ข้ามไปเนื้อหา

ปูจักจั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปูจักจั่น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
วงศ์: Raninidae
สกุล: Ranina
Lamarck, 1801
สปีชีส์: R.  vanima
ชื่อทวินาม
Ranina vanima
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง

ปูจักจั่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ranina vanima) เป็นปูในวงศ์ Raninidae ถิ่นที่อยู่ตั้งแต่ฮาวาย ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ไทย จนไปถึงหมู่เกาะอินโดนีเซีย และแอฟริกาตะวันออก จัดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ranina[1]

ลักษณะทั่วไป

[แก้]

มีกระดองทรงรีรูปไข่กว้างทางด้านข้างขอบกระดอง ด้านหน้ามีหนามแหลม เป็นกลุ่มจำนวน 7 กลุ่ม กลุ่มละ 3 อัน ด้าน บนมีหนามแหลมแข็งขนาดเล็ก ปลายหนามชี้ไปทางส่วนหัว ปกคลุมทั่วไป มีก้านตายาว และตั้งขึ้นสามารถพับเก็บลงในร่องทางด้านหน้าไต้กระดองตากระเปาะทรงรีอยู่ปลายก้านตา มีหนวด 2 คู่ ขนาดเล็กสั้นหนวดข้างหนึ่งแยก 2 เส้น ส่วนอีกคู่หนึ่งมีฐานเป็นแผ่นแข็งมีขนขึ้นโดยรอบ ระยางค์ปากมีขนาดใหญ่แข็งแรง มีก้ามหนีบขนาดใหญ่ ปลายก้ามหันเข้าหากัน ฟันในส่วน ของก้ามหนีบด้านละ 6-7 อัน มีขาเดิน 4 คู่ สองคู่แรก มีปลายคล้ายใบหอก ส่วนสองคู่หลัง ปลายแบนคล้ายพาย ลักษณะลำตัวเป็นปล้อง 6 ปล้อง ขนาดเล็กต่อจากปลายกระดองม้วนด้านล่าง ปล้องสุดท้ายมีแพนหางรูปสามเหลี่ยม ตอนท้ายมีขาว่ายน้ำ 1 คู่ ลำตัวด้านล่างมีสันนูน (เพศเมียจะเห็นได้ชัดเจน) มีขาสีน้ำตาลค่อน ข้างรอบขอบกระดอง เพศผู้จะเห็นชัดเจนลำตัวกับขาเดิน มีสีส้มอมแดงหรือน้ำตาล ส่วนท้องมีสีขาวขอบกระดอง หน้าและหลังมีสีขาวเช่นเดียวกัน ตามีหลายสี เช่น ดำ, เหลือง หรือน้ำตาล

มีความยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร (ตัวผู้ประมาณ 7-14 เซนติเมตร ตัวเมียประมาณ 5-8 เซนติเมตร)

พบตามชายฝั่งที่เป็นโขดหิน แหล่งที่อยู่อาศัยชอบหมกตัวกับพื้นที่เป็นทรายรอบกองหินหรือแนวหินใต้น้ำระดับน้ำลึกประมาณ 60 เมตร กินอาหารที่เป็นซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย

เป็นปูที่นิยมใช้รับประทานเป็นอาหาร

อ้างอิง

[แก้]