ข้ามไปเนื้อหา

โน้ต เชิญยิ้ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บำเรอ ผ่องอินทรกุล)
โน้ต เชิญยิ้ม
ชื่อเกิดบำเรอ ผ่องอินทรีย์
ชื่ออื่นบำเรอ ผ่องอินทรกุล, โน้ต เชิญยิ้ม
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (70 ปี)
อำเภอไชโย
จังหวัดอ่างทอง
ประเทศไทย
คู่สมรสวีริสา ผ่องอินทรกุล
บุตร3 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นักแสดงตลก
  • พิธีกร
  • ผู้กำกับภาพยนตร์
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2523–ปัจจุบัน
โทรทัศน์ทองคำดาราสนับสนุนชายดีเด่น
พ.ศ. 2535 - เมืองโพล้เพล้

บำเรอ ผ่องอินทรกุล สกุลเดิมคือ ผ่องอินทรีย์[1] (เกิด 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ที่ตำบลชะไว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง) หรือที่รู้จักในชื่อ โน้ต เชิญยิ้ม เป็นนักแสดงตลก นักแสดง พิธีกร นักร้อง และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ผู้ก่อตั้งคณะเชิญยิ้ม ร่วมกับเป็ด เชิญยิ้ม (ดร.ธัญญา โพธิ์วิจิตร) สรายุทธ สาวยิ้ม สีหนุ่ม เชิญยิ้ม (บุญธรรม ฮวดกระโทก) เมื่อปี พ.ศ. 2523 จบการศึกษา โรงเรียนกฎหมายและการเมือง หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (รศ.บ.) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ประวัติ

[แก้]

โน้ต เชิญยิ้ม เคยเป็นนักแสดงลิเก เหมือนบิดา (บำรุง ผ่องอินทรีย์) ที่เป็นตัวตลกคณะลิเก และมารดา (สุรินทร์ นาคศิริ) ที่เป็นนางเอกคณะลิเก ต้องออกจากโรงเรียนมาแสดงลิเกตั้งแต่เด็ก และจบการศึกษาเพียงชั้น ป.3

ประมาณปี 2522 มาเจอดอน จมูกบาน ตอนนั้นโน้ตกำลังเล่นลิเกของบรรหาร ศิษย์หอมหวล ที่ตลาดพลู ดอน จมูกบานก็ชวนว่าไปเล่นตลกกัน โน้ต บอกว่า "พี่ผมเล่นด้วย" สมัยก่อนดอน จมูกบานจะนั่งเป็นลิเกแล้วโน้ตจะนั่งไขว่ห้าง ใส่ถุงเท้าคาร์สัน จึงเล่นกับคณะ 4 สลึง ทำท่าจะดี เพชร โพธิ์ทอง ก็ชวนโน้ตไปอยู่ วงดนตรี สายัณห์ ครรชิต ซึ่งเป็นวงดนตรีดาราของ สายัณห์ จันทรวิบูลย์ และ ครรชิต ขวัญประชา ต่อมาโน้ต , สรายุทธ , เพชร และ สีหนุ่ม ตั้งตลกชื่อว่า "คณะแกงปลาไหล" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะเชิญยิ้ม" และประมาณปี 2523 ในสมาชิกคณะเชิญยิ้มประกอบด้วย สรายุทธ , โน้ต , เป็ด และ สีหนุ่ม ต่อมาสรายุทธโดนยิง ได้อ้วน เชิญยิ้มเข้ามา จนกลายเป็นเชิญยิ้มยุคอวกาศ ประกอบด้วย โน้ต เชิญยิ้ม เป็ด เชิญยิ้ม สีหนุ่ม เชิญยิ้ม อ้วน เชิญยิ้ม ภายหลังมี จเร ชูษี เชิญยิ้ม จนแยกย้ายกันปี 2533

โน้ต ตั้งตลกคณะ โน้ต เชิญยิ้ม ประกอบด้วยสมาชิก คือ จเร (น้องชายคนกลาง) , จ๊อด (น้องชายคนเล็ก) , เต๋อ , กล้วย และเต่า ต่อมา กล้วยออก จึงได้ถั่วแระ เชิญยิ้ม เข้ามา พอเต่า เชิญยิ้มออกไป จึงนำปลาคราฟและกระรอก เชิญยิ้ม ซึ่งเป็นนักดนตรีมาเล่น จนชูษี เชิญยิ้ม เข้ามาอยู่ด้วย จนในที่สุด ถั่วแระ ชูษี ขอลาไปตั้งคณะ

