ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี
ฉายา | Nationalelf (ชาติที่สิบเอ็ด) DFB-Elf (เดเอ็ฟเบ สิบเอ็ด) Die Mannschaft (ทีม)[a] อินทรีเหล็ก (ฉายาในภาษาไทย)[3] | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลเยอรมัน (Deutscher Fußball-Bund; DFB; เดเอ็ฟเบ) | ||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ทวีปยุโรป) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ยูลีอาน นาเกิลส์มัน | ||
กัปตัน | อิลไค กึนโดอัน | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | โลทาร์ มัทเทอุส (150) | ||
ทำประตูสูงสุด | มีโรสลัฟ โคลเซอ (71) | ||
รหัสฟีฟ่า | GER | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 16 (20 มิถุนายน 2024)[4] | ||
อันดับสูงสุด | 1[5] (ธันวาคม ค.ศ. 1992 – สิงหาคม ค.ศ. 1993, ธันวาคม ค.ศ. 1993 – มีนาคม ค.ศ. 1994, มิถุนายน ค.ศ. 1994, กรกฎาคม ค.ศ. 2014 – มิถุนายน ค.ศ. 2015, กรกฎาคม ค.ศ. 2017, กันยายน ค.ศ. 2017 – มิถุนายน ค.ศ. 2018) | ||
อันดับต่ำสุด | 22[5] (มีนาคม ค.ศ. 2006) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
สวิตเซอร์แลนด์ 5–3 เยอรมนี (บาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์; 5 เมษายน ค.ศ. 1908)[6] | |||
ชนะสูงสุด | |||
เยอรมนี 16–0 รัสเซีย (สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน; 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1912)[7] | |||
แพ้สูงสุด | |||
อังกฤษ 9–0 เยอรมนี (ออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ; 13 มีนาคม ค.ศ. 1909)[8][b] | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 19 (ครั้งแรกใน 1934) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1954, 1974, 1990, 2014) | ||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | |||
เข้าร่วม | 13 (ครั้งแรกใน 1972) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1972, 1980, 1996) | ||
โอลิมปิกฤดูร้อน | |||
เข้าร่วม | 13[c] (ครั้งแรกใน 1912) | ||
ผลงานดีที่สุด | เหรียญทอง (1976) | ||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||
เข้าร่วม | 3 (ครั้งแรกใน 1999) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2017) |
ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี (เยอรมัน: Deutsche Fußballnationalmannschaft) เป็นทีมฟุตบอลของประเทศเยอรมนีในการแข่งขันระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน (ก่อตั้งใน ค.ศ. 1900) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) และสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) โดยลงแข่งขันทางการนัดแรกใน ค.ศ. 1908 และภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ฟีฟ่าได้ให้การรับรองทีมเยอรมนีตะวันตก (สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี), ทีมซาร์ลันด์ และทีมเยอรมนีตะวันออก (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี) ในการแข่งขันทางการ[9] เยอรมนีตะวันตกลงเล่นในฐานะตัวแทนของสมาคมฟุตบอลเยอรมันระหว่าง ค.ศ. 1949–1990 ในขณะที่ทีมซาร์ลันด์เป็นตัวแทนของรัฐซาร์ลันด์ตั้งแต่ ค.ศ. 1950–56 และทีมชาติเยอรมนีตะวันออกเป็นตัวแทนของประเทศเยอรมนีตะวันออกตั้งแต่ ค.ศ. 1952–1990 ก่อนที่ทีมชาติเยอรมนีอย่างในปัจจุบันจะก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1990 จากการรวมประเทศเยอรมนี
เยอรมนีเป็นหนึ่งในชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการแข่งขันนานาชาติ โดยชนะเลิศฟุตบอลโลกสี่สมัย (ฟุตบอลโลก 1954, 1974, 1990 และ 2014) ซึ่งเป็นสถิติมากที่สุดอันดับสองร่วมกับอิตาลี และเป็นรองเพียงบราซิล (ห้าสมัย) และชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปสามสมัย (ค.ศ. 1972, 1980 และ 1996) ซึ่งเป็นสถิติอันดับสองรองจากสเปน และยังชนะเลิศฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพอีกหนึ่งครั้ง (2017)[10] พวกเขายังคว้าตำแหน่งรองชนะเลิศในฟุตบอลโลกสี่ครั้ง และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอีกสามครั้ง และอันดับสามในฟุตบอลโลกอีกสี่ครั้ง ทีมเยอรมนีตะวันออกยังคว้าเหรียญทองในฟุตบอลโอลิมปิกฤดูร้อน 1976[11] เยอรมนีเป็นเพียงหนึ่งในสามชาติที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชายของฟีฟ่าแบบ 11 คนในทุกช่วงอายุ (อีกสองทีมคือบราซิลและฝรั่งเศส) จากการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในนามทีมชาติชุดใหญ่, ฟุตบอลโลก รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี, ฟุตบอลโลก รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี, แชมป์ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ และเหรียญทองโอลิมปิก พวกเขายังเป็นหนึ่งในสองชาติ (อีกทีมหนึ่งคือสเปน) ที่ชนะเลิศฟุตบอลโลกทั้งในทีมชายและทีมหญิง[12]
เยอรมนีเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลโลกมากที่สุดเมื่อนับรวมทั้งทีมชายและทีมหญิง โดยทีมชายคว้าแชมป์สี่สมัยและทีมหญิงเป็นแชมป์สองสมัย หลังจบการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 เยอรมนีกลายเป็นทีมที่มีอันดับโลกอีโลสูงที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ด้วยคะแนน 2,223 คะแนน[13] พวกเขายังเป็นชาติเดียวในยุโรปที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลกในทวีปอเมริกา
ประวัติ
[แก้]ยุคแรก (1899–1942)
[แก้]เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1897 เยอรมนีจัดการแข่งขันครั้งฟุตบอลนัดแรกขึ้นในเมืองฮัมบวร์ค ผลปรากฏว่าเดนมาร์กชนะทีมสมาคมฮัมบวร์ค-อัลโทนาไปได้ 5–0[14][15] ในช่วงระหว่างปี 1899 ถึง 1901 ก่อนมีการก่อตั้งทีมชาติอย่างเป็นทางการ มีการแข่งขันนานาชาติอย่างไม่เป็นทางการอีก 5 นัดระหว่างทีมคัดเลือกจากเยอรมนีและอังกฤษซึ่งเยอรมนีแพ้ไปอย่างยับเยินทุกนัดรวมถึงการแพ้ด้วยผลประตู 0–12 ณ สนามไวต์ฮาร์ตเลนต่อมาอีก 8 ปี ภายหลังการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลเยอรมัน (DFB) ใน ค.ศ. 1900 มีการแข่งขันนัดแรกอย่างเป็นทางการของเยอรมนีเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1908 พบกับสวิตเซอร์แลนด์ที่เมืองบาเซิล โดยเยอรมนีแพ้ 3–5[16] ความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดของเยอรมนีในการแข่งขันทางการเกิดขึ้นในอีกหนึ่งปีหลังจากนั้น เมื่อพวกเขาแพ้ต่อทีมสมัครเล่นของอังกฤษถึง 0–9 การแข่งขันครั้งนี้ได้รับการบันทึกโดยสมาคมฟุตยอลเยอรมัน แต่ไม่ได้รับการรับรองโดยฟีฟ่า เนื่องจากมีการใช้ผู้เล่นสมัครเล่นหลายราย[17] ช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นความเป็นอริระหว่างอังกฤษและเยอรมนี[18] ยูลีอุส เฮิร์สช์ เป็นผู้เล่นชาวยิวคนแรกที่เป็นตัวแทนทีมชาติเยอรมนีหลังเข้าร่วมทีมในปี 1911[19] และยิง 4 ประตูในนัดที่พบกับเนเธอร์แลนด์ในปี 1912[20] เขากลายเป็นผู้เล่นเยอรมนีคนแรกที่ยิงได้ถึง 4 ประตูในนัดเดียว[21]
ต่อมา กอทท์ฟรีด ฟุช สร้างสถิติทำ 10 ประตูในนัดที่เยอรมนีชนะทีมจักรวรรดิรัสเซีย 16–0 ในกีฬาโอลิมปิก 1912 ที่ประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นสถิติมาอย่างยาวนานจนถึงปี 2001[22] ก่อนจะถูกทำลายโดยผู้เล่นชาวออสเตรเลีย อาร์ชี ทอมป์สัน ซึ่งทำคนเดียว 13 ประตูในนัดที่ทีมชาติออสเตรเลียชนะหมู่เกาะซามัวไปได้ถึง 31–0 แต่ฟุชยังเป็นเจ้าของสถิติทำประตูมากที่สุดในนัดเดียวของเยอรมนีจนถึงปัจจุบัน[23]
ในยุคแรก นักเตะทีมชาติทุกคนถูกคัดเลือกโดยตรงจากสมาคมฟุตบอลเนื่องจากยังไม่มีผู้ฝึกสอนที่เหมาะสม ผู้จัดการทีมคนแรกคือ อ็อตโต เนิร์ซ ครูจากโรงเรียนมันไฮม์และอดีตนายทหารในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งคุมทีมตั้งแต่ปี 1926–1936[24] รัฐบาลเยอรมนีไม่มีงบประมาณให้ทีมชาติเดินทางไปร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก ณ ประเทศอุรุกวัย ในปี 1930 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เยอรมนีเข้าร่วมฟุตบอลโลกครั้งแรกของพวกเขาในปี 1934 และคว้าอันดับ 3 หลังจากนั้นทีมมีผลงานย่ำแย่ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 ที่กรุงเบอร์ลิน ทำให้ เซ็พพ์ แฮร์แบร์เกอร์ เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีม โดยมีผลงานที่เป็นที่จดจำคือการรวบรวมผู้เล่น 11 ตัวจริงที่มีผลงานโดดเด่นจนได้รับฉายากจากสื่อในประเทศว่า Breslau Elf (Breslau Eleven) ซึ่งมีผลงานสำคัญคือการเอาชนะเดนมาร์ก 8–0[25]
ภายหลังออสเตรียกลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีจากเหตุการณ์อันชลุสในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1938 ส่งผลให้ฟุตบอลทีมชาติออสเตรียซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่แข็งแกร่งที่สุดในยุคนั้น ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันฟุตบอลโลก 1938 แม้จะผ่านรอบคัดเลือกแล้ว และด้วยเหตุผลทางการเมืองรัฐบาลนาซีออกคำสั่งให้ผู้เล่นตัวหลักจากออสเตรียประมาณหกราย เข้าร่วมแข่งขันในนามทีมชาติเยอรมนีเพื่อความสามัคคี เยอรมนีชุดนั้นเริ่มต้นฟุตบอลโลก 1938 ด้วยการเสมอสวิตเซอร์แลนด์ 1–1 และแพ้ในนัดแข่งใหม่ที่ปารีส 2–4 เป็นครั้งแรกที่พวกเขาไม่สามารถผ่านรอบแรกของการแข่งขันได้ ซึ่งนี่เป็นสถิติต่อเนื่องมาอย่างยาวนาจนถึงฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 ซึ่งพวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่ม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีลงแข่งขันในนามทีมชาติจำนวน 30 นัดระหว่างเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ก่อนที่การแข่งขันฟุตบอลจะถูกระงับ และผู้เล่นเกือบทุกคนจะต้องเข้าร่วมกองทัพ ในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้เล่นตัวหลักของเยอรมนีได้รับความคุ้มครองจากกองทัพอากาศ ที่ต้องการปกป้องนักฟุตบอลในช่วงสงคราม
ปาฏิหาริย์แห่งเบิร์นและแชมป์โลกสมัยแรก (1954)
[แก้]ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง มีรัฐที่เกิดขึ้นใหม่ คือ เยอรมนีตะวันตก ซาร์ลันด์ และเยอรมนีตะวันออก โดยเยอรมนีถูกฟีฟ่าห้ามลงแข่งขันจนถึงปี 1950
เยอรมนีตะวันตกนำโดย ฟริตซ์ วอลเตอร์ เป็นกัปตันทีมในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1954 ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งพบกับทีมเต็งอย่างทีมชาติฮังการีในรอบแบ่งกลุ่ม ก่อนจะแพ้ไป 3–8 ก่อนที่ทั้งสองทีมจะมาพบกันอีกครั้งในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งเยอรมนีถูกมองว่าเป็นรองเนื่องจากก่อนหน้านั้นทีมชาติฮังการีมีสถิติไม่แพ้ใครติดต่อกันทุกรายการรวม 32 นัด แต่เยอรมนีตะวันตกเอาชนะไปได้ 3–2 อย่างเหนือความคาดหมาย โดยเฮลมุท ราห์น เป็นผู้ทำประตูชัยในช่วงท้ายเกม ส่งผลให้เยอรมนีคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้เป็นสมัยแรกในนามเยอรมนีตะวันตก[26] และความสำเร็จในครั้งนั้นได้รับการยกย่องว่าเป็น "ปาฏิหาริย์แห่งเบิร์น" (Das Wunder von Bern)
การแข่งขันครั้งประวัติศาสตร์ (1958–1970)
[แก้]ภายหลังจากเยอรมนีตะวันตกทำได้เพียงคว้าอันดับ 4 ในฟุตบอลโลก 1958 และตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก 1962 สมาคมจึงมีการเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มมีการจ้างทีมงานอาชีพและคัดทีมจากลีกท้องถิ่นเข้าสู่บุนเดิสลีกาที่เปิดใหม่ (ในปี 1963) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ทีมชาติ
ในฟุตบอลโลก 1966 เยอรมนีตะวันตกผ่านเข้าชิงชนะเลิศได้โดยเอาชนะโซเวียตได้ในรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะเข้าไปพบกับทีมชาติอังกฤษเจ้าภาพในช่วงต่อเวลาพิเศษ และประตูแรกของเจฟฟ์ เฮิร์สท์ ถือเป็นหนึ่งในประตูที่มีการโต้เถียงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลโลก[27][28] โดยผู้กำกับเส้นส่งสัญญาณว่าลูกฟุตบอลได้ข้ามเส้นไปแล้วหลังจากกระเด้งลงมาจากคานประตู แต่เมื่อดูภาพรีเพลย์ซ้ำอีกครั้งดูเหมือนลูกบอลยังไม่ข้ามเส้นไปทั้งใบ[29][30] จากนั้นเฮิร์สต์ก็ยิงประตูเพิ่มให้อังกฤษเอาชนะไป 4–2[31]
ในฟุตบอลโลก 1970 เยอรมนีตะวันตกเอาชนะอังกฤษคืนได้ 3–2 ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย[32] แต่ไปแพ้อิตาลี 3–4 ในช่วงต่อเวลาพิเศษรอบรองชนะเลิศ ซึ่งมีการทำประตูกันมากถึง 5 ประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษ และจัดเป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่น่าตื่นเต้นที่สุดนัดหนึ่งรวมทั้งได้รับขนานนามว่าเป็น "เกมแห่งศตวรรษ" [33] เยอรมนีตะวันตกจบการแข่งขันด้วยอันดับ 3 และผู้ทำประตูสูงสุดในรายการได้แก่ แกร์ท มึลเลอร์ (10 ประตู)
แชมป์ยุโรปสมัยแรก และ แชมป์โลกสมัยที่สอง
[แก้]ในปี 1971 ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ เป็นกัปตันทีมชาติเยอรมนีตะวันตกและพาทีมคว้าแชมป์ยูโร 1972 โดยเอาชนะสหภาพโซเวียต 3–0 คว้าแชมป์ได้เป็นสมัยแรก
ต่อมา พวกเขาเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 1974 และสามารถคว้าแชมป์ได้เป็นสมัยที่สอง หลังจากชนะเนเธอร์แลนด์ 2–1 ในรอบชิงชนะเลิศที่เมืองมิวนิก ในรายการนี้เยอรมนีได้ส่งทีมเข้าแข่งขัน 2 ทีมได้แก่ เยอรมนีตะวันออก และเยอรมนีตะวันตก ซึ่งทั้งสองทีมพบกันในรอบแบ่งกลุ่มและเยอรมนีตะวันออกเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 1–0 ก่อนที่เยอรมนีตะวันตกจะสามารถผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศและคว้าแชมป์ไปได้[34]
ล้มเหลวในการป้องกันแชมป์สองรายการใหญ่ (1976–1980)
[แก้]เยอรมนีตะวันตกไม่สามารถป้องกันแชมป์ได้ในการแข่งขันสองรายการต่อมา โดยแพ้เชโกสโลวาเกีย 3-5 ในการดวลจุดโทษนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลยูโร 1976[35] และนับตั้งแต่นั้น เยอรมนีไม่แพ้การดวลจุดโทษให้กับทีมใดอีกเลยในการแข่งขันรายการใหญ่[36] ในฟุตบอลโลก 1978 เยอรมนีตะวันตกตกรอบแบ่งกลุ่มหลังแพ้ออสเตรีย 2–3 และ จุปป์ เดอร์วอลล์ เข้ามารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนต่อ
เดอร์วอลล์พาทีมประสบความสำเร็จในการกลับมาชนะเลิศฟุตบอลยูโร 1980 เป็นสมัยที่สอง ซึ่งเยอรมนีตะวันตกเอาชนะเบลเยียมไปได้ 2–1 ในนัดชิงชนะเลิศ ต่อมา เยอรมนีตะวันตกผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1982 แต่แพ้อิตาลี 1–3 ในช่วงเวลาดังกล่าว แกร์ท มึลเลอร์ ทำสถิติทำ 14 ประตูในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 2 สมัย และจำนวน 10 ประตูที่เขาทำได้ในฟุตบอลโลก 1970 ถือเป็นสถิติสูงที่สุดอันดับ 3 ในฟุตบอลโลก (ต่อมาถูกทำลายโดยโรนัลโดในฟุตบอลโลก 2006 และอีกครั้งในฟุตบอลโลก 2014 โดย มีโรสลัฟ โคลเซอ)[37]
การคุมทีมของฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ (1984–1990)
[แก้]หลังจากเยอรมนีตะวันตกตกรอบแรกในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีม โดยเยอรมนีตะวันตกผ่านเข้าชิงชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1986 ก่อนจะแพ้อาร์เจนตินาซึ่งนำโดยดิเอโก มาราโดนา ไป 2–3 และในสองปีถัดมา เยอรมนีตะวันตกในฐานะเจ้าภาพยูโร 1988 ผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศก่อนจะแพ้เนเธอร์แลนด์ 1–2
ในฟุตบอลโลก 1990 เยอรมนีตะวันตกคว้าแชมป์โลกได้เป็นสมัยที่ 3 ซึ่งเป็นการผ่านเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน ทีมชุดนั้นมีกัปตันทีมคือ โลธาร์ มัทเธอุส เยอรมนีเอาชนะยูโกสลาเวีย (4–1), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (5–1), เชโกสโลวาเกีย (1–0) และเอาชนะคู่ปรับอย่างอังกฤษในรอบรองชนะเลิศจากการดวลจุดโทษภายหลังเสมอกัน 1–1 พวกเขาสามารถแก้มือด้วยการเอาชนะอาร์เจนตินาในรอบชิงชนะเลิศ 1–0 จากประตูของอันเดรอัส เบรเมอ[38] และฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ถือเป็นบุคคลแรกที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้ทั้งในฐานะกัปตันทีมและผู้จัดการทีม[39] ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเป็นกัปตันทีมอยู่ในทีมชุดที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 1974[40] นอกจากนี้ เขายังกลายเป็นคนที่สองต่อจาก มารียู ซากาลู ชาวบราซิลที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกทั้งในฐานะผู้เล่นและผู้จัดการทีม
หลังรวมประเทศ
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 หลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน เยอรมนีตะวันออกและเยอรมนีตะวันตกจับสลากมาอยู่กลุ่มเดียวกันในยูโร 1992 รอบคัดเลือกกลุ่ม 5 โดยในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1990 สมาคมฟุตบอลแห่งเยอรมันตะวันออก (Deutscher Fußball-Verband) ได้รวมเข้ากับ DFB และทีมเยอรมนีตะวันออกได้ยุติบทบาทลงอย่างเป็นทางการ โดยเล่นนัดสุดท้ายในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1990 ทีมชาติเยอรมนีที่รวมกันเป็นหนึ่งมีการปรับโครงสร้างของลีกฟุตบอลภายในประเทศในปี 1991–92 เกมแรกอย่างเป็นทางการหลังจากรวมตัวกันคือการพบกับสวีเดนในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1990[41] ในการแข่งขันกระชับมิตรซึ่งเยอรมนีชนะ 3–1 หลังจบฟุตบอลโลก 1990 เบ็คเคินเบาเออร์ได้ประกาศวางมือและผู้ที่มารับตำแหน่งต่อคือ แบร์ตี โฟกตส์ โดยได้พาทีมประเดิมในฟุตบอลยูโร 1992 แต่พ่ายให้กับเดนมาร์กในรอบชิงชนะเลิศไป 0–2 ต่อมาในฟุตบอลโลก 1994 เยอรมนีตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยแพ้บัลแกเรีย 1–2
เยอรมนีคว้าแชมป์รายการแรกหลังรวมประเทศได้ในยูโร 1996 ซึ่งเป็นการคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 3 (นับรวมสมัยเยอรมนีตะวันตก) โดยชนะทีมชาติอังกฤษเจ้าภาพในรอบรองชนะเลิศ[42] ก่อนจะเอาชนะทีมชาติเช็กเกียในช่วงต่อเวลาพิเศษ (golden goal)[43] อย่างไรก็ตาม ในฟุตบอลโลก 1998 ที่ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนีตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายโดยแพ้ให้กับโครเอเชีย 0–3 ซึ่งประตูทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจากกองหลังเยอรมนีได้รับใบแดง[44] แบร์ตี้ โฟ้กตส์ได้ประกาศลาออก และผู้ที่มาทำหน้าที่แทนได้แก่ เอริช ริบเบ็ค[45]
ยุคของ อ็อลลีเวอร์ คาห์น และมิชชาเอล บัลลัค (2000–2006)
[แก้]ในฟุตบอลยูโร 2000 เยอรมนีตกรอบแรก เริ่มจากพ่ายทีมชาติอังกฤษ 0–1, พ่ายโปรตุเกส 0–3 และเสมอโรมาเนีย ริบเบ็ค ได้ลาออกและรูดี เฟิลเลอร์ เข้ามารับตำแหน่งต่อ ต่อมา เยอรมนีเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 โดยมีนักเตะชื่อดัง เช่น อ็อลลีเวอร์ คาห์น, มิชชาเอล บัลลัค และมีโรสลัฟ โคลเซอเป็นกำลังหลัก โดยก่อนเริ่มรายการ ความคาดหวังไม่ค่อยสูงนักเนื่องจากพวกเขาทำผลงานไม่ค่อยดีในรอบคัดเลือก แต่ทีมก็ผ่านรอบแบ่งกลุ่มเข้าสู่รอบตัดเชือกโดยชนะ 1–0 ได้ในสามนัดถัดมา (พบปารากวัย, สหรัฐ และเกาหลีใต้เจ้าภาพร่วมตามลำดับ) และเข้าชิงชนะเลิศก่อนจะแพ้บราซิล 0–2 จากประตูของโรนัลโด[46] แต่อ็อลลีเวอร์ คาห์น ยังได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมประจำการแข่งขันซึ่งถือเป็นครั้งแรกในฟุตบอลโลกที่ผู้รักษาประตูได้รับรางวัลนี้[47]
เยอรมนีตกรอบแรกในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 โดยเสมอ 2 นัด และแพ้เช็กเกียในรอบแบ่งกลุ่ม[48] รูดี เฟิลเลอร์ลาออก[49] และเยือร์เกิน คลีนส์มัน เข้ามารับช่วงต่อ เขาพาทีมผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในฟุตบอลโลก 2006 ที่เยอรมนีเป็นเจ้าภาพโดยแพ้อิตาลีในช่วงต่อเวลา 0–2[50] แต่ยังคว้าอันดับสามได้โดยชนะโปรตุเกส 3–1[51][52]
โยอาคิม เลิฟ และแชมป์โลกสมัยที่ 4 (2006–2021)
[แก้]โยอาคิม เลิฟ อดีตผู้ช่วยผู้จัดการทีมเข้ามารับตำแหน่งต่อจากคลีนส์มัน และพาทีมเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 แต่แพ้สเปน 0–1 ต่อมา ในฟุตบอลโลก 2010 เยอรมนีเข้าสู่รอบตัดเชือกโดยเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่ม ก่อนจะชนะอังกฤษ 4–1 ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ซึ่งนัดนั้นมีกรณีปัญหาที่ถกเถียงกันจากประตูของ แฟรงก์ แลมพาร์ด ที่ทำประตูได้แต่ผู้ตัดสินกลับไม่ให้เป็นประตู[53][54] เยอรมนีชนะอาร์เจนตินา 4–0 ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ก่อนจะแพ้สเปนในรอบรองชนะเลิศ 0–1[55] และเอาชนะอุรุกวัย 3–2 ในนัดชิงอันดับที่ 3 และโทมัส มึลเลอร์ ได้รับรางวัลรองเท้าทองคำ (FIFA World Cup Golden Boot) และรางวัลนักเตะดาวรุ่งผู้มีผลงานโดดเด่น (Best Young Player Award)
ต่อมา ในฟุตบอลยชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 เยอรมนีชนะโปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์กได้ทั้ง 3 นัดในรอบแบ่งกลุ่ม ตามด้วยการชนะกรีซในรอบ 8 ทีมสุดท้าย และสร้างสถิติชนะรวด 15 นัดในการแข่งขันทุกรายการในขณะนั้นก่อนจะไปแพ้อิตาลี 1–2 ในรอบรองชนะเลิศ[56]
ฟุตบอลโลก 2014
[แก้]เยอรมนีคว้าแชมป์โลกได้เป็นสมัยที่ 4 ในฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล โดยทำผลงานยอดเยี่ยมตั้งแต่รอบคัดเลือก โดยในรอบแบ่งพวกเขาอยู่ร่วมกับสหรัฐอเมริกา, กานา และโปรตุเกส และทำผลงานชนะ 2 นัด และเสมอ 1 นัด ต่อมา ใน 16 ทีมสุดท้ายพวกเขาชนะแอลจีเรีย 2–1 จากประตูของเมซุท เออซิล ในนาทีสุดท้ายช่วงต่อเวลาพิเศษ ผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย และชนะฝรั่งเศส 1–0 จากประตูของ มัทซ์ ฮุมเมิลส์ ทำสถิติเป็นทีมแรกที่เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 4 สมัยติดต่อกัน
ในรอบรองชนะเลิศ เยอรมนีถล่มเอาชนะบราซิลไปถึง 7–1 โดยพวกเขาใช้เวลาเพียง 30 นาทีแรกในการทำ 5 ประตู และถือเป็นความพ่ายแพ้ที่ยับเยินที่สุดของบราซิลในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย[57] และเป็นการแพ้ที่ยับเยินที่สุดในทุกรายการนับตั้งแต่ปี 1920[58] เยอรมนีสร้างสถิติใหม่หลายรายการ ได้แก่: เป็นทีมแรกที่ยิงได้ 7 ประตูในการแข่งขันรอบแพ้คัดออกในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย, เป็นทีมที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการยิง 5 ประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (และใช้เวลาเพียง 400 วินาที ในการทำ 4 ประตูแรก), เป็นทีมแรกที่ยิง 5 ประตูในครึ่งเวลาแรกในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย และเป็นทีมที่ทำประตูรวมในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายมากที่สุดนับตั้งแต่จัดการแข่งขันครั้งแรกในปี 1930 (223 ประตู) นอกจากนี้ มีโรสลัฟ โคลเซอ ยังเป็นผู้เล่นที่ทำประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้มากที่สุดตลอดกาล (16 ประตู)[59] การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2014 ณ กรุงรีโอเดจาเนโร โดยเยอรมนีเอาชนะอาร์เจนตินาคู่แข่งสำคัญที่นำโดย ลิโอเนล เมสซิไปได้ 1–0[60] จากประตูชัยของ มารีโอ เกิทเซอ ในช่วงต่อเวลา ซึ่งถือเป็นการชนะอาร์เจนตินาในฟุตบอลโลก 4 ครั้งติดต่อกัน[61] พร้อมทำสถิติเป็นทีมจากยุโรปเพียงชาติเดียวที่คว้าแชมป์โลกที่ทวีปอเมริกาใต้[62]
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 และคอนเฟเดอเรชัน คัพ 2017
[แก้]ภายหลังจากคว้าแชมป์โลก ทีมเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งโดยผู้เล่นหลายคนได้อำลาทีมชาติ เช่น ฟิลลิพ ลาห์ม, มีโรสลัฟ โคลเซอ และแพร์ แมร์เทิสอัคเคอร์ ก่อนเข้าสู่การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 เยอรมนีทำผลงานในรอบคัดเลือกช่วงแรกได้ไม่ดีนักพวกเขาขนะสกอตแลนด์ด้วยผลประตู 2–1 แต่ในนัดต่อมาพวกเขาแพ้โปแลนด์ 0–2 ซึ่งเป็นการแพ้โปแลนด์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และเสมอไอร์แลนด์ 1–1 ตามมาด้วยการชนะยิบรอลตาร์ 4–0 พวกเขาลงแข่งขันนัดสุดท้ายของปีด้วยการชนะสเปน 1–0 ในเกมกระชับมิตร พวกเขาทำผลงานได้ดีขึ้นใน ค.ศ. 2015 ด้วยการบุกไปชนะจอร์เจีย 2–0 และชนะยิบรอลตาร์อย่างขาดลอย 7–0 และกลับมาเปิดบ้านชนะโปแลนด์ 3–1 ตามด้วยการบุกไปชนะสกอตแลนด์ 3–2 และแม้จะบุกไปแพ้ไอร์แลนด์ แต่พวกเขายังผ่านเข้ารอบสุดท้ายในฐานะทีมอันดับหนึ่งจากการชนะจอร์เจียในวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2015 เยอรมนีมีกำหนดแข่งขันเกมกระชับมิตรกับฝรั้่งเศสในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 ท่ามกลางเหตุโจมตีในปารีสซึ่งเกิดขึ้นบริเวณใกล้เคียงสนามสตาดเดอฟร็องส์ การแข่งขันจบลงด้วยชัยชนะของฝรั่งเศส 2–0 และเยอรมนีต้องยกเลิกการแข่งขันในนัดต่อมาที่พบกับเนเธอร์แลนด์ ณ เมืองฮันโนเฟอร์ เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย โดยฝ่ายจัดการแข่งขันได้รับโทรศัพท์ข่มขู่ก่อนเริ่มเกม
เยอรมนีเริ่มต้นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ด้วยการชนะยูเครน 2–0 ตามด้วยการเสมอโปแลนด์ 0–0 และเอาชนะไอร์แลนด์เหนือ 1–0 ตามด้วยการชนะสโลวาเกียในรอบ 16 ทีมสุดท้าย 3–0 รวมทั้งชนะอิตาลีได้ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายด้วยการดวลจุดโทษ 6–5 หลังจากเสมอกันในช่วงต่อเวลา 1–1 นี่ถือเป็นครั้งแรกที่เยอรมนีเอาชนะอิตาลีในการแข่งขันระดับเมเจอร์[63] แต่พวกเขาต้องตกรอบรองชนะเลิศโดยแพ้ฝรั่งเศสเจ้าภาพไป 0–2 และถือเป็นการแพ้ฝรั่งเศสในการแข่งขันรายการใหญ่เป็นครั้งแรกในรอบ 58 ปี[64] เยอรมนีกลับมาประสบความสำเร็จในรายการใหญ่อีกครั้งโดยคว้าแชมป์ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 ณ เมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย เอาชนะชิลีในรอบชิงชนะเลิศ 1–0 ด้วยประตูจาก ลาร์ส สตินเดิล คว้าแชมป์เป็นสมัยแรก[65]
ฟุตบอลโลก 2018, ยูฟ่าเนชันส์ลีก และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020
[แก้]แม้ว่าจะทำผลงานได้ยอดเยี่ยมในการแข่งขันรอบคัดเลือก และชนะเลิศคอนเฟเดอเรชันคัพในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ถือเป็นความล้มเหลวอย่างแท้จริงโดยพวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่ม ในนัดแรกของกลุ่มเอฟ พวกเขาแพ้เม็กซิโก 0–1 ซึ่งถือเป็นการแพ้ในนัดแรกของรอบแบ่งกลุ่มเป็นครั้งแรกตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1982[66] ในนัดต่อมาพวกเขาเอาชนะสวีเดนได้ 2–1 จากประตูในช่วงท้ายเกมของโทนี โครส แต่แพ้ให้กับเกาหลีใต้ในนัดสุดท้าย 0–2 และถือเป็นการตกรอบที่เร็วที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายของพวกเขานับตั้งแต่ปี 1938 และเป็นการตกรอบแบ่งกลุ่มครั้งแรกนับตั้งแต่การแข่งขันปรับรูปแบบมาใช้ระบบใหม่ในการเล่นรอบแบ่งกลุ่มในปี 1950[67] เยอรมนียังเป็นแชมป์เก่าทีมที่ห้าที่ตกรอบแรกในฟุตบอลโลกครั้งถัดมา ต่อจาก บราซิลในฟุตบอลโลก 1966, ฝรั่งเศสในฟุตบอลโลก 2002, อิตาลีในฟุตบอลโลก 2010 และ สเปนในฟุตบอลโลก 2014[68][69]
หลังจากนั้น เยอรมนียังคงมีผลงานย่ำแย่ในยูฟ่าเนชันส์ลีก ซึ่งพวกเขาอยู่ในลีกเอร่วมกับกับฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ โดยในนัดแรกพวกเขาเสมอฝรั่งเศส 0–0 ตามด้วยแพ้เนเธอร์แลนด์ 0–3[70] และพ่ายแพ้ต่อเนื่องให้กับฝรั่งเศส 1–2 ส่งผลให้เยอรมนีต้องแพ้เป็นนัดที่ 4 จากการแข่งขันรายการใหญ่ 6 นัดหลังสุด[71] ส่งผลให้พวกเขาไม่สามารถผ่านเข้าสู่ยูฟ่าเนชันส์ลีก 2019 รอบสุดท้าย ต่อมา ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้ประกาศว่า โยอาคิม เลิฟ จะยุติบทบาทภายหลังจบฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 และ ฮันส์-ดีเทอร์ ฟลิค จะเข้ามารับตำแหน่งต่อ[72] เยอรมนีลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 ในเดือนมิถุนายน โดยอยู่ในกลุ่มเอฟร่วมกับโปรตุเกส, ฝรั่งเศส และฮังการี และผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้อังกฤษ 0–2 และเป็นการยุติบทบาทผู้จัดการทีม 15 ปีของเลิฟ[73][74]
2021–ปัจจุบัน: ยุคใหม่
[แก้]ฮันส์-ดีเทอร์ ฟลิค เข้ารับตำแหน่งหลังจบยูโร 2020 และพาทีมทำผลงานยอดเยี่ยมในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โดยชนะรวด 5 นัดในการพบกับ ลิกเตนสไตน์, อาร์มีเนีย, ไอซ์แลนด์, โรมาเนีย และ นอร์ทมาซิโดเนีย โดยในวันที่ 11 ตุลาคม เยอรมนีเป็นชาติแรกที่ผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ หลังจากบุกไปชนะ นอร์ทมาซิโดเนีย 4–0 ต่อมา ในวันที่ 12 พฤศจิกายน หลังจากชนะลิกเตนสไตน์ 9–0 ฟลิคเป็นผู้จัดการทีมชาติเยอรมนีคนแรกที่พาทีมชนะรวด 6 นัดแรกในการคุมทีม[75] ในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย เยอรมนีอยู่ร่วมกลุ่มกับสเปน ญี่ปุ่น และคอสตาริกา และพวกเขาทำผลงานน่าผิดหวังอีกครั้งโดยตกรอบแบ่งกลุ่มจากการมี 4 คะแนน และยังตกรอบแบ่งกลุ่มยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2022–23[76]
จากผลงานอันย่ำแย่ ส่งผลให้ฟลิคถูกปลดในเดือนกันยายน ค.ศ. 2023 และถูกแทนที่โดยยูลีอาน นาเกิลส์มัน[77] เขาพาทีมทำผลงานได้ไม่ดีนักในช่วงแรก โดยชนะได้เพียงหนึ่งนัดจากสี่นัด แต่เมื่อเข้าสู่ ค.ศ. 2024 ทีมมีผลงานที่ดีขึ้น เริ่มจากการชนะฝรั่งเศส (2–0) และ เนเธอร์แลนด์ (2–1) ในการแข่งขันกระชับมิตร โดยในเกมที่พบกับฝรั่งเศส โฟลรีอาน เวียทซ์ ทำสถิติเป็นผู้เล่นที่ทำประตูได้เร็วที่สุดหลังเริ่มการแข่งขันให้แก่ทีมชาติเยอรมนี โดยใช้เวลาเพียงแค่ 7 วินาที ต่อมา เยอรมนีลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 ในฐานะเจ้าภาพ ผ่านรอบแบ่งกลุ่มด้วยการเป็นอันดับหนึ่งจากการชนะสกอตแลนด์ 5–1, ชนะฮังการี 2–0 และเสมอสวิตเซอร์แลนด์ ตามด้วยการเอาชนะเดนมาร์กในรอบ 16 ทีมสุดท้าย 2–0 แต่พวกเขาตกรอบก่อนรองชนะเลิศจากการแพ้สเปนด้วยผลประตู 1–2 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ โดยเยอรมนียังไม่สามารถเอาชนะสเปนในการแข่งขันทางการได้เลย นับตั้งแต่มีการรวมประเทศเยอรมนี[78]
เยอรมนีลงแข่งขันยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2024–25 ในครั้งนี้อยู่ในกลุ่ม 3 ของลีกเอ ร่วมกับฮังการี, เนเธอร์แลนด์ และบอสเนีย พวกเขาผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศหลังจากแข่งขันไปเพียง 4 นัด จากผลงานชนะ 3 นัด และ เสมอ 1 นัด
ภาพลักษณ์ทีม
[แก้]ชุดแข่งและสัญลักษณ์
[แก้]ผู้ผลิตชุดแข่ง
[แก้]ผู้ผลิตชุดแข่ง | ช่วงปี | หมายเหตุ |
---|---|---|
Leuzela | ไม่ทราบปี–1954 | เยอรมนีสวมชุดแข่งของ Leuzela ในฟุตบอลโลก 1954[79] |
อาดิดาส | 1954–ปัจจุบัน | ในทศวรรษ 1970 เยอรมนีสวมชุดแข่งของ Erima (แบรนด์ของเยอรมนีซึ่งเดิมเป็นบริษัทลูกของอาดิดาส[80][81] |
ข้อตกลงชุดแข่ง
[แก้]ผู้ผลิตชุด | ช่วงปี | สัญญา | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|
วันที่ประกาศ | ระยะเวลา | |||
อาดิดาส | 1954–ปัจจุบัน | 20 มิถุนายน 2016 | 2019–2022 (4 ปี)[82] | 50 ล้านยูโรต่อปี (56.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งหมด: 250 ล้านยูโร (283.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[83][84] |
10 กันยายน 2018 | 2023–2026 (4 ปี) | ไม่เปิดเผย[85] |
ชุดแข่งในแต่ละปี
[แก้]ชุดเหย้า[86]
1908
|
ฟุตบอลโลก
1934 |
ฟุตบอลโลก
1938 [87] |
ฟุตบอลโลก
1954 |
ฟุตบอลโลก
1962 |
ฟุตบอลโลก
1966 |
ฟุตบอลโลก
1970 |
ฟุตบอลโลก
1974 |
ฟุตบอลโลก
1978 |
ยูโร 1980
|
ฟุตบอลโลก 1982
|
ยูโร
1984 |
ฟุตบอลโลก
1986 |
ยูโร 1988 และ ฟุตบอลโลก 1990
|
ยูโร
1992 |
ฟุตบอลโลก
1994 |
ยูโร
1996 |
ฟุตบอลโลก
1998 |
ยูโร
2000 |
ฟุตบอลโลก
2002 |
ยูโร
2004 |
ฟุตบอลโลก
2006 |
ยูโร
2008 |
ฟุตบอลโลก
2010 |
ยูโร
2012 |
ฟุตบอลโลก
2014 |
ยูโร
2016 |
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
2017 |
ฟุตบอลโลก
2018 |
ชุดเยือน[86]
ฟุตบอลโลก
1954 – 1958 |
ฟุตบอลโลก
1966 – 1970 |
ฟุตบอลโลก
1974 – 1978 |
ยูโร 1980 – ฟุตบอลโลก 1982
|
ยูโร 1984
|
ฟุตบอลโลก 1986
|
ยูโร 1988 – ฟุตบอลโลก 1990
|
ยูโร
1992 |
ฟุตบอลโลก
1994 |
ยูโร
1996 |
ฟุตบอลโลก
1998 |
ยูโร
2000 |
ฟุตบอลโลก
2002 |
ยูโร
2004 |
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
2005 |
ฟุตบอลโลก
2006 |
ยูโร
2008 |
ฟุตบอลโลก
2010 |
ยูโร
2012 |
ฟุตบอลโลก
2014 |
ยูโร
2016 |
ฟุตบอลโลก
2018 |
สนามแข่ง
[แก้]ทีมชาติเยอรมนีใช้สนามแข่งขันในหลายเมืองทั่วประเทศซึ่งเปลี่ยนแปลงตามรายการแข่งขัน, สภาพอากาศ, คู่แข่ง และปัจจัยอื่น ๆ ที่ผ่านมาเยอรมนีใช้สนามแข่งขันจากเมืองต่าง ๆ รวม 43 เมืองด้วยกันรวมถึงสนามกีฬาในกรุงเวียนนา, ประเทศออสเตรีย ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีในอดีตจำนวน 3 นัด ในช่วงระหว่างปี 1938-42
เยอรมนีมักจะใช้สนามกีฬาของกรุงเบอร์ลินเป็นสนามเหย้าหลัก (42 นัด) ซึ่งเป็นสนามนัดเหย้านัดแรกของเยอรมนีในปี 1908 ซึ่งพบกับทีมชาติอังกฤษ สนามในเมืองอื่นๆ ที่ทีมชาติเยอรมนีใช้ในฐานะเจ้าบ้าน ได้แก่ ฮัมบวร์ค (34 นัด), ชตุทท์การ์ท (32 นัด), ฮันโนเฟอร์ (28 นัด) และดอร์ทมุนด์ ส่วนสนามแข่งขันที่โดดเด่นอีกแห่งอยู่ที่มิวนิก ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขันนัดสำคัญหลายรายการรวมถึงรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1974 ซึ่งเยอรมนีตะวันตกเอาชนะทีมชาติเนเธอร์แลนด์ไปได้[88][89]
สถิติต่าง ๆ
[แก้]- 1930–1938 ในชื่อ → → เยอรมนี
- 1950–1990 ในชื่อ เยอรมนีตะวันตก
- 1994–ปัจจุบัน ในชื่อ เยอรมนี
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม อันดับที่สี่
สถิติในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย | สถิติในรอบคัดเลือก | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | อันดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ* | แพ้ | ได้ | เสีย | ผู้เล่น | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ||
1930 | ไม่เข้าร่วม | ไม่เข้าร่วม | — | ||||||||||||||
1934 | อันดับที่ 3 | 3 | 4 | 3 | 0 | 1 | 11 | 8 | ผู้เล่น | 1 | 1 | 0 | 0 | 9 | 1 | 1934 | |
1938 | รอบแรก | 10 | 2 | 0 | 1 | 1 | 3 | 5 | ผู้เล่น | 3 | 3 | 0 | 0 | 11 | 1 | 1938 | |
1950 | ถูกสั่งห้ามแข่งขัน | 1950 | |||||||||||||||
1954 | ชนะเลิศ | 1 | 6 | 5 | 0 | 1 | 25 | 14 | ผู้เล่น | 4 | 3 | 1 | 0 | 12 | 3 | 1954 | |
1958 | อันดับที่ 4 | 4 | 6 | 2 | 2 | 2 | 12 | 14 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์เก่า | 1958 | ||||||
1962 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 7 | 4 | 2 | 1 | 1 | 4 | 2 | ผู้เล่น | 4 | 4 | 0 | 0 | 11 | 5 | 1962 | |
1966 | รองชนะเลิศ | 2 | 6 | 4 | 1 | 1 | 15 | 6 | ผู้เล่น | 4 | 3 | 1 | 0 | 14 | 2 | 1966 | |
1970 | อันดับที่ 3 | 3 | 6 | 5 | 0 | 1 | 17 | 10 | ผู้เล่น | 6 | 5 | 1 | 0 | 20 | 3 | 1970 | |
1974 | ชนะเลิศ | 1 | 7 | 6 | 0 | 1 | 13 | 4 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบในฐานะเจ้าภาพ | 1974 | ||||||
1978 | รอบแบ่งกลุ่มที่สอง | 6 | 6 | 1 | 4 | 1 | 10 | 5 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์เก่า | 1978 | ||||||
1982 | รองชนะเลิศ | 2 | 7 | 3 | 2 | 2 | 12 | 10 | ผู้เล่น | 8 | 8 | 0 | 0 | 33 | 3 | 1982 | |
1986 | รองชนะเลิศ | 2 | 7 | 3 | 2 | 2 | 8 | 7 | ผู้เล่น | 8 | 5 | 2 | 1 | 22 | 9 | 1986 | |
1990 | ชนะเลิศ | 1 | 7 | 5 | 2 | 0 | 15 | 5 | ผู้เล่น | 6 | 3 | 3 | 0 | 13 | 3 | 1990 | |
1994 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 5 | 5 | 3 | 1 | 1 | 9 | 7 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์เก่า | 1994 | ||||||
1998 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 7 | 5 | 3 | 1 | 1 | 8 | 6 | ผู้เล่น | 10 | 6 | 4 | 0 | 23 | 9 | 1998 | |
2002 | รองชนะเลิศ | 2 | 7 | 5 | 1 | 1 | 14 | 3 | ผู้เล่น | 10 | 6 | 3 | 1 | 19 | 12 | 2002 | |
2006 | อันดับที่ 3 | 3 | 7 | 5 | 1 | 1 | 14 | 6 | ผู้เล่น | ผ่านเข้ารอบในฐานะเจ้าภาพ | 2006 | ||||||
2010 | อันดับที่ 3 | 3 | 7 | 5 | 0 | 2 | 16 | 5 | ผู้เล่น | 10 | 8 | 2 | 0 | 26 | 5 | 2010 | |
2014 | ชนะเลิศ | 1 | 7 | 6 | 1 | 0 | 18 | 4 | ผู้เล่น | 10 | 9 | 1 | 0 | 36 | 10 | 2014 | |
2018 | รอบแบ่งกลุ่ม | 22 | 3 | 1 | 0 | 2 | 2 | 4 | ผู้เล่น | 10 | 10 | 0 | 0 | 43 | 4 | 2018 | |
2022 | 17 | 3 | 1 | 1 | 1 | 6 | 5 | ผู้เล่น | 10 | 9 | 0 | 1 | 36 | 4 | 2022 | ||
2026 | ยังไม่กำหนดแข่งขัน | ยังไม่กำหนดแข่งขัน | 2026 | ||||||||||||||
2030 | ยังไม่กำหนดแข่งขัน | ยังไม่กำหนดแข่งขัน | 2030 | ||||||||||||||
2034 | ยังไม่กำหนดแข่งขัน | ยังไม่กำหนดแข่งขัน | 2034 | ||||||||||||||
ทั้งหมด | 20/22 | 4 สมัย | 112 | 68 | 21* | 23 | 232 | 130 | 104 | 83 | 18 | 3 | 328 | 74 | ทั้งหมด |
- * นัดที่เสมอ รวมนัดแพ้คัดออกที่ตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ
- ** กรอบสีแดง หมายถึง การแข่งขันที่ชาตินี้เป็นเจ้าภาพ
นอกจากนี้แล้วทีมชาติเยอรมนี ถือเป็นทีมแรกจากทวีปยุโรปที่สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในทวีปอเมริกาใต้ได้ (ฟุตบอลโลก 2014 ณ ประเทศบราซิล)[90]และยังเป็นทีมที่เข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกมากที่สุดจำนวน 8 ครั้ง[91]
สถิติคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
[แก้]การแข่งขันคอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | อันดับ | จำนวนนัดรวม | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ประตูที่ได้ | ประตูที่เสีย | Squad |
1992 | ไม่เข้าร่วม[92] | ||||||||
1995 | ไม่เข้าร่วม | ||||||||
1997 | ไม่เข้าร่วม[93] | ||||||||
1999 | รอบแบ่งกลุ่ม | 5th | 3 | 1 | 0 | 2 | 2 | 6 | Squad |
2001 | ไม่เข้าร่วม | ||||||||
2003 | ไม่เข้าร่วม[94] | ||||||||
2005 | อันดับสาม | 3rd | 5 | 3 | 1 | 1 | 15 | 11 | Squad |
2009 | ไม่เข้าร่วม | ||||||||
2013 | |||||||||
2017 | ชนะเลิศ | 1st | 5 | 4 | 1 | 0 | 12 | 5 | Squad |
รวม | ชนะเลิศ 1 สมัย | 3/10 | 13 | 8 | 2 | 3 | 29 | 22 | - |
สถิติฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
[แก้]ปี | รอบ | จำนวนนัดรวม | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ประตูที่ได้ | ประตูที่เสีย | Squad |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1960 | ไม่เข้าร่วม | - | - | - | - | - | - | - |
1964 | ไม่เข้าร่วม | - | - | - | - | - | - | - |
1968 | ไม่ผ่านรอบคัดเลือก | - | - | - | - | - | - | - |
1972 | ชนะเลิศ | 2 | 2 | 0 | 0 | 5 | 1 | Squad |
1976 | รองชนะเลิศ | 2 | 1 | 1 | 0 | 6 | 4 | Squad |
1980 | ชนะเลิศ | 4 | 3 | 1 | 0 | 6 | 3 | Squad |
1984 | รอบแรก | 3 | 1 | 1 | 1 | 2 | 2 | Squad |
1988 | รอบรองชนะเลิศ | 4 | 2 | 1 | 1 | 6 | 3 | Squad |
1992 | รองชนะเลิศ | 5 | 2 | 1 | 2 | 7 | 8 | Squad |
1996 | ชนะเลิศ | 6 | 4 | 2 | 0 | 10 | 3 | Squad |
2000 | รอบแรก | 3 | 0 | 1 | 2 | 1 | 5 | Squad |
2004 | รอบแรก | 3 | 0 | 2 | 1 | 2 | 3 | Squad |
2008 | รองชนะเลิศ | 6 | 4 | 0 | 2 | 10 | 7 | Squad |
2012 | รอบรองชนะเลิศ | 5 | 4 | 0 | 1 | 10 | 6 | - |
2016 | รอบรองชนะเลิศ | 6 | 3 | 2 | 1 | 7 | 3 | - |
2020 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | 4 | 1 | 1 | 2 | 6 | 7 | - |
2024 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 5 | 3 | 1 | 1 | 11 | 4 | - |
รวม | 14/17 | 58 | 30 | 14 | 14 | 89 | 59 |
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]รายชื่อผู้เล่นที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024[95]
- จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 7 มิถุนายน 2024 หลังแข่งขันกับ กรีซ[96]
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | มานูเอ็ล น็อยเออร์ | 27 มีนาคม ค.ศ. 1986 (อายุ 38 ปี) | 119 | 0 | ไบเอิร์นมิวนิก |
2 | DF | อันโทนีโอ รือดีเกอร์ | 3 มีนาคม ค.ศ. 1993 (อายุ 31 ปี) | 69 | 3 | เรอัลมาดริด |
3 | DF | ดาวิท เราม์ | 22 เมษายน ค.ศ. 1998 (อายุ 26 ปี) | 21 | 0 | แอร์เบ ไลพ์ซิช |
4 | DF | โยนาทัน ทา | 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 (อายุ 28 ปี) | 25 | 0 | ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน |
5 | MF | พัสคัล โกรส | 15 มิถุนายน ค.ศ. 1991 (อายุ 32 ปี) | 7 | 1 | ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน |
6 | DF | โยซูอา คิมมิช | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (อายุ 29 ปี) | 86 | 6 | ไบเอิร์นมิวนิก |
7 | FW | ไค ฮาเวิทซ์ | 11 มิถุนายน ค.ศ. 1999 (อายุ 25 ปี) | 46 | 16 | อาร์เซนอล |
8 | MF | โทนี โครส | 4 มกราคม ค.ศ. 1990 (อายุ 34 ปี) | 109 | 17 | เรอัลมาดริด |
9 | FW | นิคคลัส ฟึลครูค | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (อายุ 31 ปี) | 16 | 11 | โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ |
10 | MF | จามาล มูซีอาลา | 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 (อายุ 21 ปี) | 29 | 2 | ไบเอิร์นมิวนิก |
11 | MF | คริส ฟือริช | 9 มกราคม ค.ศ. 1998 (อายุ 26 ปี) | 4 | 0 | เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท |
12 | GK | อ็อลลีเวอร์ เบามัน | 2 มิถุนายน ค.ศ. 1990 (อายุ 34 ปี) | 0 | 0 | เทเอ็สเก ฮ็อฟเฟินไฮม์ |
13 | FW | โทมัส มึลเลอร์ | 13 กันยายน ค.ศ. 1989 (อายุ 34 ปี) | 129 | 45 | ไบเอิร์นมิวนิก |
14 | FW | มัคซีมีลีอาน ไบเออร์ | 17 ตุลาคม ค.ศ. 2002 (อายุ 21 ปี) | 1 | 0 | เทเอ็สเก ฮ็อฟเฟินไฮม์ |
15 | DF | นีโค ชล็อทเทอร์เบ็ค | 1 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (อายุ 24 ปี) | 12 | 0 | โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ |
16 | DF | วัลเดอมาร์ อันโทน | 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 (อายุ 27 ปี) | 2 | 0 | เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท |
17 | MF | โฟลรีอาน เวียทซ์ | 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 (อายุ 21 ปี) | 18 | 1 | ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน |
18 | DF | มัคซีมีลีอาน มิทเทิลชเต็ท | 18 มีนาคม ค.ศ. 1997 (อายุ 27 ปี) | 4 | 1 | เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท |
19 | MF | ลีร็อย ซาเน | 11 มกราคม ค.ศ. 1996 (อายุ 28 ปี) | 60 | 13 | ไบเอิร์นมิวนิก |
20 | DF | เบ็นยามีน เฮ็นริชส์ | 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 (อายุ 27 ปี) | 15 | 0 | แอร์เบ ไลพ์ซิช |
21 | MF | อิลไค กึนโดอัน (กัปตัน) | 24 ตุลาคม ค.ศ. 1990 (อายุ 33 ปี) | 77 | 18 | บาร์เซโลนา |
22 | GK | มาร์ค-อันเดร แทร์ สเตเกิน | 30 เมษายน ค.ศ. 1992 (อายุ 32 ปี) | 40 | 0 | บาร์เซโลนา |
23 | MF | โรแบร์ท อันดริช | 22 กันยายน ค.ศ. 1994 (อายุ 29 ปี) | 5 | 0 | ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน |
24 | DF | ร็อบบิน ค็อค | 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 (อายุ 27 ปี) | 9 | 0 | ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท |
25 | MF | แอมแร จัน | 12 มกราคม ค.ศ. 1994 (อายุ 30 ปี) | 43 | 1 | โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ |
26 | FW | เดนิซ อุนดัฟ | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 (อายุ 27 ปี) | 2 | 0 | เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท |
อดีตผู้เล่นคนสำคัญ
[แก้]- เยือร์เกิน คลีนส์มัน
- มิชชาเอล บัลลัค
- โอลิเวอร์ เบียร์ฮอฟฟ์
- อ็อลลีเวอร์ คาห์น
- เคลาส์ ฟีเชอร์
- แกร์ด มุลเลอร์
- แอนสท์ เลเนอร์
- คาร์ล-ไฮนซ์ รุมเมนิกเก
- อูเว เซเลอร์
- ฟริทซ์ วัลเทอร์
- รูดี เฟิลเลอร์
- ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์
- อันเดรอัส เมิลเลอร์
- ฮันซี มุลเลอร์
- เฟลิคส์ มากัท
- ฮอร์ส ฮรูเบชห์
- ฮารัลด์ ชูมัคเกอร์
- โธมัส เฮสเลอร์
- เจอร์เกน โคห์เลอร์
- เคลาส์ อัลลอฟส์
- อันเดรียส เบรห์เม
- มัทธีอัส ซามเมอร์ (!)
