ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะ
พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเนปาล
ครองราชย์11 มกราคม พ.ศ. 231817 พฤศจิกายน พ.ศ. 2320
รัชสมัย2 ปี
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะ
รัชกาลถัดไปพระเจ้ารณพหาทุร ศาหะ
ประสูติพ.ศ. 2294
สวรรคต17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2320
กรุงกาฐมาณฑุ ราชอาณาจักรเนปาล
(พระชนมายุ 26 พรรษา)
พระมเหสีสมเด็จพระราชินีราเจนดราแห่งเนปาล
พระนางมาอิจูศาหะ[1]
พระราชบุตรพระเจ้ารณพหาทุร ศาหะ
เชร์ บะหะดูร์[2]
พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะ
ราชวงศ์ราชวงศ์ศาหะ
พระราชบิดาพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะ
พระราชมารดาพระนางนเรนทราลักษมี ศาหะ

พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะ (เนปาล: प्रतापसिंह शाह) (พ.ศ. 2294 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2320)[3]เป็นพระมหากษัตริย์เนปาล เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะ กษัตริย์ผู้รวมชาติเนปาล พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะะทรงราชย์อยู่ในช่วงพ.ศ. 2318 ถึง พ.ศ. 2320 และเสด็จสวรรคตด้วยไข้ทรพิษ

พระราชประวัติ

[แก้]

พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะเป็นพระราชโอรสพระองค์โตในพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะกับพระนางนเรนทราลักษมีศาหะ หลังจากพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2318 เจ้าชายประทับสิงห์ พระราชโอรสองค์โตทรงครองราชย์สืบต่อ

พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะแม้จะทรงได้เป็นกษัตริย์แต่พระองค์ยังทรงระแวงว่าจะมีเจ้านายพระองค์อื่นแย่งชิงราชบัลลังก์ของพระองค์ พระองค์ได้ดำเนินการกวาดล้างโดยทรงสั่งจับกุมพระปิตุลาพระองค์หนึ่งและเจ้าชายบะหะดูร์ศาหะ พระอนุชาแท้ของพระองค์ คุมขังหลังจากทรงทราบว่าทั้งสองพระองค์วางแผนก่อตั้งราชอาณาจักรเล็ก ๆ เป็นของพระองค์เอง ต่อมามีพระบัญชาให้เนรเทศเจ้านายทั้งสองออกนอกประเทศ โดยทั้งสองเสด็จลี้ภัยที่อินเดีย[4] ปัญหาที่พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะทรงก่อกลายเป็นเรื่องอื้อฉาวภายในราชวงศ์ที่เรื้อรังในเวลาต่อมา

พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะ

มูลเหตุแห่งปัญหาคือ พระนางราเชนทราลักษมีศาหะ องค์รานีพระอัครมเหสีของพระองค์ ที่พระองค์ทรงอภิเษกสมรสตามความเหมาะสม แต่พระองค์ทรงอภิเษกสมรสครั้งที่สองกับสตรีจากเผ่าเนวาร์นามว่า มาอิจู ทรงหลงใหลนางมากถึงกับสถาปนานางขึ้นเป็นองค์รานีหรือพระนางมาอิจูศาหะ พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะทรงหลงใหลพระนางมากถึงกับไม่ออกว่าราชการ รานีราเชนทรงทรงริษยารานีมาอิจูมากโดยเฉพาะเมื่อทรงทราบว่ารานีมาอิจูทรงพระครรภ์ พระนางจึงหวั่นว่าฐานะของพระนางถูกสั่นคลอน ในขณะนั้นรานีราเชนทรามีพระประสูติกาลเจ้าชายราณาพหาทูรศาหะ พระโอรสพระชนมายุ 2 ชันษาแล้ว[5]

พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะไม่ทรงสานต่อนโยบายรวมชาติต่อจากพระราชบิดาแต่ในเวลาต่อมาเจ้าชายบะหะดูร์ศาหะพระอนุชาของพระองค์ หลังจากพ้นโทษทัณฑ์หลังการสวรรคตของพระเชษฐาได้สานต่อนโยบายนี้และขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง

พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันหลังจากประชวรด้วยไข้ทรพิษในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2320 ราชบัลลังก์ที่ว่างลงได้สืบต่อโดยเจ้าชายราณาพหาทูรศาหะ เป็นพระเจ้ารณพหาทุร ศาหะ พระชนมายุ 2 พรรษา รานีราเชนทราลักษมีในฐานะพระราชชนนีของยุวกษัตริย์ได้ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงใช้พระราชอำนาจกำจัดศัตรุทุกคนของพระองค์ รานีราเชนทราทรงปล่อยให้รานีมาอิจูมีพระประสูติกาลพระโอรสนามว่า เชร์ บะหะดูร์ หลังจากนั้นมีพระราชเสาวนีย์ให้ทหารจับกุมองค์รานีมาอิจูออกจากพระราชวังและบังคับให้พระนางกระทำพิธีสตี พระนางสิ้นพระชนม์ในกองเพลิง หลังจากนั้นรานีราเชนทราทรงกุมพระราชอำนาจทางการเมืองและกลายเป็นปัญหาในรัชกาลต่อมา[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. วราวุธ.หลังบัลลังก์เลือด,พิมพ์ครั้งที่ 1.(กรุงเทพฯ:กรุงเทพ, 2546) หน้า 25
  2. วราวุธ. หน้า 25
  3. "Royal Court of Nepal". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-10. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
  4. วราวุธ. หน้า 23
  5. วราวุธ. หน้า 24
  6. วราวุธ. หน้า 25
ก่อนหน้า พระเจ้าประตาปสิงห์ ศาหะ ถัดไป
พระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะ
พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเนปาล
(11 มกราคม พ.ศ. 2318 — 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2320)
พระเจ้ารณพหาทุร ศาหะ