ข้ามไปเนื้อหา

ปลากะพงแดงป่าชายเลน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากะพงแดงป่าชายเลน
ปลากะพงแดงป่าชายเลนในวัยใหญ่
ภาพวาดปลากะพงแดงป่าชายเลนในวัยใหญ่เทียบกับปลาวัยอ่อน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Lutjanidae
สกุล: Lutjanus
สปีชีส์: L.  argentimaculatus
ชื่อทวินาม
Lutjanus argentimaculatus
(Forsskål, 1775)
ชื่อพ้อง
  • Sciaena argentimaculata Forsskål, 1775
  • Sciaena argentata J. F. Gmelin, 1789
  • Alphestes gembra Bloch & J. G. Schneider, 1801
  • Alphestes sambra Bloch & J. G. Schneider, 1801
  • Perca argentata Bloch & J. G. Schneider, 1801
  • Mesoprion flavipinnis G. Cuvier, 1828
  • Mesoprion olivaceus G. Cuvier, 1828
  • Mesoprion taeniops Valenciennes, 1830
  • Mesoprion griseoides Guichenot, 1863
  • Mesoprion garretti Günther, 1873
  • Lutianus jahngarah F. Day, 1875
  • Diacopus superbus Castelnau, 1878
  • Diacope superba Castelnau, 1878
  • Mesoprion obscurus W. J. Macleay, 1881
  • Mesoprion roseigaster W. J. Macleay, 1881
  • Mesoprion sexfasciatus W. J. Macleay, 1883
  • Lutianus salmonoides Gilchrist & W. W. Thompson, 1908

ปลากะพงแดงป่าชายเลน หรือ ปลากะพงแดงปากแม่น้ำ[1] (อังกฤษ: mangrove jack, mangrove red snapper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lutjanus argentimaculatus) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ อยู่ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) รูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโตแหลมยาว มีส่วนหัวและลำตัวที่ยาวกว่า มีฟันเขี้ยวแหลมคมโง้งเห็นชัดเจน 2 ซี่ในปาก ริมฝีปากหนา คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ เส้นข้างลำตัวติดต่อกันเป็นแถวยาวโค้งอยู่บริเวณค่อนไปทางลำตัวด้านบน ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีแดงหรือแดงสด พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูงในป่าชายเลน, ปากแม่น้ำ หรือบริเวณทะเลชายฝั่ง

ลูกปลาขนาดเล็กจะฟักตัวและเติบโตในบริเวณน้ำกร่อยแถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ ลำตัวจะเป็นสีขาวสลับลายพาดสีดำคล้ายปลานิล อาหารได้แก่ สัตว์น้ำจำพวก ปลา, กุ้ง ที่มีขนาดเล็กกว่า[1]

เป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว เป็นปลาที่มีรสชาติดี นิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ และนิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย สามารถปรับตัวได้ดีในน้ำจืดสนิท แต่สีสันความสวยงามและขนาดของปลาจะไม่โตและสวยเท่ากับปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลธรรมชาติ มีพฤติกรรมที่ดุร้าย ตะกละตะกลาม และมักทำร้ายปลาอื่นร่วมสถานที่เลี้ยงเดียวกันที่มีขนาดเล็กกว่าเสมอ[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ชวลิต วิทยานนท์. คู่มือปลาทะเล. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2551. 192 หน้า. หน้า 124. ISBN 978-974-484-261-9
  2. หน้า 120, Amphidromous Story, "Wild Ambhition" โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ. นิตยสาร Aqurium Biz ฉบับที่ 35 ปีที่ 3: พฤษภาคม 2013

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lutjanus argentimaculatus ที่วิกิสปีชีส์