- โอลาฟ โธน
- สเตฟาน เอฟเฟนแบร์ก
- เย็นส์ เลมัน
- เซปป์ ไมเออร์
- แบร์ตี โฟ้กส์
- เคลาส์ เอาเกนทาเลอร์
- ยุพ ไฮน์เคิส
- พอล ไบร์ทเนอร์
- อูลีฟ เคิร์สเทน (!)
- โลธ่า มัสเทอุส
- โทมัส มึลเลอร์
- บัสทีอัน ชไวน์ชไตเกอร์
- ลูคัส โพด็อลสกี
- มีโรสลัฟ โคลเซอ
- มารีโอ ก็อมเม็ส
- โทนี โครส
- ซามี เคดีรา
- มาร์โค ร็อยส์
- เมซุท เออซิล
- ฟิลลิพ ลาห์ม
หมายเหตุ:(!)=เคยเล่นให้กับทีมชาติเยอรมนีตะวันออกมาก่อน
สถิติสำคัญของผู้เล่น
[แก้]- ณ วันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2024[97]
- รายชื่อผู้เล่นที่เป็นตัวหนา คือผู้เล่นที่ยังคงเล่นอยู่ในปัจจุบัน
ผู้เล่นที่ลงสนามมากที่สุด
[แก้]อันดับ | ผู้เล่น | จำนวนนัดที่ลงเล่น | จำนวนประตู | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|
1 | โลทาร์ มัทเทอุส | 150 | 23 | 1980–2000 |
2 | มีโรสลัฟ โคลเซอ | 137 | 71 | 2001–2014 |
3 | โทมัส มึลเลอร์ | 131 | 45 | 2010–2024 |
4 | ลูคัส โพด็อลสกี | 130 | 49 | 2004–2017 |
5 | มานูเอ็ล น็อยเออร์ | 124 | 0 | 2009–ปัจจุบัน |
6 | บัสทีอัน ชไวน์ชไตเกอร์ | 121 | 24 | 2004–2016 |
7 | โทนี โครส | 114 | 17 | 2010–2024 |
8 | ฟิลลิพ ลาห์ม | 113 | 5 | 2004–2014 |
9 | เยือร์เกิน คลีนส์มัน | 108 | 47 | 1987–1998 |
10 | เยือร์เกิน โคเลอร์ | 105 | 2 | 1986–1998 |
ผู้ทำประตูสูงสุด
[แก้]อันดับ | ผู้เล่น | จำนวนประตู | จำนวนนัดที่ลงเล่น | ค่าเฉลี่ย | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|---|
1 | มีโรสลัฟ โคลเซอ | 71 | 137 | 0.52 | 2001–2014 |
2 | แกร์ท มึลเลอร์ | 68 | 62 | 1.1 | 1966–1974 |
3 | ลูคัส โพด็อลสกี | 49 | 130 | 0.38 | 2004–2017 |
4 | รูดี เฟิลเลอร์ | 47 | 90 | 0.52 | 1982–1994 |
เยือร์เกิน คลีนส์มัน | 47 | 108 | 0.44 | 1987–1998 | |
6 | คาร์ล-ไฮนซ์ รุมเมนิกเกอ | 45 | 95 | 0.47 | 1976–1986 |
7 | อูเวอ เซเลอร์ | 43 | 72 | 0.6 | 1954–1970 |
8 | มิชชาเอล บัลลัค | 42 | 98 | 0.43 | 1999–2010 |
9 | โทมัส มึลเลอร์ | 39 | 106 | 0.37 | 2010–2024 |
10 | โอลิเวอร์ เบียร์โฮฟฟ์ | 37 | 70 | 0.53 | 1996–2002 |
ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำปี
[แก้]- 2010: บัสทีอัน ชไวน์ชไตเกอร์
- 2011: เมซุท เออซิล
- 2012: เมซุท เออซิล
- 2013: เมซุท เออซิล
- 2014: โทนี โครส[98]
- 2015: เมซุท เออซิล
- 2016: เมซุท เออซิล[99]
- 2017: โยชัว คิมมิช[100]
- 2018: มาร์โค ร็อยส์
- 2019: มัทธีอัส กินเตอร์[101]
- 2020: มานูเอ็ล น็อยเออร์[102]
- 2021: โยชัว คิมมิช
เกียรติประวัติ
[แก้]
แชมป์[แก้] |
รางวัล[แก้]
|
การแข่งขัน | รวม | |||
---|---|---|---|---|
ฟุตบอลโลก | 4 | 4 | 4 | 12 |
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | 3 | 3 | 3 | 9 |
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ | 1 | 0 | 1 | 2 |
เนชันส์ลีก | 0 | 0 | 0 | 0 |
รวมทั้งหมด | 8 | 7 | 8 | 23 |
ประวัติอันดับโลกของทีมชาติเยอรมนี
[แก้]อ้างอิงจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ:[103]
1993 | 1994 | 1995 | 1996 | 1997 | 1998 | 1999 | 2000 | 2001 | 2002 | 2003 | 2004 | 2005 | 2006 | 2007 | 2008 | 2009 | 2010 | 2011 | 2012 | 2013 | 2014 | 2015 | 2016 | 2017 | 2018 | 2019 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 5 | 2 | 2 | 2 | 3 | 5 | 11 | 12 | 4 | 12 | 19 | 17 | 6 | 5 | 2 | 6 | 3 | 3 | 2 | 2 | 1 | 4 | 3 | 1 | 16 | 15 |
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ในเยอรมนีมักเรียกว่า Die Nationalmannschaft (ทีมชาติ), DFB-Elf (เดเอ็ฟเบ สิบเอ็ด), DFB-Auswahl (เดเอ็ฟเบ ผู้ถูกเลือก) หรือ Nationalelf (ชาติที่สิบเอ็ด) ในขณะที่สื่อมวลชนต่างประเทศมักเรียกว่า Die Mannschaft (หมายถึง: ทีม)[1] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 เดเอ็ฟเบได้กำหนดให้ใช้เป็นชื่อเล่นอย่างเป็นทางการ[2]
- ↑ ทางสมาคมฟุตบอลอังกฤษไม่ถือเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ และไม่ปรากฏในบันทึกสถิติของทีมชาติอังกฤษ
- ↑ ในฐานะทีมชาติเยอรมนี, ทีมชาติเยอรมนีตะวันออก, ทีมรวมเยอรมนี และทีมชาติเยอรมนี อายุไม่เกิน 23 ปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The "Mannschaft" :: National Teams :: DFB – Deutscher Fußball-Bund e.V." dfb.de. สืบค้นเมื่อ 12 June 2018.
- ↑ "DFB unveil new 'Die Mannschaft' branding". DFB. สืบค้นเมื่อ 8 June 2015.
- ↑ "ฝนทำพิษ!อินทรีเหล็กเละคารังพ่ายสโลวัก1-3". สยามกีฬา. 30 May 2016. สืบค้นเมื่อ 31 May 2016.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ 5.0 5.1 "Germany: FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2007. สืบค้นเมื่อ 12 September 2013.
- ↑ "All matches of The National Team in 1908". DFB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2012. สืบค้นเมื่อ 1 August 2008.
- ↑ "All matches of The National Team in 1912". DFB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2012. สืบค้นเมื่อ 1 August 2008.
- ↑ "All matches of The National Team in 1909". DFB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2009. สืบค้นเมื่อ 1 August 2008.
- ↑ Editors, History com. "Berlin is divided". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "FIFA.com". web.archive.org. 2007-06-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "FIFA.com - Previous Tournaments". web.archive.org. 2012-01-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "FIFA.com". web.archive.org. 2007-06-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-06. สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "World Football Elo Ratings". www.eloratings.net (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Fodboldens indtog i Danmark - 1889 til 1908". TotalBold.dk (ภาษาเดนมาร์ก). 2008-12-26.
- ↑ "Dänische Nationalmannschaft: Rekorde, Erfolge, Trainer – alle Infos". tz.de (ภาษาเยอรมัน). 2021-05-14.
- ↑ "DFB Deutscher Fußball-Bund e.V. All Games". web.archive.org. 2012-10-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "England Matches - The Amateurs 1906-1939". englandfootballonline.com.
- ↑ "Germany's Worst Ever Defeats - Ranked". 90min.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-11-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-02. สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.
- ↑ Simpson, Kevin E. (2016-09-22). Soccer under the Swastika: Stories of Survival and Resistance during the Holocaust (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. ISBN 978-1-4422-6163-1.
