ข้ามไปเนื้อหา

มงคล กิมสูนจันทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มงคล กิมสูนจันทร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 (74 ปี)
พรรคการเมืองประชากรไทย (2529-2541)
ไทยรักไทย (2541-2550)
พลังประชาชน (2550-2551)
คู่สมรสสลวยเลิศ กิมสูนจันทร์
การศึกษาปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา

มงคล กิมสูนจันทร์ (เกิด 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 4 สมัย อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี[1] อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน

ประวัติ

[แก้]

มงคล กิมสูญจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 สำเร็จการศึกษา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมรสกับ สลวยเลิศ กิมสูนจันทร์

งานการเมือง

[แก้]

นายมงคล กิมสูนจันทร์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชากรไทย ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเขต 4 โดยเขาเป็นผู้สมัครจากพรรคประชากรไทยคนเดียวในเขตที่ได้รับเลือกตั้ง[2] ในการเลือกตั้งครั้งถัดมา เขาได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 2 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535, กันยายน พ.ศ. 2535 และใน พ.ศ. 2538 มงคลลงสมัครสังกัดพรรคประชากรไทยเช่นเดิม แต่ไม่ได้รับเลือก[3] ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2539 เขาไม่ได้ลงสมัคร

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2535 มงคลได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคประชากรไทยให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค[4] ต่อมาใน พ.ศ. 2539 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (ยิ่งพันธ์ มนะสิการ)[5] มงคลลาออกจากพรรคประชากรไทยในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2541[6] และเข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครอีก 2 สมัย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ภายหลังพรรคไทยรักไทยถูกยุบใน พ.ศ. 2550 เขาได้เข้าร่วมกับพรรคพลังประชาชน และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับเลือก มงคลถูกถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนซึ่งถูกตัดสินยุบพรรค

มงคลลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 แต่ไม่ได้รับเลือก[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร เก็บถาวร 2014-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  2. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องผลการเลือกตั้ง เก็บถาวร 2023-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
  3. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องผลการเลือกตั้ง เก็บถาวร 2023-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
  4. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคประชากรไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค [จำนวน ๔๒ ราย]
  5. คำสั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ที่ ๖๓/๒๕๓๙ เรื่อง แต่งตั้งเลขานุการและที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์, นายมงคล กิมสูนจันทร์)
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคประชากรไทยเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (รายชื่อผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๑)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย [ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖]