมวยไทย โดยมี จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ นอกจากนี้ซาซ่ายังมีผลงานด้านการถ่ายแบบและร้องเพลง[5]
เธอมีผลงานมิวสิควิดีโอที่มีชื่อว่า "คนสำคัญปันใจ"[6] และผลงานซีดีเพลง โดยมีเพลง คนสำคัญปันใจ, เจ็บปวดไม่เท่าไหร่ และ ง่ายที่จะรักยากที่จะเข้าใจ เป็นเพลงที่สร้างชื่อให้กับเธอ[7]
ประวัติ
[แก้]ซาซ่าเป็นลูกคนที่สอง มีพี่สาว 1 คน และน้องชาย 1 คน เข้าแข่งขันครั้งแรกได้พบกับ เพชรสโรชา ลูกทรายกองดิน และซาซ่าเป็นฝ่ายชนะคะแนน โดยได้รับค่าตัว 500 บาท ปัจจุบันซาซ่ามีรัฐกาญจน์ คำหาญพล ซึ่งเป็นพ่อของเธอทำหน้าที่เป็นผู้จัดการและหัวหน้าคณะ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ซาซ่าได้รับการจัดให้อยู่ในมวยคู่เอกที่เวทีมวยอัศวินดำ รามอินทรา โดยได้พบกับ เดือนนภา เกียรติเกรียงศักดิ์ ในรุ่นน้ำหนัก 107 ปอนด์ โดยซาซ่าเป็นฝ่ายแพ้คะแนน[8] ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ซาซ่าได้รับการจัดให้อยู่ในมวยคู่เอกของรายการศึกอัศวินดำ โดยได้พบกับ น้องกล้วย ศ.เพ็ญประภา ซึ่งเป็นคู่ชกซาซ่าเคยแพ้มาก่อน และในการแข่งขันครั้งนี้ ซาซ่าเป็นฝ่ายชนะคะแนน[9] ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553 ได้มีการจัดการแข่งขันรายการศึกไทยแลนด์ชาเลนเจอร์ ที่สยามพารากอน ซาซ่าพบกับ พลอยสวย ศักดิ์รุ่งเรือง ซึ่งการแข่งขันครั้งดังกล่าวซาซ่าเป็นฝ่ายชนะคะแนน และในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซาซ่ามีโปรแกรมการแข่งขันที่รายการ ซึ่งคู่ชกของเธอคือ เอคาเธอริน่า อิโซโตว่า ซึ่งเป็นนักมวยไทยชาวเบลารุสแชมป์สหพันธ์มวยไทยโลก (WMF)
ซาซ่ายังมีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 38 ในกีฬามวยสากลสมัครเล่น และวูซู ที่จังหวัดตรัง[10] รวมถึงการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 ในกีฬาวูซู ที่จังหวัดชลบุรี โดยใช้ชื่อ อังศนา คำหาญพล ซึ่งเป็นชื่อจริงของเธอในการแข่ง[11]
ต่อมา ซาซ่าได้เดินทางไปแข่งขันที่ประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งกับรายการชูตบ็อกซิง 2011 ที่โคระกุเอ็งฮอล ณ กรุงโตเกียว ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โดยได้พบกับ ไอ ทาคาฮาชิ จากการแข่งขันครั้งดังกล่าวซาซ่า เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอในยกที่สอง จากกติกาการแข่งขันแบบชูตบ็อกซิง[12][13][14]
ซาซ่าเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงในต่างแดน โดยได้รับเชิญแข่งขันชูตบ็อกซิง ซึ่งเธอได้พบกับนักสู้สาวชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อว่าเรนะ คุโบตะ[15] ทว่าซาซ่าเป็นฝ่ายแพ้น็อกจากการโดนต่อยท้องอย่างแรง[16][17][18]
กลับมาสร้างชื่อเสียงใน พ.ศ. 2558
[แก้]หลังจากหยุดการแข่งมวยไทยระดับอาชีพในขณะที่เรียนจบปริญญามหาวิทยาลัย ซาซ่า ศ.อารีย์ ได้เริ่มกลับมาสร้างชื่อเสียงในปี พ.ศ. 2558 (โดยเป็นฝ่ายชนะการแข่ง)[19]
เกียรติประวัติ
[แก้]- พ.ศ. 2559 – แชมป์โลก อี-วัน รุ่น 52 กก. ของสภามวยไทยโลก (ฮ่องกง)
- แชมป์มวยไทยหญิง WPMF 112 ปอนด์[20]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญเงิน มวยไทยสมัครเล่นชิงแชมป์โลก รุ่นฟลายเวทหญิง[21]
- แชมป์โลก WPMF 52 กิโลกรัม
- พ.ศ. 2550 – แชมป์อัศวินดำสเตเดี้ยม (ประเทศไทย)[22][23]
- พ.ศ. 2550 – แชมป์ช่อง 9 (ประเทศไทย)[22][23]
- ผู้ชนะการแข่งขันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ[22]
สถิติการแข่งขัน
[แก้]สถิติการแข่งขัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชก 39 นัด, ชนะ 33 ครั้ง (ชนะน็อก 5 ครั้ง), แพ้ 6 ครั้ง
คำอธิบาย: ชนะ แพ้ เสมอ/ถอนสิทธิ์ หมายเหตุ |
ผลงาน
[แก้]ละครโทรทัศน์
[แก้]ปี พ.ศ. | เรื่อง | ออกอากาศ | รับบทเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2564 | แด่คุณพ่อด้วยแข้งขวา | Thairath TV | สดใส ปอประกายเพชร | รับเชิญ |
ละครชุด
[แก้]ปี พ.ศ. | เรื่อง | ออกอากาศ | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
25 | ช่อง |
ซิทคอม
[แก้]ปี พ.ศ. | เรื่อง | ออกอากาศ | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
25 | ช่อง |
ภาพยนตร์
[แก้]ภาพยนตร์ | |||
---|---|---|---|
พ.ศ. | เรื่อง | รับบทเป็น | หมายเหตุ |
พ.ศ. 25 | |||
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Biography". Thailand: Zaza Sor Aree Official Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.
- ↑ 【M-1】ムエタイ最高峰の激突は3冠王ノーンオーが勝利!アイドル戦士サーサーは王座防衛 (ญี่ปุ่น)
- ↑ ZAZA Sor Aree: Female Thai Champ
- ↑ "Zaza Sor Aree". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-25. สืบค้นเมื่อ 2011-01-03.
- ↑ บัวลอยเรดิโอ[ลิงก์เสีย]
- ↑ น็อคเอาต์ฉบับมวยสยาม. ปีที่ 23 ฉบับที่ 1941. ISSN 15135438. หน้า 28
- ↑ น็อกเอาต์ฉบับมวยสยาม. ปีที่ 23 ฉบับที่ 1945. ISSN 15135438. หน้า 34
- ↑ "ซาซ่าฟอร์มหลุดพ่ายเดือนนภาคู่เอกอัศวินดำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-08. สืบค้นเมื่อ 2011-01-03.
- ↑ Zaza corners Nong Gluay[ลิงก์เสีย] (อังกฤษ ไทย)
- ↑ ตรังเกมส์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ชลบุรีเกมส์[ลิงก์เสีย]
- ↑ น็อกเอาต์ฉบับมวยสยาม. ปีที่ 23 ฉบับที่ 1950. ISSN 15135438. หน้า 28
- ↑ "【シュートボクシング】宍戸がボーウィーに執念のリベンジ!弘中、大澤は敗れる". Results (ภาษาญี่ปุ่น). Japan: God Bless the Ring. 2011-02-19. p. 2. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.
- ↑ "宍戸、ムエタイ王者ボーウィーにリベンジ:2.19 後楽園". Reports (ภาษาญี่ปุ่น). Japan: Bout Review. 2011-02-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-24. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.
- ↑ 격투기계의 카라? 미소녀 파이터 전성시대 เก็บถาวร 2011-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เกาหลี)
- ↑ "【シュートボクシング】女子立ち技最強は神村エリカ!ハム・ソヒに逆転勝利". Results (ภาษาญี่ปุ่น). Japan: God Bless the Ring. 2011-08-19. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.
- ↑ "シュートボクシング「Girls S-cup2011」 第9試合 スペシャルワンマッチ 50kg契約 3分3R・延長2R". Kakutogi (ภาษาญี่ปุ่น). Japan: sportsnavi.com. 2011-08-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-05. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.
- ↑ Sargent, Robert (2011-08-19). "Erika Kamimura Wins 2011 Shoot Boxing Girls S-Cup". Articles. Canada: MMARising.com. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.
- ↑ "Live your dreams! Interview with professional Muay Thai Fighter ZaZa Sor Aree". my-thai.org. สืบค้นเมื่อ 2015-07-04.
- ↑ "อันดับนักมวยหญิง (W P M F)" [Top female fighters (WPMF)]. Thailand: World Professional Muay Thai Federation. 2011-06-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
- ↑ "FEMALE" (PDF). IFMA World Muaythai Championships 2009 Results. International Federation of Muaythai Amateur. 2009. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 "THAI BOXING PRO-FIGHTERS". Thailand: Muaythai Boxing Tours. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.
- ↑ 23.0 23.1 "Zaza Sor Aree: Female Thai Champ". Canada: York Muay Thai. 2009-10-14. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.