- ↑ "The War Generation - Julius Hirsch". Inside Futbol | Latest Football News, Transfer Rumours & Articles » Football - » Features | Inside Futbol - Online World Football Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2011-04-14.
- ↑ "Remembering the cream of Jewish footballing talent killed in the Holocaust". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-06.
- ↑ "Football Tournament 1912 Olympiad". www.rsssf.com.
- ↑ "Gottfried Fuchs Bio, Stats, and Results | Olympics at Sports-Reference.com". web.archive.org. 2020-04-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-17. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "DFB Deutscher Fußball-Bund e.V. Professor Otto Nerz". web.archive.org. 2012-03-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-16. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Muras, Udo (2007-05-16). "Breslau-Elf: Nur Hitler konnte sie stoppen". DIE WELT. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ Welle (www.dw.com), Deutsche. "World Cup Final, 1954: Hungary vs. West Germany | DW | 01.04.2010". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ King, Dominic (2016-01-04). "Geoff Hurst's goal against West Germany DID cross the line". Mail Online.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Germans still disputing England 1966 World Cup final goal". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26.
- ↑ "That 1966 goal: do we finally have proof that it crossed the line?". World Soccer. 2016-01-05.
- ↑ "Geoff Hurst's crucial second goal in the World Cup final comes under the MNF microscope". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "FIFA Men's World Cup History: World Cup Winners, Hosts, Stats". www.foxsports.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "World Cup stunning moments: Gordon Banks is stricken". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2018-05-25.
- ↑ Welle (www.dw.com), Deutsche. "World Cup Semi-Final, 1970: Italy vs. West Germany | DW | 01.04.2010". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ Welle (www.dw.com), Deutsche. "World Cup Final, 1974: West Germany vs. The Netherlands | DW | 01.04.2010". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ UEFA.com (2003-10-03). "Panenka makes his name as Czechoslovakia beat West Germany in EURO 1976 final shoot-out". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Fennessy, Paul. "Germany's 40-year penalty record continues and more Euro 2016 thoughts". The42 (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Klose sets World Cup goals record". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ "West Germany National Football Team Results 1990". eu-football.info (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Three players who won the World Cup as a player and a manager | Goal.com". www.goal.com.
- ↑ "Franz Beckenbauer | German soccer player". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "West Germany National Football Team Results 1990". eu-football.info (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ UEFA.com (2003-10-06). "Germany beat England on penalties to reach EURO '96 final". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ UEFA.com (2003-10-06). "Bierhoff the hero of Germany's EURO '96 final win against Czech Republic". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Longman, Jere (1998-07-05). "WORLD CUP '98; Croatia Stuns Germany With the Aid Of a Red Card". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ Hughes, Rob; Tribune, International Herald (1998-09-09). "Another Day, Another Coach Gone:Now It's Vogts". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ "BBC SPORT | WORLD CUP | Germany v Brazil | Brazil crowned world champions". news.bbc.co.uk.
- ↑ "Kahn named top keeper" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2002-06-30. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ "Germany 1-2 Czech Rep" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2004-06-23. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ "Voeller quits Germany role" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2004-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ "Last-gasp Italy knock Germany out" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-07-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ "Klose finishes as leading scorer" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ "Germany 3-1 Portugal" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-07-08. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ "Frank Lampard's 'goal' against Germany should have stood – linesman". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2010-07-05.
- ↑ "FIFA World Cup moments: When Frank Lampard's disallowed goal against Germany provided impetus for goalline technology-Sports News , Firstpost". Firstpost. 2018-06-11.
- ↑ "Germany 0-1 Spain | World Cup 2010 semi-final match report". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2010-07-07.
- ↑ UEFA.com (2012-06-22). "Germany overpower Greece in UEFA EURO 2012 quarter-finals". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Staff, Reuters (2014-07-08). "Records in Brazil's 7-1 World Cup loss to Germany". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ "16 incredible stats from Germany's 7-1 rout of Brazil". ESPN.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ https://fcbayern.com/en/news/2020/06/miroslav-klose-profile
- ↑ "Why Mueller is the World Cup superstar Messi only dreams of being | The Rio Report - Yahoo Eurosport UK". web.archive.org. 2014-10-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Germany national football team: record v Argentina". www.11v11.com.
- ↑ Borden, Sam (2014-07-13). "Germans End Long Wait: 24 Years and a Bit Extra". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ UEFA.com. "The official website for European football". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Hayward, Paul (2016-07-07). "Euro 2016: France's 2-0 semi-final victory over Germany strikes poignant note on night of ancient rivalry and modern spirit". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ "Germany win Confederations Cup after Lars Stindl punishes error to deny Chile". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2017-07-02.
- ↑ Staff, Scroll (2018-06-17). "World Cup, Group F, Germany v Mexico as it happened: World Champions stunned by Lozano and Co". Scroll.in (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Germany knocked out of 2018 World Cup". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ "Holders Germany crash out of World Cup after losing 2-0 to South Korea". Sky News (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "World Cup 2018: Germany out of tournament after losing to South Korea". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2024-07-11.
- ↑ "Germany 'broke apart' in loss to Dutch". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
- ↑ "UEFA Nations League: Germany's struggles continue with loss to France". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2018-10-17.
- ↑ "Hansi Flick to replace Joachim Löw as Germany head coach". bundesliga.com - the official Bundesliga website (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ UEFA.com (2021-06-29). "England 2-0 Germany: Sterling and Kane send Three Lions through". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "England end 55-year wait for knockout win over Germany". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
- ↑ https://www.dw.com/en/l%C3%B6w-says-goodbye-as-germany-set-new-record-under-hansi-flick/a-59776461
- ↑ "Germany hit five goals past Italy". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.
- ↑ "Nagelsmann named Germany boss". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.
- ↑ UEFA.com. "Spain 2-1 Germany | UEFA EURO 2024". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Das Geschäft mit den Trikots". merkur.de. 10 August 2018. สืบค้นเมื่อ 23 December 2020.
- ↑ "Deutsche Fußball-Nationalmannschaft 1978–1980". sportmuseum.de. 4 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-02. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
- ↑ "DFB-Trikot 2012". hansanews.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-10. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
- ↑ "Adidas pays up to extend deal with German soccer". The Irish Times.
- ↑ Smith, Matt. "Adidas agrees record new deal with German soccer team". สืบค้นเมื่อ 17 November 2018.
- ↑ "German Team Scores Record Deal with Adidas". 21 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 17 November 2018.
- ↑ "ADIDAS AND DFB EXTEND PARTNERSHIP UNTIL 2026". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-02. สืบค้นเมื่อ 2021-06-27.
- ↑ 86.0 86.1 "Germany Football Shirts – Old Football Kits". oldfootballshirts.com. สืบค้นเมื่อ 25 December 2011.
- ↑ "FIFA ฟุตบอลโลก 1938 – Historical Football Kits". Historicalkits.co.uk. สืบค้นเมื่อ 13 July 2014.
- ↑ "World Cups remembered: West Germany 1974". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Limited, Alamy. "Stock Photo - 1974 World Cup Final, Olympic Stadium, Munich. West Germany 2 v Holland 1. West German team celebrate with trophy. July 1974". Alamy (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "เยอรมนี ชนะ อาร์เจนตินา 1 - 0 คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกสมัยที่ 4". ไทยพีบีเอส. 14 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-03. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
- ↑ "เยอรมันดวลฟ้าขาว ชิงแชมป์ นัดหยุดโลกคืนนี้ จับตา"เมสซี่"ระเบิดฟอร์มเทพ สถิติเจอกันอาร์เจนตินาเหนือกว่า". ข่าวสด. 13 July 2014. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
- ↑ As 1990 FIFA World Cup Champions
- ↑ As UEFA Euro 1996 Champions
- ↑ As 2002 FIFA World Cup Runners-up
- ↑ "Der EM-Kader steht fest" (ภาษาเยอรมัน). German Football Association. 7 June 2024. สืบค้นเมื่อ 7 June 2024.
- ↑ "Team" (ภาษาเยอรมัน). German Football Association. สืบค้นเมื่อ 7 June 2024.
- ↑ Mamrud, Roberto. "(West) Germany - Record International Players". RSSSF.
- ↑ "Arsenal playmaker Mesut Ozil wins Germany player of the year award". The Guardian. 14 January 2016. สืบค้นเมื่อ 17 March 2016.
- ↑ "Mesut Ozil: Arsenal midfielder wins Germany's Player of the Year for fifth time". BBC Sport. 15 January 2017. สืบค้นเมื่อ 17 January 2017.
- ↑ "Joshua Kimmich named Germany's 2017 Player of the Year". Bundesliga. 19 January 2018. สืบค้นเมื่อ 24 January 2018.
- ↑ "Matthias Ginter: The spare part who became the main man for Germany | DW | 10.01.2020". DW.COM.
- ↑ "Neuer ist "Nationalspieler des Jahres 2020"". German Football Association (ภาษาเยอรมัน). 10 January 2021. สืบค้นเมื่อ 14 January 2021.
- ↑ "Member Association - Germany - FIFA.com". www.fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-29. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาเยอรมัน)
- เยอรมนี ที่ยูฟ่า
- เยอรมนี ที่ฟีฟ่า
- ผลการแข่งขัน โดย RSSSF
- ผู้เล่นที่ลงเล่นมากที่สุด โดย RSSSF
- รายงานการแข่งขันอย่างเป็นทางการทั้งหมด โดย อียู-ฟุตบอล