ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์คูอิเกอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คูอิเกอร์ เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณที่รู้จักกันเพียงทับหลังหินปูนที่มีคาร์ทูธของพระองค์เท่านั้นที่ค้นพบในอไบดอส โดยฟลินเดอร์ส เพทรีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 และปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีและมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (อี 17316 เอ-บี )[2] ข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์มีความคลุมเครืออย่างยิ่ง เนื่องจากพระองค์ถูกจัดให้อยู่ไว้อย่างไม่แน่นอนในช่วงระหว่างกลางที่หนึ่งและช่วงระหว่างกลางที่สอง

การจัดระเบียบราชวงศ์

[แก้]

หลังจากการค้นพบทับหลัง เพทรีเชื่อว่าพระนามของพระองค์คือ อูอาเกอร์เร แต่กลับมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลของพระองค์ และเพียงแค่จัดให้พระองค์อยู่ไว้ในช่วงระหว่างราชวงศ์ที่เจ็ดถึงราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ หลังจากนั้นไม่นาน แกสตัน มาสเปโรได้กล่าวถึงฟาโรห์ผู้ลึกลับในช่วงราชวงศ์ที่หกถึงราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ แม็กซ์ เพียเปอร์ได้อ่านพระนามให้ถูกต้องมากขึ้นว่า คูอิเกอร์ โดยอ้างว่าฟาโรห์พระองค์นี้น่าจะครองราชย์ระหว่างราชวงศ์ที่สิบสามและราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ และลุดวิก บอร์ชาร์ดต์ก็ได้ข้อสรุปแบบเดียวกัน ในขณะที่ในปี ค.ศ. 1907 อองรี โกติเยร์ได้คล้อยตามมาสเปโรแทนและจัดพระองค์อีกครั้งให้อยู่ในช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง[3][2] เมื่อไม่นานนี้ เดทเลฟ ฟรานเคอ นักไอยคุปต์วิทยาชาวเยอรมันได้เสนอความเก็นเกี่ยวกับ การมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอส[4] (ราชวงศ์ของผู้ปกครองท้องถิ่นที่อาจจะปกครองเขตปกครองอไบดอสในช่วงระหว่างกลางที่สองเป็นระยะเวลาสั้น ๆ) โดยเขาจัดให้ฟาโรห์คูอิเกอร์อยู่ในราชวงศ์อไบดอส และเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราทได้เสนอว่า พระองค์อยู่ในช่วงระหว่างกลางที่สองเช่นกัน ตามคำกล่าวอ้างดังกล่าวมาจากบล็อกจากอาคารในรัชสมัยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และถึงแม้ว่าเขาจะยืนยันว่าพระนามฮอรัส เมรุต เป็นของฟาโรห์คูอิเกอร์ ซึ่งอาจจะดูแปลกสำหรับช่วงเวลานั้น[2] ส่วนพระนามฮอรัสดังกล่าวเป็นหัวข้อหลักสำหรับการแสดงที่มาของคิม รีฮอล์ตด้วย: เขาโต้แย้งว่าพระนาม เมรุต นั้นเรียบง่ายเกินไป เมื่อเทียบกับชื่พระนามฮอรัสจากช่วงระหว่างกลางที่สอง ซึ่งมักจะประกอบด้วยคำสองหรือสามคำที่แตกต่างกัน จากนั้น รีฮอล์ตได้เสนอความเห็นว่า ฟาโรห์คูอิเกอร์น่าจะอยู่ในระยะเวลาที่ไม่แน่ชัดในช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Henri Gauthier, Le Livre des rois d'Égypte, recueil de titres et protocoles royaux, 1, Des origines à la XIIe dynastie, (= MIFAO 17) Cairo, 1907, p. 192.
  2. 2.0 2.1 2.2 Jürgen von Beckerath, Untersuchungen zur politischen Geschichte der zweiten Zwischenzeit in Ägypten (=Ägyptologische Forschungen, 23). Augustin, Glückstadt / New York, 1964, p. 70.
  3. Henri Gauthier, Le Livre des rois d'Égypte, recueil de titres et protocoles royaux, 1, Des origines à la XIIe dynastie, (= MIFAO 17) Cairo, 1907, p. 192.
  4. Detlef Franke, Zur Chronologie des Mittleren Reiches. Teil II: Die sogenannte Zweite Zwischenzeit Altägyptens, In Orientalia, 57 (1988), p. 259.
  5. Kim Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 B.C. (=The Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20, ISSN 0902-5499). The Carsten Niebuhr Institute of Near Eastern studies, Copenhagen 1997, ISBN 87-7289-421-0, p. 163 n. 595.