ข้ามไปเนื้อหา

ปราสาทตาพรหม

พิกัด: 13°26′06″N 103°53′21″E / 13.43500°N 103.88917°E / 13.43500; 103.88917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราสาทตาพรหม
ប្រាសាទតាព្រហ្ម
รูปด้านบน: ทางเดินหลักเข้าสู่ปราสาทตาพรหมทางฝั่งตะวันออกในปี พ.ศ. 2563
รูปด้านล่าง: ทางเดินหลักเข้าสู่ปราสาทตาพรหมทางฝั่งตะวันตก ในปี พ.ศ. 2563
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทปราสาทหิน ศาสนสถาน
สถาปัตยกรรมเขมรโบราณ
เมืองเมืองพระนครรอบนอก เสียมราฐ
ประเทศกัมพูชา ประเทศกัมพูชา
เริ่มสร้างราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13
ผู้สร้างพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างหินทราย
รากต้นสมพงยักษ์ (Tetrameles) ปกคลุมตัวปราสาท

ปราสาทตาพรหม (เขมร: ប្រាសាទតាព្រហ្ម) เป็นปราสาทหินของจักรวรรดิเขมร ตั้งอยู่ห่างออกจากคูเมืองพระนคร ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7[1]: 125 [2]: 388  เพื่อเป็นสถานศึกษาและศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน

หลังจากจักรวรรดิเขมรได้ล่มสลายลงราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปราสาทตาพรหม ก็ถูกทิ้งร้างและไม่ได้รับการพูดถึงมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ จนกระทั่งในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 จึงได้เริ่มความพยายามในการบูรณะโดยสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ และในปี ค.ศ. 2013 หน่วยงานโบราณคดีอินเดียร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ได้ร่วมกันทำการบูรณะใหญ่กับปราสาท ทั้งการวางทางเดินไม้ เพื่อลดผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินบนพื้นดินตลอดจนทางเดินในพื้นปราสาท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตัวเสถียรภาพปราสาทและรากต้นไม้[3]

ปราสาทหินแห่งนี้มีจุดเด่นที่สำคัญจาก บรรยากาศของสภาพป่าดิบชื้นปิดทึบ ที่ผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของปราสาท จากรากต้นสมพงยักษ์ (ต้นสะปง) และมอส ทำให้เป็นหนึ่งในปราสาทหินที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองพระนคร การดูแลรักษาสภาพปราสาทแห่งนี้ จึงมีแนวคิดเก็บรักษาต้นไม้ใหญ่เดิมไว้ให้มากที่สุดเพื่อรักษาบรรยากาศของสภาพป่าที่กลืนกินปราสาท ปราสาทแห่งนี้ยังมีชื่อเสียงจากภาพยนตร์ เรื่อง ลาร่า ครอฟท์ ทูมเรเดอร์ ในปี ค.ศ. 2001 ที่ใช้เป็นฉากถ่ายทำ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Higham, C., 2001, The Civilization of Angkor, London: Weidenfeld & Nicolson, ISBN 9781842125847
  2. Higham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia, Bangkok: River Books Co., Ltd., ISBN 9786167339443
  3. http://www.thehindu.com/arts/history-and-culture/article3700248.ece

13°26′06″N 103°53′21″E / 13.43500°N 103.88917°E / 13.43500; 103.88917