ข้ามไปเนื้อหา

ทะเลสาบชิกตสึ

พิกัด: 42°48′N 141°21′E / 42.800°N 141.350°E / 42.800; 141.350
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทะเลสาบชิกตสึ
支笏湖
ทะเลสาบชิกตสึ 支笏湖ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ทะเลสาบชิกตสึ 支笏湖
ทะเลสาบชิกตสึ
支笏湖
พิกัด42°48′N 141°21′E / 42.800°N 141.350°E / 42.800; 141.350
ชนิดทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักบิฟูเอะ โอโกตัมเปะ นินารุ และฟูเรไน
แหล่งน้ำไหลออกชิโตเซะ
พื้นที่รับน้ำ223 ตารางกิโลเมตร (86 ตารางไมล์)
ประเทศในลุ่มน้ำญี่ปุ่น
พื้นที่พื้นน้ำ78.4 ตารางกิโลเมตร (30.3 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย265.4 เมตร (870.7 ฟุต)
ความลึกสูงสุด363 เมตร (1,191 ฟุต)
ปริมาณน้ำ20.9 ลูกบาศก์กิโลเมตร (5.0 ลูกบาศก์ไมล์)
ความยาวชายฝั่ง140.4 กิโลเมตร (25.1 ไมล์)
ความสูงของพื้นที่247 เมตร (810 ฟุต)
เกาะ0
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด
ทะเลสาบชิกตสึ มีภูเขาทารูมาเอะอยู่เบื้องหลัง

ทะเลสาบชิกตสึ (ญี่ปุ่น: 支笏湖โรมาจิShikotsu-ko) เป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟในเมืองชิโตเซะ บนเกาะฮกไกโด ของญี่ปุ่น อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติชิกตสึ-โทยะ

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ทะเลสาบชิกตสึตั้งอยู่ที่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะฮกไกโด มีความลึกเฉลี่ย 265 เมตร จุดที่ลึกที่สุดลึก 363 เมตร จัดเป็นทะเลสาบที่ลึกเป็นอันดับสองในญี่ปุ่นรองจากทะเลสาบทาซาวะ มีพื้นที่ผิวมากเป็นอันดับแปดในญี่ปุ่น และยังเป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่เป็นอันดับสองในญี่ปุ่นรองจากทะเลสาบคูซาโระ รอบทะเลสาบมีภูเขาไฟสามลูก ได้แก่ ภูเขาเอนิวะทางทิศเหนือ ภูเขาฟุปปาชิและเขาทารูมาเอะทางทิศใต้ ทะเลสาบแห่งนี้เกิดขึ้นจากการยุบตัวของแผ่นดินระหว่างภูเขาไฟทั้งสามในสมัยโฮโลซีน

เนื่องจากทะเลสาบแห่งนี้ลึก จึงมีปริมาตรมากถึง 3/4 ของทะเลสาบบิวะ ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น แม้จะมีพื้นที่ผิวเพียง 1/9 ของทะเลสาบบิวะ และจากอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวที่น้อยกับความลึกมาก ทำให้อุณหภูมิของน้ำในทะเลสาบคงที่ได้ตลอดทั้งปี จึงจัดเป็นทะเลสาบที่ไม่แข็งเป็นน้ำแข็งที่อยู่เหนือสุดในญี่ปุ่น แหล่งน้ำไหลเข้าสู่ทะเลสาบได้แก่ แม่น้ำบิฟูเอะ โอโกตัมเปะ นินารุ และฟูเระไน มีแหล่งน้ำไหลออกสายหลักคือแม่น้ำชิโตเซะ

ธรณีวิทยา

[แก้]

ทะเลสาบชิกตสึเป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ จากการสำรวจของ Global Volcanism Program พบว่าแอ่งภูเขาไฟแห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อ 31,000-34,000 ปีก่อนจากการปะทุของภูเขาไฟครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งบนเกาะฮกไกโด[1] ในปล่องประกอบด้วยแร่ดาไซต์ ไรโอไลต์ และแอนดีไซต์เป็นหลัก มีภูเขาไฟสามลูกได้แก่ภูเขาเอนิวะ ภูเขาฟุปปะชิ และภูเขาทารูมาเอะ ก่อตัวขึ้นบนขอบของแอ่ง[2]

การใช้งาน

[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 243 มีการนำปลาแซลมอนแดง (ชื่อในท้องถิ่นเรียกว่า "ชิปปุ") จากทะเลสาบอากังมาปล่อยในทะเลสาบชิโกะสึ ต่อมากลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของท้องถิ่น และการตกปลาชิปปุก็เป็นกีฬายอดนิยมในฤดูร้อน ในบริเวณทะเลสาบมีศูนย์นักท่องเที่ยว ค่ายพักแรม และอนเซ็งจำนวนมากที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว

เมืองชิโตเซะมีชื่อเสียงจาก Indian Fish Whell ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ที่แม่น้ำชิโตเซะเพื่อดักจับปลาแซลมอนที่มาวางไข่ในทะเลสาบชิกตสึ

การเดินทาง

[แก้]

ทางหลวงแผ่นดิน 276 ทอดผ่านไปตามริมฝั่งทะเลสาบทางทิศใต้ เชื่อมต่อทะเลสาบกับเมืองโทมาโกไมและดาเตะ มีทางหลวงแผ่นดิน 453 ตัดจากด้านเหนือและตะวันออกของทะเลสาบไปยังซัปโปโระ

จากชิโตเซะมีเส้นทางรถเมล์ City bus มายังทะเลสาบและรถเมล์สายฮกไกโด-ชูโอวิ่งระหว่างทะเลสาบกับสถานีรถไฟชิโตเซะและท่าอากาศยานชินชิโตเซะ ในฤดูร้อนจะมีรถประจำทางมาจากท่าอากาศยานซัปโปโระ และเคยมีรถประจำทางวิ่งระหว่างทะเลสาบกับโทมาโกไม แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Shikotsu". Global Volcanism Program (ภาษาอังกฤษ). Smithosonian National Museum of Natural History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-16. สืบค้นเมื่อ 2008-09-01.
  2. "SHIKOTSU Caldera". Quarternary Volcanoes in Japan (ภาษาอังกฤษ). Geological Survey of Japan, AIST. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-19. สืบค้นเมื่อ 2008-09-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]