ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ | |
---|---|
ปิยะสวัสดิ์ ในปั พ.ศ. 2553 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (1 ปี 120 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | วิเศษ จูภิบาล |
ถัดไป | พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | อานิก อัมระนันทน์ |
ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ (เกิด 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2496) ประธานกรรมการมูลนิธิพลังงานและสิ่งแวดล้อม[1]ประธานกรรมการผู้บริหารแผนฯ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ และประธานกรรมการอิสระ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ ธนาคารกสิกรไทย เป็นนักวิชาการด้านพลังงาน เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองเกี่ยวกับพลังงานมามากมาย ทั้งยังได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์[2]
ประวัติ
[แก้]ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ชื่อเล่น ป๊อก[3] เป็นบุตรชายคนโตของปรก อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูตฯ กับหม่อมราชวงศ์ปิ่มสาย อัมระนันทน์ (สกุลเดิม: สวัสดิวัตน์)[4] เป็นหลานตาของ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์
ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ สมรสกับอานิก อัมระนันทน์ (สกุลเดิม: วิเชียรเจริญ เป็นบุตรสาวของ ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ และ แม่ชีคุณหญิงกนิษฐา วิเชียรเจริญ)[4] อดีตผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการเงิน บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย ทั้งคู่มีบุตร 2 คนคือ ปีย์ อัมระนันทน์ และอนุตร์ อัมระนันทน์
การศึกษา
[แก้]ปิยสวัสดิ์ สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นก็ไปศึกษาระดับไฮสกูลที่ Bryanston Public School ประเทศอังกฤษ โดยเรียน 4 ปี ได้ระดับเกรด A ในปี พ.ศ. 2515 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) Brasenose College มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน (LSE) ประเทศอังกฤษ และระดับปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน (LSE) ประเทศอังกฤษ (ได้รับทุนรัฐบาลอังกฤษ)[5]
การทำงาน
[แก้]ปิยสวัสดิ์ เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2523 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 4 กองวางแผนเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จนได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิเคราะห์และประมาณการเศรษฐกิจ เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และได้โอนมารับตำแหน่งเป็น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในปีเดียวกัน นายปิยสวัสดิ์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2537 และอยู่ในตำแหน่งรวม 6 ปี ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 และตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543[6]
ดร.ปิยสวัสดิ์ มีแนวคิดเห็นด้วยกับการเปิดเสรีด้านพลังงาน และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ[ต้องการอ้างอิง] ด้วยความขัดแย้งกับนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีกำกับดูแลด้านพลังงานในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เรื่องโครงสร้างค่าไฟฟ้า และนโยบายการแปรรูปปตท. และกฟผ. จึงลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2545 เพื่อไปดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย
งานการเมือง
[แก้]ปิยสวัสดิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ในการปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีครั้งนั้น ดร.ปิยสวัสดิ์ ได้ยกเลิกแผนการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า[7]
หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน [8]ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ผู้บริหารการบินไทย
[แก้]พ.ศ. 2552 ปิยสวัสดิ์ ได้ลาออกจากบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย เพื่อสมัครคัดเลือกเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552 นับเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทยคนที่ 15 [9]ของการบินไทย ซึ่งช่วงเวลาที่เขาเข้ามาบริหารการบินไทยนั้น เป็นช่วงเวลาที่การบินไทยกำลังเผชิญกับภาวะขาดทุนสะสม และมีสถานะทางการเงินที่ลำบาก ดร.ปิยสวัสดิ์ จึงได้ดำเนินนโยบายลดค่าใช้จ่าย ปรับลดเงินเดือนพนักงาน ปลดพนักงาน ตัดงบประมาณส่วนที่ไม่จำเป็นของบริษัทออกอย่างมหาศาล และปรับปรุงภาพลักษณ์ของบริษัทให้ดีขึ้น จนทำให้ในปี พ.ศ. 2552 การบินไทยสามารถทำกำไรได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี และทำกำไรเพิ่มขึ้นในปีต่อมา จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2554 การบินไทยได้รับการจัดอันดับจากสกายแทรกซ์ ให้เป็นสายการบินอันดับ 5 ของโลก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่การบินไทยติด 1 ใน 5 สายการบินที่ดีที่สุด แม้ว่าจะช่วยทำให้สถานะของการบินไทยดีขึ้น แต่นโยบายของเขาก็สร้างความไม่พอใจให้กับพนักงานการบินไทยจำนวนมาก
พ.ศ. 2555 วันที่ 21 พฤษภาคม คณะกรรมการบริหารบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการฯ ได้มีมติเลิกจ้างดร. ปิยสวัสดิ์ จากการเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย โดยอ้างเหตุผลว่า ดร. ปิยสวัสดิ์มีปัญหาเรื่องการสื่อสารและกับคณะกรรมการบริษัทฯ จากเหตุการณ์นี้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาในทันทีจากวงสังคม ถึงเหตุผลในการปลด ดร. ปิยสวัสดิ์ เพราะเหตุผลของคณะกรรมการบริษัทนั้นไม่มีความชัดเจนพอ และมีการตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะมีเรื่องของผลประโยชน์และการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามจากการเลิกจ้างครั้งนี้ การบินไทยต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับ ดร. ปิยสวัสดิ์ เป็นจำนวนเงินกว่า 5.4 ล้านบาท ต่อมาวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ดร. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่การบินไทย[10]
พ.ศ. 2563 วันที่ 25 พฤษภาคม คณะกรรมการบริษัทการบินไทยฯ ได้มีการประชุมครั้งพิเศษ 10-1/2563 ซึ่งในการประชุมดังกล่าว คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติแต่งตั้งให้นายปิยสวัสดิ์ กลับมาดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ อีกครั้ง[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประธานกรรมการมูลนิธิพลังงานและสิ่งแวดล้อม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ บ้านนี้สีฟ้า (รีรัน), รายการทางบลูสกายแชนแนล: อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556
- ↑ 4.0 4.1 "ตามไปดู "บ้านอัมระนันทน์" ณ วังเทวะเวสม์ ตระกูลนี้ศักดิ์ศรีซื้อไม่ได้ 6 ล้านแค่เศษเงิน !!!" (Press release). มติชนออนไลน์. 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ การศึกษาของ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
- ↑ Asia Times, Unplugging Thailand, Myanmar energy deals เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน
- ↑ "ปิยสวัสดิ์ ได้ลาออกจากบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย เพื่อสมัครคัดเลือกเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-30. สืบค้นเมื่อ 2012-06-14.
- ↑ ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่การบินไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ การบินไทยตั้งบอร์ดใหม่ 4 คน มีผล 25 พฤษภาคม 2563 จาก ไทยพีบีเอส
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
ก่อนหน้า | ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นายวิเศษ จูภิบาล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ครม.56) (8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) |
พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สกุลอัมระนันทน์
- อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- ราชสกุลสวัสดิวัตน์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- กปปส.
- สกุลสิงหเสนี
- ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน