ตัวองคชาต
ตัวองคชาต Body of penis | |
---|---|
องค์ประกอบที่เป็นโพรงทรงกระบอกขององคชาต | |
ภาคตัดในแนวตั้งของกระเพาะปัสสาวะ องคชาต และท่อปัสสาวะ | |
รายละเอียด | |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | corpus penis |
TA98 | A09.4.01.003 |
TA2 | 3664 |
FMA | 18249 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
ตัวองคชาต (อังกฤษ: body of penis) ขยายจากฐานไปจนถึงปลายสุดของคอร์ปุส คาเวอร์โนซุม พีนิส และในคาร์ปัส คาร์เวอร์โนซุมทั้งสองอันจะอยู่อย่างใกล้ชิดกันโดยมีผนังกั้นที่มีช่องอยู่ด้านบน ซึ่งทั้งคู่จะรวมกันอย่างสมบูรณ์ก่อนจะถึงขาองคชาต[1]
ตัวองคชาตถูกล้อมรอบด้วยทูนิกา อัลบูจินีสองชั้น ซึ่งเอ็นที่ปลายนั้นช่วยค้ำจุนหัวองคชาต และมีบทบาทสำคัญต่อ penile fibroskeleton โดยโครงสร้างนี้เรียกว่า "os analog" ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติกับ Geng Long Hsu ในสารานุกรมระบบสืบพันธ์[1] โครงสร้างที่จำเป็นนี้เป็นความต่อเนื่องของตัวองคชาตของมนุษย์ ซึ่งทำให้องคชาตของมนุษย์มีความแตกต่างกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดอื่น ที่ไม่จำเป็นต้องมีกระดูกบาคูลัม (หรือกระดูกพองยุบได้) และแทนที่ด้วยการอาศัยการมีเลือดคั่งคัดเพื่อให้องคชาตอยู่ในสถานะแข็งตัว ถือเป็นส่วนที่หลงเหลือมาจากกระดูกบาคูลัม ที่มีการวิวัฒนาการเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะในการผสมพันธุ์[2]
ร่องตื้น ๆ ที่พื้นผิวด้านบนแสดงถึงจุดเชื่อมต่อของตัวองคชาตซึ่งมีหลอดเลือดดำลึกขององคชาตและมีคู่ของหลอดเลือดดำคาร์เวอร์โนซุมขนาบอยู่[1] ในขณะที่ร่องที่ลึกและกว้างกว่าจะอยู่บริเวณพื้นผิวด้านล่าง ซึ่งบริเวณร่องนั้นเป็นที่ตั้งของคอร์ปุส สปอนจิโอซุม พีนิส ตัวขององคชาตถูกยึดด้วยพังผืด ซึ่งรวมไปถึงทูนิกา อัลบูจินี, พังผืดของบัค, หนังแท้ และผิวหนัง
ภาพเพิ่มเติม
[แก้]-
ตัวองคชาต
-
ตัวองคชาต
อ้างอิง
[แก้]บทความนี้รวมเอาข้อความซึ่งเป็นสาธารณสมบัติจากหน้าที่ 1249 ของหนังสือเกรย์อนาโตมีฉบับพิมพ์ครั้งที่ 20 (ค.ศ. 1918 )
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Hsu, Geng-Long; Liu, Shih-Ping (2018). "Penis Structure". Encyclopedia of Reproduction. pp. 357–366. doi:10.1016/B978-0-12-801238-3.64602-0. ISBN 9780128151457.
- ↑ "Why Humans Lost Their Penis Bone". Science.