และช่วงหนึ่งโน้ตหันไปตั้งคณะดนตรีลูกทุ่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จถึงกับหมดเนื้อหมดตัว ก่อนจะได้กลับมารับบทพระเอกละคร อาจารย์โกย[2] ละครสร้างใหม่ฉบับปี 2544 จากละครที่ล้อต๊อกเคยแสดงมาก่อน ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ด้วยความช่วยเหลือของนพพร วาทิน และเป็ด เชิญยิ้ม

โน้ต มีน้องชายที่ร่วมแสดงคณะเชิญยิ้ม คือ จเร เชิญยิ้ม (จเร ผ่องอินทรกุล) และ จ๊อด เชิญยิ้ม

คณะโน้ต เชิญยิ้ม

[แก้]

คณะโน้ต เชิญยิ้ม เป็นคณะตลกกลุ่มหนึ่งของไทย ก่อตั้งโดยโน้ต เชิญยิ้ม เมื่อราวประมาณปี 2533 ภายหลังจากการประกาศยุบคณะเชิญยิ้ม โดยสมาชิกยุคแรกของคณะประกอบไปด้วย จเร เชิญยิ้ม น้องชายคนรอง ซึ่งโน้ตได้ดึงเข้ามาร่วมคณะเชิญยิ้มในช่วงยุคท้าย ๆ ก่อนยุบคณะ , จ๊อด เชิญยิ้ม น้องชายคนเล็กของโน้ต และ เต๋อ เชิญยิ้ม จากคณะเฮฟวี่สี่เกลอ , กล้วย เชิญยิ้ม และ เต่า เชิญยิ้ม จากคณะสะเด็ดยาด ต่อมาเมื่อกล้วยได้ขอลาออกจากคณะเพื่อไปก่อตั้งคณะของตัวเองโน้ตจึงได้ดึง ปาน บิ๊กโจ๊ก ตลกผู้มีความสามารถทางด้านมายากลจาก คณะบิ๊กโจ๊ก ของ เด่น ดอกประดู่ เข้ามาร่วมคณะพร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น ถั่วแระ เชิญยิ้ม เนื่องจากเคราของปานมีลักษณะคล้ายกับฝักของถั่วแระ

หลังจากนั้นเมื่อเต๋อและเต่าได้ขอลาออกไปเพื่อก่อตั้งคณะของตัวเอง ทำให้โน้ตต้องดึง ปลาคาร์ฟ เชิญยิ้ม มือกลองหน้านิ่งและ กระรอก เชิญยิ้ม มือคีย์บอร์ดผมยาวขึ้นมาเล่นแทน ต่อมาโน้ตได้ดึง ชูศรี เชิญยิ้ม อีกหนึ่งสมาชิกของคณะเชิญยิ้มในยุคท้าย ๆ ที่เพิ่งจะยุบคณะของตัวเองไปเข้ามาร่วมคณะทำให้สมาชิกในยุคที่ 4 เพิ่มขึ้นมาเป็น 7 คน หลังจากนั้นโน้ตได้ดึงตลกอีก 2 คนเข้ามาร่วมคณะคือ ศรเพชร เชิญยิ้ม จากคณะดี๋ ดอกมะดัน และ บุญไหล เชิญยิ้ม จากคณะแฉ่ง ช่อมะดัน ทำให้สมาชิกในยุคที่ 5 ของคณะมีทั้งสิ้น 9 คน

ในช่วงปี พ.ศ. 2540 โน้ตได้จับมือร่วมกับ เบียร์สิงห์ ก่อตั้งวงดนตรีลูกทุ่งในนาม "ลูกทุ่งไทยหัวใจสิงห์" แต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงต้องยุบวงไปและกลับมาเล่นตลกดังเดิม ต่อมาถั่วแระและชูศรีได้ขอลาออกไปเพื่อตั้งคณะตลกของตัวเอง หลังจากนั้นไม่นานศรเพชรและบุญไหลได้ขอลาออกจากคณะไปอีกทำให้สมาชิกในยุคที่ 6 เหลือ 5 คน จากนั้นเต่าและเต๋อได้กลับเข้ามาร่วมคณะอีกครั้ง แต่หลังจากนั้นเต่าได้ขอลาออกไปเพื่อก่อตั้งคณะตลกของตัวเองอีกครั้งทำให้ในช่วงนั้นมักจะมีตลกรับเชิญเข้ามาร่วมสร้างสีสันอยู่เสมอ ต่อมาด้วยโน้ตได้ผันตัวไปเป็น ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักแสดงทำให้ไม่มีเวลามาร่วมแสดงและในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงยุคเสื่อมของคาเฟ่ในเมืองไทยอันเป็นผลมาจากการจัดระเบียบสังคม ทำให้โน้ตได้ตัดสินใจยุบคณะเมื่อราวปี 2549 - 2550

ชีวิตส่วนตัว แต่งงานกับคุณต้อย วีริสา ผ่องอินทรกุล มีลูกด้วยกันทั้งหมด 3 คน คือ วรวิทย์ ผ่องอินทรีย์ (โน้ต จูเนียร์) , สุจรรย์จิรา ผ่องอินทรกุล (แตงกวา) , วีรวุฒิ ผ่องอินทรกุล (แบงค์) โดยปัจจุบันโน๊ตพักอาศัยอยู่แถวปากเกร็ดบนพื้นที่ 150 ตารางวา[3][4]

สมาชิกในคณะ โน้ต เชิญยิ้ม

[แก้]

ยุคที่ 1

[แก้]

ในช่วงแรกสมาชิกของคณะมีทั้งหมด 6 คนคือ โน้ต, จเร, จ๊อด, กล้วย, เต๋อ และเต่า โดยมี เพชร โพธิ์ทอง สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งคณะเชิญยิ้ม เข้ามาแจมสร้างสีสัน ต่อมาในราวปี 2535 กล้วย เชิญยิ้ม ได้ตัดสินใจลาออกจากคณะไปตั้งคณะตลกของตัวเองชื่อ กล้วยน้ำว้า ก่อนเปลี่ยนเป็น กล้วย เชิญยิ้ม ทำให้ต้องดึง ปาน บิ๊กโจ๊ก จากคณะ บิ๊กโจ๊ก เข้ามาเสริมทัพพร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ถั่วแระ เชิญยิ้ม จากนั้น เต๋อ และ เต่า ได้ลาออกไปตั้งคณะของตัวเองทำให้เหลือสมาชิกทั้ง 4 คนคือ โน้ต, จเร, จ๊อด และถั่วแระ เป็นอันจบยุคที่ 1

ยุคที่ 2

[แก้]

หลังจากที่ เต่า และ เต๋อ ลาออกไป โน้ต ได้ดัน ปลาคาร์ฟ เชิญยิ้ม มือกลองของคณะซึ่งเป็นน้องชายแท้ ๆ ของบรรหาร ศิษย์หอมหวล พระเอกลิเกชื่อดัง และ กระรอก เชิญยิ้ม มือคีย์บอร์ดของคณะซึ่งเป็นหลานลุงของครูลพ บุรีรัตน์ ครูเพลงชื่อดังและศิลปินแห่งชาติ ขึ้นมาเล่น ต่อมาได้รับ ชูศรี เชิญยิ้ม หนึ่งในสมาชิกคณะเชิญยิ้มยุคอวกาศที่ยุบคณะตัวเองไปเข้ามาเสริมทำให้ไลน์อัพในยุคคลาสสิกมีทั้งหมด 7 คนคือ โน้ต, จเร, จ๊อด, ถั่วแระ, ปลาคาร์ฟ, กระรอก และชูษี

ต่อมาในราวปี 2541 ถั่วแระและชูษี เชิญยิ้ม ตัดสินใจลาออกจากคณะไปก่อตั้งคณะตลกของตัวเองโดยไปเทคโอเวอร์คณะเป็ด เชิญยิ้มมาทำต่อพร้อมกับเปลี่ยนชื่อคณะเป็น ถั่วแระ-ชูษี เชิญยิ้ม ทำให้สมาชิกในยุคที่ 2 เหลือ 5 คนคือ โน้ต, จเร, จ๊อด, ปลาคาร์ฟ และกระรอก เป็นอันจบยุคที่ 2

