พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์
มูว์เซดูลูฟวร์ | |
ก่อตั้ง | 10 สิงหาคม 1793 |
---|---|
ที่ตั้ง | มูว์เซดูลูฟวร์ 75001 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส |
ประเภท | หอศิลป์ และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ |
ขนาดผลงาน | 615,797 ปี 2019[1] (35,000 ต่อการจัดแสดง)[2] |
จำนวนผู้เยี่ยมชม | 8.9 ล้านคน (2023)[3]
|
ผู้อำนวยการ | Laurence des Cars |
ภัณฑารักษ์ | Marie-Laure de Rochebrune |
ขนส่งมวลชน | |
เว็บไซต์ | louvre.fr |
พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ หรือทับศัพท์ว่า มูว์เซดูลูฟวร์ (ฝรั่งเศส: Musée du Louvre) เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี 1793 มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่งแอนทีออก พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวน 10.1 ล้านคนในปี 2018 ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก[4] และยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในกรุงปารีส
พีระมิดแก้วของพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ออกแบบโดย ไอ. เอ็ม. เป สถาปนิกชาวจีน-อเมริกัน ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1988 โดยเป็นหนึ่งในโครงการที่ริเริ่มของประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็อง เพื่อใช้สอยเป็นทางเข้าหลักของพิพิธภัณฑ์ โดยผู้เข้าชมจะต้องเข้าผ่านล็อบบี้ใต้ดิน ที่อยู่ใต้ฐานพีระมิด โดยโครงการถัดไปคือพีระมิดกลับหัว หรือ The Inverse Pyramid (ฝรั่งเศส: La Pyramide Inversée) ซึ่งเป็นพีระมิดแก้วเช่นเดียวกัน ที่สามารถมองเห็นได้จากใต้ดิน โดยฐานพีระมิดจะอยู่บนพื้นผิวระดับถนน ซึ่งโครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ในปี 1993
พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ถือเป็นหน่วยงานของรัฐบาลฝรั่งเศส โดยตั้งแต่ปี 2003 ได้มีความพยายามทำการแปรรูปขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการปรับลดงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลจาก 75% เหลือเพียง 62% ในปี 2006 โดยภาพยนตร์ชื่อดังจากนวนิยายเรื่อง ดาวินชี่โค้ด ของแดน บราวน์ พิพิภัณฑ์ได้รับเงินสนับสนุนค่าพื้นที่การถ่ายทำถึง 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2008 รัฐบาลฝรั่งเศสได้สนันสนุนงบประมาณทั้งหมด 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากงบประมาณที่ต้องการทั้งหมด 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนต่างที่เหลือมาจากเงินบริจาค และค่าเข้าชม
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Rapport d'activité 2019 du musée du Louvre, p. 29, website www.louvre.fr.
- ↑ "Louvre Museum". museums.eu.
- ↑ [1] Franceinfo Culture, 4 January 2024
- ↑ "En 2023, le Louvre a retrouvé une fréquentation pré-Covid avec près de 9 millions de visiteurs". 3 January 2024.
- Oliver, Bette Wyn (2007). From Royal to National: The Louvre Museum and the Bibliothèque Nationale. Lexington Books. ISBN 978-0-7391-1861-0. OCLC 70883061.
ระเบียงภาพ
[แก้]-
Cycladic, a votive head, 2700–2300 BC
-
Egyptian, stele, Priest burning incense before Ra-Horakhty-Atum, ca. 900 BC
-
Ancient Persia, the Ibex Rhyton, 600–300 BC
-
Ancient Greek, Athens, The Rampin Rider,
-
Etruscan amphora, Diomedes and Polyxena, ca. 540–530 BC
-
Hellenic Near East, The Eros Medallion, ca. 250–200 BC
-
Fayum Egyptian, Fayum mummy portrait
-
Roman, portrait of Marcus Agrippa, 25 BC
-
Frankish, ivory, Christ between two apostles, 5th century
-
Islamic art from Iraq, terracotta cup, 9th century
-
Romanesque art from Maastricht, Reliquary, 11th century
-
Romanesque architecture from France, St Michael and the Devil, 12th century
-
Italian Renaissance painting, St Francis receiving the stigmata, Giotto, c.1300
-
Early Netherlandish painting, The Annunciation, Rogier van der Weyden, 1435
-
Gothic art from France, The Pieta of Villeneuve les Avignon, Enguerrand Quarton, 1460
-
Flemish painting, The Moneylenders, Quentin Massys, 1514
-
Italian Renaissance sculpture, Rebellious slave, Michelangelo, 1513–16
-
Spanish painting, Infanta Maria Margareta, Velázquez, 1655
-
French Classical painting, The Bather, Ingres, 1808
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาอังกฤษ)
- Digital Collection (ในภาษาอังกฤษ)
- Louvre's 360x180 degree panorama virtual tour (ในภาษาอังกฤษ)
- Louvre virtual tours (ในภาษาอังกฤษ)