ข้ามไปเนื้อหา

พิพิธภัณฑ์ซรี บาดูกา

พิกัด: 6°56′16″S 107°36′13″E / 6.937808°S 107.603578°E / -6.937808; 107.603578
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์ซรี บาดูกา
ᮙᮥᮞᮦᮅᮙ᮪ ᮞᮢᮤᮘᮓᮥᮌ
Museum Sri Baduga
ทางเข้าพิพิธภัณฑ์
แผนที่
ก่อตั้ง5 มิถุนายน 2523 (2523-06-05)
ที่ตั้ง185 ถนนเบกาเอร์ เตอกัลเลอกา บันดุง
พิกัดภูมิศาสตร์6°56′16″S 107°36′13″E / 6.937808°S 107.603578°E / -6.937808; 107.603578
ประเภทวัฒนธรรม
เจ้าของรัฐบาลจังหวัดชวาตะวันตก
ขนส่งมวลชนรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ Trans Metro Bandung [id]: สาย TMB4 (เตอกัลเลอกา)
เว็บไซต์Museum Sri Baduga

พิพิธภัณฑ์ซรี บาดูกา (อินโดนีเซีย: Museum Sri Baduga; ซุนดา: Musieum Sribaduga) เป็นพิพิธภัณฑ์ของรัฐที่ตั้งอยู่ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงสิ่งสะสมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชวาตะวันตก เช่น งานฝีมือของชาวซุนดา เครื่องเรือน ประวัติทางธรณีวิทยา และความหลากหลายทางธรรมชาติ

ประวัติ

[แก้]

พิพิธภัณฑ์ซรี บาดูกา ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2517 ภายในอาคารที่เคยใช้เป็นที่ทำการรัฐบาลของเกอเวดานาอัน เตอกัลเลอกา ซึ่งเป็นอดีตหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่าอำเภอในบันดุง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2523 มีพิธีเปิดดำเนินการพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการโดย ดาอุด ยูซุฟ (Daud Yusuf) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมในขณะนั้น ในชื่อ "พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐของจังหวัดชวาตะวันตก" (Museum Negeri Propinsi Jawa Barat) ในปี 2533 พิพิธภัณฑ์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐของจังหวัดชวาตะวันตกซรี บาดูกา" (Negeri Propinsi Jawa Barat Sri Baduga) หรือพิพิธภัณฑ์ซรี บาดูกา ตามพระนามซรี บาดูกา มาฮาราจา (ซุนดา: ᮞᮨᮛᮤ ᮘᮓᮥᮌ ᮙᮠᮛᮏ, อักษรโรมัน: Seri Baduga Maharaja) กษัตริย์ชาวซุนดาในคริสต์ศตวรรษที่ 15[1]

สิ่งสะสม

[แก้]

พิพิธภัณฑ์ซรี บาดูกา รวบรวมสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในภูมิภาคจังหวัดชวาตะวันตก พิพิธภัณฑ์มีชุดสะสมประมาณ 5,637 ชิ้น[2] จัดแสดงบนสามชั้นของอาคาร ชั้นแรกจัดแสดงพัฒนาการเบื้องต้นของประวัติศาสตร์ธรรมชาติและวัฒนธรรมของชวาตะวันตก ซึ่งอธิบายด้วยการจัดแสดงมรดกทางวัฒนธรรมตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคฮินดู-พุทธ

ชั้นสองประกอบด้วยนิทรรศการวัตถุทางวัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต การค้า และการคมนาคม รวมถึงอิทธิพลของศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมยุโรป ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชาติ และตราสัญลักษณ์ของเมืองต่าง ๆ ในชวาตะวันตก

ชั้น 3 จัดแสดงชุดสะสมทางด้านชาติพันธุ์วิทยาในรูปแบบของงานผ้า ชิ้นงานศิลปะ และเซรามิก

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Museum Sri Baduga" (ภาษาอินโดนีเซีย). Bandung Tourism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2015.
  2. "Museum Sribaduga". Anne Ahira. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]