ผลงาน

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]
  • 2521 วิญญาณรักแม่นาคพระโขนง รับบท โน๊ต
  • 2524 ไอ๊หยาอาตือ รับบท ผู้โดยสารบนรถที่คุยกับชาลินีนางเอกของเรื่องในช่วงท้ายเรื่อง
  • 2526 ไอ้ ป.4 (ไม่มีเส้น) รับบท เพื่อนของเขา
  • 2526 พยัคฆ์ยี่เก รับบท ไข่
  • 2527 หอสาว รับบท สิงห์
  • 2527 ลูกหนี้ทีเด็ด รับบท ฉลาด ปัญญาดี
  • 2527 กองพันทหารเกณฑ์ รับบท ระหงษ์
  • 2527 เฮฮาเมียนาวี รับบท ร.อ. รอดเชื้อ
  • 2527 เสน่ห์นางพราย รับบท อิทธิ
  • 2527 สาวดินระเบิด
  • 2527 ผีเอ๊าะ เอ๊าะ รับบท ใบ้
  • 2527 เสือกัดสิงห์ รับบท สิงห์
  • 2527 ข้ามากับพระ รับบท ชายสามคนไล่ล่า
  • 2527 นางพรายคะนองรัก รับบท ขบวน
  • 2527 ดอกรักบานหลังฝน รับบท ป๊ะศิราราฮิ
  • 2527 ทหารเกณฑ์เจอผี รับบท ทหาร
  • 2527 อภินิหารน้ำมันพราย
  • 2527 นักสู้หน้าเซ่อ
  • 2527 หนุ่มใกล้หอ รับบท โน๊ต
  • 2527 ป่าเดือด
  • 2527 แม่สาวสุพรรณ รับบท ฤทธิ์
  • 2528 กองพันทหารหญิง รับบท จ่าสิบเอกหิน
  • 2528 จอมเมฆินทร์ รับบท แดร็กคูล่า
  • 2528 เสาเอก
  • 2528 รักตะลุมบอน รับบท ไอ้ดำ
  • 2528 กองพันทหารใหม่ รับบท พล พเยาว์ เคร่งธรรม
  • 2528 นางนาค ภาคพิสดาร
  • 2528 เจ้าแม่ตะเคียนทอง
  • 2528 นักรบ 3 สลึง รับบท นักรบ
  • 2528 หยุดโลกเพื่อเธอ รับบท ทองแดง
  • 2528 ลูกสาวป้าแช่ม รับบท ไอ้หวัง
  • 2528 หอใหม่ รับบท บูรพา
  • 2528 ข้ามากับดวง รับบท แว่น
  • 2529 นายร้อยสอยดาว รับบท นายร้อย
  • 2529 หักเหลี่ยมแดร็กคูล่า รับบท ทีมของแดร๊กคูล่า
  • 2529 อุ้งมือมาร (รับเชิญ)
  • 2529 รักพลิกล็อก รับบท โน๊ต
  • 2529 ไอ้งอดยอดทหาร รับบท ทหาร
  • 2530 แม่นาค 30
  • 2530 สาว X รอรัก
  • 2530 โลงแตก
  • 2530 เดชอีลำยอง
  • 2531 นางกลางไฟ รับบท โน๊ต (รับเชิญ)
  • 2531 เศรษฐีเงินผ่อน รับบท หัวหน้าเจ้านาย
  • 2531 หน่วยล่าสังหาร รับบท ผู้กอง
  • 2531 พ่อมหาจำเริญ
  • 2531 วัยหวาน.. วัยคะนอง
  • 2532 นางฟ้าตกสวรรค์
  • 2532 วัยเอ๊าะเอ๊าะ
  • 2532 กองร้อย..สบายสบาย รับบท กองร้อยทหาร
  • 2533 คนละวัยอลวน
  • 2533 หนุก รับบท เมา
  • 2533 พรายคะนอง
  • 2533 สงครามเพลงแผน 2 รับบท โน๊ต (รับเชิญ)
  • 2533 กระสือกัดปอบ รับบท ทองดำ
  • 2534 คุณมืดกับคุณระมัด
  • 2537 อาจารย์เฮง รับบท หาญ
  • 2539 กองพันทหารเกณฑ์ 12 ตอน แนวรักริมฟุตบาท รับบท ระหงษ์
  • 2545 ผีหัวขาด รับบท กำนันเข้ม
  • 2546 หลบผี ผีไม่หลบ รับบท ผู้ใหญ่มา
  • 2546 คนปีมะ รับบท โน๊ต (รับเชิญ)
  • 2548 หลวงพี่เท่ง รับบท มัคทายกส่ง
  • 2548 เสือภูเขา รับบท นายหัวจเย
  • 2549 โกยเถอะโยม รับบท ลุงเต่ง (รับเชิญ)
  • 2549 พระ เสือ เด็ก ไก่ วอก รับบท พระทองสุก
  • 2549 ลูกตลกตกไม่ไกลต้น รับบท แป๋ง
  • 2550 อีส้ม สมหวัง รับบท คุณบำเรอ
  • 2550 คู่แรด รับบท พ่อของลิลลี่ (รับเชิญ)
  • 2550 ก่อนบ่ายเดอะมูฟวี ตอนรักนะ...พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง รับบท เจ้าของร้านดอกไม้ (รับเชิญ)
  • 2550 ครอบครัวตัวดำ รับบท แฉล้ม
  • 2551 หลวงพี่เท่ง 2 รับบท มัคทายกส่ง
  • 2553 อีส้มสมหวัง ชะชะช่า รับบท คุณบำเรอ
  • 2553 My Valentine แล้วรัก...ก็หมุนรอบตัวเรา รับบท ไมค์
  • 2553 กองพันครึกครื้น ท.ทหารคึกคัก รับบท จ่าขม ลมโชย
  • 2553 8e88 แฟนลั้ลลา รับบท จ่าโน้ต
  • 2553 ผู้ชายลัลล้า รับบท เจ้าของร้าน IN LOVE (รับเชิญ)
  • 2553 โป๊ะแตก รับบท โน้ต เชิญยิ้ม
  • 2553 หลวงพี่เท่ง 3 รับบท มัคทายกส่ง
  • 2554 เหลือแหล่ รับบท ครูดำเกิง
  • 2556 สารวัตรหมาบ้า รับบท จ่าทอง
  • 2562 ออนซอนเด รับบท ประทีบ (รับเชิญ)
  • 2566 ผีฮาคนเฮ รับบท กํานันหมู
  • 2567 หลวงพี่เท่ง Comeback รับบท มัคทายกส่ง

