นพพร วาทิน
นพพร วาทิน เป็นผู้มีส่วนร่วมและดำรงตำแหน่งด้านต่างๆในวงการบันเทิงของไทยมากมายเช่น ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท มหากาพย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิต และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทย เช่น “ซามูไร อโยธยา” นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท สปอร์ต อาร์ต จำกัด (Sport Art Co., Ltd.) ที่ทำหน้าที่ผลิตสื่อบันเทิงในรูปแบบของกีฬา โดยผลงานที่โดดเด่นคือ “Thai fight”
ประวัติ
[แก้]นพพร วาทิน ชื่อเล่น “มด” เกิดวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ในครอบครัวชาวไทยจบการศึกษาชั้นประถมศึกษา และเข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ โรงเรียนปทุมคงคา ได้รับพระราชทานปริญญาตรีที่ ”มหาวิทยาลัยรามคำแหง”
ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
[แก้]เข้าสู่วงการบันเทิงเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยเป็นผู้ช่วยผู้กำกับละครเวทีเรื่อง “พันท้ายนรสิงห์” ที่ศาลาเฉลิมไทย และได้เริ่มเข้าสู่วงการผลิตละครของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้กำกับการแสดงและตำแหน่งผู้จัดการกองถ่าย
พ.ศ. 2535 เจริญ เอี่ยมพึ่งพร กรรมการผู้จัดการ “บริษัท ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น จำกัด” (อังกฤษ: Fivestar Production Co., Ltd.) ได้เริ่มผลิตละครให้กับสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยได้มอบหมายให้ นพพรควบคุมการผลิตละคร และรายการโทรทัศน์ทั้งหมดของบริษัทไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
พ.ศ. 2537 นพพร ได้เป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องแรกเรื่อง “ตุ๊ ต๊ะ ต๋อม แต๋ม สุภาพบุรุษตัว ต.” เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมากในขณะนั้น
พ.ศ. 2539 นพพร ได้เป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องที่สองเรื่อง เด็กเสเพล ซึ่งนอกจากจะประสบความสำเร็จด้านรายได้แล้วยังได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลด้านดารานำฝ่ายชาย รางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม รางวัลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (ประกอบด้วย รางวัลด้านดารานำฝ่ายชาย, ด้านดารานำฝ่ายหญิง, โล่ห์รางวัลแซดโหวต ,โล่ห์รางวัลเรดิโอโหวต และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม) นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลจาก พณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นรางวัลที่ได้รับมาจากภาพยนตร์เรื่อง “เด็กเสเพล” ซึ่งเป็นภาพยนตร์วัยรุ่น สะท้อนสังคมและเป็นอุทธาหรณ์ที่ดีสำหรับเยาวชน และได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2541 นพพร ได้เป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องที่สามเรื่อง “วัยระเริง” และได้ร่วมกับหน่วยงาน “สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด” และ”หน่วยงาน”สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ” เพื่อจัดกิจกรรมตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และต่อต้านยาเสพติด
พ.ศ. 2542 นพพร ได้ดำรง ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท พารากอน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (อังกฤษ: Paragon Entertainment Co., Ltd.) เป็นผู้ผลิตละครเรื่อง “มือปืน” ซึ่งได้รับรางวัลยอดเยี่ยมถึง 8 รางวัล นอกจากนั้นยังได้ร่วมกับอาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด (อังกฤษ: RS Promotion Co., Ltd.) ก่อตั้งบริษัท ชาโดว์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (อังกฤษ: Shadow Entertainment Co., Ltd.) ผลิตรายการ และละครทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
พ.ศ. 2543 นพพร ได้เป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องที่สี่เรื่อง “อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร” เป็นการร่วมทุนสร้างระหว่างไทย และไต้หวัน ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ ของการผลิตภาพยนตร์ออกสู่ต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2548 นพพรได้ก่อตั้งบริษัทฟิล์มเอเชีย จำกัด (อังกฤษ: Film Asia Co., Ltd.) ซึ่งผลิตภาพยนตร์ ม.๘, คู่แรด, ฮะเก๋า ตามลำดับ
พ.ศ. 2553 นพพร ได้เป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง “ซามูไร อโยธยา” ซึ่งได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ สาขารางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (Best Original Score)
พ.ศ. 2553 นพพรดำรงตำแหน่งประธานจัดการแข่งขัน THAI FIGHT และ THAI FIGHT EXTREME 2011 ในปี 2554
ผลงาน
[แก้]ละครเวที
[แก้]ละครโทรทัศน์
[แก้]ภาพยนตร์ไทย
[แก้]- ตุ๊ ต๊ะ ต๋อม แต๋ม สุภาพบุรุษตัว ต. (15 ตุลาคม พ.ศ. 2537)
- เด็กเสเพล (พ.ศ. 2539)
- วัยระเริง (พ.ศ. 2541)
- อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร (พ.ศ. 2543)
- ซามูไร อโยธยา (พ.ศ. 2553)