มณฑลทราย
มณฑลทราย (ทิเบต: དཀྱིལ་འཁོར།, ไวลี: dkyil 'khor, THL kyinkhor; จีน: 沙壇城/壇城沙畫; Sand mandala) เป็นธรรมเนียมในศาสนาพุทธแบบทิเบตที่ประกอบด้วยการสร้างและสลายมณฑลที่ทำจากทรายสี เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะประกอบพิธีกรรมทำลายทิ้งซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนธรรมชาติของความไม่เที่ยงแท้ของโลกทางวัตถุ[1]
พิธีกรรมการสลายมณฑลทรายเป็นพิธีกรรมที่มีความเป็นสัญลักษณ์และลำดับขั้น[2] รูปหรือตัวอักษรจะถูกนำออกเป็นลำดับเฉพาะ[3] เช่นเดียวกับโครงร่างรูปเรขาคณิตที่เหลือ จนมณฑลสุดท้ายถูกสลาย ทรายที่ได้กลับคืนมาจะนำไปห่อในผ้าก่อนนำไปปล่อยกลับสู่ธรรมชาติในแม่น้ำหรือธารน้ำไหล นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ถึงความไม่จีรังแล้ว การปล่อยทรายลงแม่น้ำยังเป็นความเชื่อว่าจะช่วยส่งต่อพลังงานแห่งการฟื้นฟูรักษาของมณฑลไปตามสายน้ำด้วย
มณฑลรูปที่สร้างโดยใช้มณฑลทราย เช่น กาลจักรมณฑล ซึ่งประกอบด้วยเทพเจ้า 722 พระองค์ในรูปเรขาคณิตที่ซับซ้อน มณฑลขนาดเล็กลงมา เช่น วัชไภรวมณฑล ยังคงใช้เวลาทำหลายวัน มณฑลทรายทำขึ้นเช่นเดียวกับนวคิดมณฑล กล่าวคือเป็นภาพแทนสองมิติของโลกสามมิติ ในอดีต พระสงฆ์จะใช้หินสีต่าง ๆ บดละเอียดในการทำมณฑล แต่ในปัจจุบันการใช้ทรายย้อมสีเป็นที่นิยมโดยทั่วไป โดยทรายที่นำมาใช้จะเป็นทรายชนิดที่มีความหนาแน่นเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลิดปลิว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cozort, Daniel (1995). The Sand Mandala of Vajrabhairava. New York: Snow Lion Publications. ISBN 978-1559390569.
- ↑ Saijal (2022-07-29). "Mandala art therapy". Art with lifestyle (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-03-06.
- ↑ Bryant, Barry; Yignyen, Tenzin; Samten, Lobsang; Chogyen, Pema Lobsang; Gyaltsen, Dhondup Lobsang; Lhundup, Jamphel; Migyur, Tenzin; Legdan, Tenzin; Gyaltsen, Lobsang; Kirti Tsenshab; Moldow, Deborah; Durgin, Gregory (2003) [1992]. "X et. seq.". Wheel of Time, The: Visual Scripture of Tibetan Buddhism (2nd ed.). Ithaca, NY: Snow Lion Publications. ISBN 1559391871.