ผลงานละครโทรทัศน์

[แก้]

ละครซิตคอม

[แก้]

ละครเวที

[แก้]

คอนเสิร์ต

[แก้]
  • คอนเสิร์ต ร่วมน้ำใจอาลัยจุ๋มจิ๋ม (30 ตุลาคม 2536)
  • คอนเสิร์ต 30 ปี สุรพล สมบัติเจริญ (รับเชิญ) (21 สิงหาคม 2541)
  • คอนเสิร์ต Film ยากูซ่า...ท้าดวล (รับเชิญ) (21 สิงหาคม 2549)
  • คอนเสิร์ต ป้า คนดนตรี คืนชีวิตสู่ธรรมชาติ (13-14 กันยายน 2550)
  • คอนเสิร์ต ดวงจันทร์...กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ (รับเชิญ) (7 มิถุนายน 2552)
  • คอนเสิร์ต คิดถึงยอดรัก 34 ยังแจ๋ว (1 สิงหาคม 2552)
  • คอนเสิร์ต โชว์ป๋า พูดจา ภาษาเทพ (รับเชิญ) (18 ตุลาคม 2552)
  • คอนเสิร์ต GOT SHOW ตอน คนสำคัญกับวันพิเศษ (รับเชิญ) (24 - 25 ตุลาคม 2552)
  • คอนเสิร์ต โก๊ะตี๋ คาเฟ่ออนเตจ ตอน 6 แพร่ง (รับเชิญ) (17-18 กรกฎาคม 2553)
  • คอนเสิร์ต เอกชัย ท้ากัด (รับเชิญ) (18 กันยายน 2553)
  • คอนเสิร์ต โย่ง ทอล์คโชว์ 7 (รับเชิญ) (30 กันยายน - 2 ตุลาคม 2554)
  • คอนเสิร์ต ไฮลักช์ วีโก้ แชมป์ เชิญยิ้ม สัญจร (3 มีนาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต GOT SHOW ตอน เพชรตัดเพชร (รับเชิญ) (10 - 11 มีนาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต Shane Comeback A Talk 10 (15 - 16 กันยายน 2555)
  • คอนเสิร์ต รำลึก 30 ปี ล้อต๊อก ตลก 4 แผ่นดิน (30 กันยายน 2555)
  • คอนเสิร์ต GOT SHOW 20ปี หัวแก้วหัวแหวน (รับเชิญ) (2 - 3 สิงหาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต สลา คุณวุฒิ คนสร้างเพลง เพลงสร้างคน (27 สิงหาคม 2559)
  • ชรินทร์ อิน คอนเสิร์ต หมายเลข 17 รักนั้นคือฉันใด (รับเชิญ) (30 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (25 ธันวาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต 39 ปี เชิญยิ้ม (1 - 3 มีนาคม 2562)
  • คอนเสิร์ต อาลัยพ่อเพลงแห่งแผ่นดิน พ่อไวพจน์ เพชรสุพรรณ (5-7 พฤษภาคม 2565)
  • คอนเสิร์ต ครบรอบ 1 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (12 มกราคม 2566)

