ณฐนนท ทวีสิน
ณฐนนท ทวีสิน | |
---|---|
ปลัดกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง รอเพิ่มเติมข้อมูล – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 |
คุณหญิง ณฐนนท ทวีสิน (เกิด 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489) อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร
ประวัติ
[แก้]ณฐนนท ทวีสิน เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สิงห์แดง) ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคนซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จปริญญาบัตรหลักสูตรการป้องกันราชาอาณาจักร รุ่นที่ 39 จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2544-2545
การทำงาน
[แก้]ณฐนนท ทวีสิน รับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการกองกลาง ผู้อำนวยการกองงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักรักษาความสะอาด ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร และตำแหน่งสุดท้าย คือ ปลัดกรุงเทพมหานคร
ในระหว่างรับราชการ ได้เป็นผู้ริเริ่มเปลี่ยนแปลงระบบงบประมาณ จากงบประมาณแบบแสดงรายงาน มาเป็นงบประมาณแบบแผนงานและวิเคราะห์งบประมาณอย่างเป็นระบบ และนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารและติดตามงบประมาณของกรุงเทพมหานคร[1]
ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 5313/2551 เรื่องลงโทษปลดคุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร พ้นจากตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร
ต่อมาในวันที่ ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 5313/2551 ลงวันที่ 29 ธ.ค. 2551 เรื่องลงโทษปลดคุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร พ้นจากตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร และเพิกถอนมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ก.ก.) เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2552 วันที่ 24 มิ.ย. 2552 และวันที่ 17 ก.ย. 2552 ที่วินิจฉัยยกอุทธรณ์คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 5313/2551 และเพิกถอนคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2553 โดยให้มีผลย้อนหลังนับแต่วันที่มีคำสั่งหรือมติดังกล่าว[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่4 จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)[5]
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-13. สืบค้นเมื่อ 2012-03-03.
- ↑ ศาลปกครองสั่งคืนตำแหน่งปลัด กทม. “คุณหญิงณัษฐนนท”[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๙, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๔๒, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๗๕๙, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๘, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2489
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
- คุณหญิง
- บุคคลจากโรงเรียนเผยอิง
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากสถาบันพระปกเกล้า
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.จ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์