ผลงานสร้างและกำกับภาพยนตร์

[แก้]

กำกับภาพยนตร์

โปรดิวเซอร์

พิธีกรโทรทัศน์

[แก้]

กรรมการตัดสิน

[แก้]

ทางช่อง เวิร์คพอยท์

แต่งเพลง

[แก้]
พ.ศ. เพลง ศิลปิน สังกัด หมายเหตุ
2538 พิการรัก สามโทน ประพันธ์คำร้องและทำนอง
2540 บัณฑิตลอยแพ คาราบาว กระบือแอนด์โค ประพันธ์คำร้อง
2554 เคียวเกี่ยวใจ (เพลงประกอบภาพยนตร์ เหลือแหล่) สุรัตน์ติกานต์ พรรคเจริญ

(เอิร์น เดอะสตาร์ 2)

แกรมมี่ โกลด์ ประพันธ์คำร้องและทำนอง
2557 ทวงรักฝากลม ใบเฟิร์น สุทธิยา ยุ้งข้าว เรคคอร์ด
2558 นางฟ้าตาน้ำผึ้ง นัท มาลิสา
ยอมตายเพราะน้ำตาล พงศ์ จักรพงศ์
2559 แค่บอกลาน้ำตาก็ไหล ใบเฟิร์น สุทธิยา
ฝันว่ามีแฟน นัท มาลิสา
เพ้อ น้ำ กนกวรรณ ประพันธ์คำร้อง
ทุ่งเหงา พงศ์ จักรพงศ์ ประพันธ์คำร้องและทำนอง
เทวดากลับฟ้า โน้ต เชิญยิ้ม (ขับร้องเอง) ประพันธ์คำร้องและทำนอง, บทเพลงถวายความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ใบเฟิร์น สุทธิยา, นัท มาลิสา, พงศ์ จักรพงศ์, พันธ์ จักรพันธ์, น้ำ กนกวรรณ
2560 ใจดื้อ นัท มาลิสา ประพันธ์คำร้องและทำนอง
เลิกรักไม่เลิกลืม ออย สุนิดา
หนาวเพราะโสด ใบเฟิร์น สุทธิยา
2561 ทองดำ ปะแป้ง พลอยชมพู
2564 โธ่ น้องกลอย แจ๊ค ธนพล

เพลง

[แก้]
พ.ศ เพลง คำร้อง ทำนอง เรียบเรียงเสียงประสาน หมายเหตุ
2559 หนุ่ม ต.จ.ว สถาพร แก้วสุโพธิ์ สถาพร แก้วสุโพธิ์ จิระวัฒน์ ปานพุ่ม

เดิมทีเพลงนี้อยู่ในอัลบั้ม บำเรอ ลาติน ของโน้ต เชิญยิ้ม ซึ่งไม่ได้ออกจัดจำหน่าย ต่อมา เอกชัย ศรีวิชัย ได้นำไปขับร้อง หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2559 โน้ต เชิญยิ้ม ได้นำเพลงนี้กลับมาทำใหม่ โดยได้ เจสซี่ เมฆวัฒนา ร่วมเล่นดนตรีประกอบเพลงนี้ด้วย[9]

อยากให้เธอเข้าใจ สลา คุณวุฒิ สลา คุณวุฒิ อยู่ในอัลบั้ม เพลงครูยังอยู่ในใจ ต้นฉบับโดย ไมค์ ภิรมย์พร
เทวดากลับฟ้า โน้ต เชิญยิ้ม โน้ต เชิญยิ้ม เพลงถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ฟ้าร้องไห้ ชลธี ธารทอง ชลธี ธารทอง เพื่อแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

อื่น ๆ

[แก้]
  • เป็นนักแสดงตลกยุคแรก ๆ ของรายการก่อนบ่ายคลายเครียดร่วมกับเต่า เชิญยิ้ม นก วนิดา ฯลฯ
  • เคยออกอัลบั้มเพลง ชุด หาบเร่-แผงลอย ในนาม "Note & Hot to Trot" โดยวงดนตรี Hot to Trot รับหน้าที่ทำดนตรี บรรเลง และดูแลการผลิตทั้งหมด สังกัดห้องอัดเสียงทอง (2530)
  • เคยออกอัลบั้มเพลงชุด กล้วย เชิญยิ้ม,เต่า เชิญยิ้ม "ชุด คู่หู คู่ฮา" สังกัดท็อปไลน์ ไดมอนด์ (2536)
  • เคยออกอัลบั้มเพลงคู่กับ เป็ด เชิญยิ้ม ในชุด "โน้ตกับเป็ด" สังกัดนิธิทัศน์
  • เคยออกอัลบั้มเพลงชุด "โน้ตตัวโด" (2540)
  • เคยออกอัลบั้มรวมเพลงชุด "JIGSAW 2" (เมษายน 2549)
  • เคยออกอัลบั้มรวมเพลงชุด "JIGSAW 3" (เมษายน 2549)
  • เคยออกอัลบั้มเพลงคู่กับ นก วนิดา ในชุด "น.โน้ต น.นก" สังกัดมาสเตอร์เทป
  • เคยออกมิวสิควีดีโอ เพลง มะนาวไม่มีน้ำ สายัณห์ สัญญา,พุ่มพวง ดวงจันทร์ (2534)
  • เคยออกอัลบั้มรวมเพลงชุด "A Feel Good Time ฟังไปยิ้มไป" (ตุลาคม 2556)
  • เคยออกอัลบั้มรวมเพลงชุด "Best of แสนรัก แสนคิดถึง 1" (มิถุนายน 2558)
  • บันทึกการแสดงสดร่วมกับชาวคณะ ในรายการ จี้เส้นคอนเสิร์ต สังกัดเอสทีวิดีโอ โดยใช้ชื่อชุดประจำคณะว่า โครงการฮา

หนังสือ

[แก้]

รางวัล

[แก้]
  • โทรทัศน์ทองคำ พ.ศ. 2535 รางวัลดาราสนับสนุนชายดีเด่น จากเรื่อง เมืองโพล้เพล้
  • รางวัล เทพทอง ครั้งที่ 8 ประจำปี 2549 สาขาผู้แทนองค์กรและบุคคลดีเด่น ด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จากบทบาทการเป็นพิธีกรรายการชิงช้าสวรรค์[10]
  • รางวัล เพชรในเพลง ประจำปี 2558 สาขาการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง จากเพลง ทวงรักฝากลม

อ้างอิง

[แก้]
  1. โน้ต เปลี่ยนนามสกุลมีแต่สิ่งดีเข้ามา
  2. "อาจารย์โกยตัวจริง (โน้ต เชิญยิ้ม)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-03-15.
  3. ""โน้ต เชิญยิ้ม" สุดเซ็ง ฝนตกหนัก หลังคาถล่มทับรถหรู". workpointTODAY.
  4. "ได้เห็นเป็นบุญตา! คฤหาสน์สุดหรูของตลกชื่อดัง โน้ต เชิญยิ้ม". www.thairath.co.th. 2018-11-28.
  5. "เมื่อ "ตลก" กำกับหนัง ใคร "เปรี้ยง" ใคร "แป้ก" ?!?!?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-03-15.
  6. "หลวงพี่เท่ง ภาพยนตร์ 100 ล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2007-03-15.
  7. ภาพยนตร์ ครอบครัวตัวดำ
  8. "เบนซ์" ทำ "โน้ต" น้ำตาตก เหตุถอนตัว "ครอบครัวตัวดำ"
  9. หนุ่ม ต.จ.ว. - โน้ต เชิญยิ้ม
  10. คนดังรับพระราชทานรางวัลเทพทอง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]