ยาขับปัสสาวะ
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
การจัดกลุ่มยาขับปัสสาวะและกลไกการออกฤทธิ์ของมัน | |
ชื่อยา | กลไกการออกฤทธิ์ |
ยาขับปัสสาวะประเภทรักษาโพแทสเซียม (เช่น,สไปโนโรแลคโตน,อะมิโลไรด์,ไตรแอมเตอรีน) | ยับยั้งการแลกเปลี่ยน Na+-K+ ในคอลเล็กติ้งดักท์: สไปโนโรแลคโตนยับยั้งการทำงานของ แอลโดสเตอร์โรน; อะมิโลไรด์ยับยั้งENaC (epithelial sodium channel) |
น้ำ | ยับยั้งการหลั่งวาโสเพรสซิน (vasopressin) |
เอตทานอล | ยับยั้งการหลั่งวาโสเพรสซิน (vasopressin) |
V2 วาโสเพรสซิน รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ | ยับยั้งการออกฤทธิ์ของ วาโสเพรสซิน ต่อเนพฟรอน (nephron) ในคอลเล็กติ้งดักท์ |
แซนทีน (เช่น,คาแฟอีน,ทีโอไฟลีน) | ยับยั้งการดูดซึม Na+, เพิ่มอัตราการกรอง กลอมูลาร์ (glomular filtration rate) |
แอซิดิไฟอิง เกลือ (เช่น, CaCl2, NH4Cl) | |
คาร์บอนิก แอนไฮเดรส อินฮิบิเตอร์ (carbonic anhydrase inhibitors) (เช่น,อะเซตาโซลาไมด์ (acetazolamide) ,ดอร์โซลาไมด์ (dorzolamide)) | ยับยั้ง H+ ส่งเสริมการหรั่ง Na+ และการขับ K+ |
รูพิ ไดยูริติก (เช่น,ฟูโรซีไมด์,บูมีทาไนด์,อีทาไครนิก แอซิด) | ยับยั้ง การขนส่งร่วมเฮนรี ลูพ |
ไทอะไซด์ (เช่น,ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์,เบนโดรฟลูเมตไทอะไซด์) | ยับยั้ง Na+/Cl- การดูดกลับจากดิสทัล คอนโวลูต ทิวบูล ของเนพฟรอน (nephron) |
ออสโมติกไดยูริติก (e.g.,mannitol,glucose) | ส่งเสริม ออสโมติก ไดยูริสิส |
ยาขับปัสสาวะ (อังกฤษ: diuretic) เป็นยาที่เพิ่มอัตราการถ่ายปัสสาวะออกจากร่างกาย (ไดยูรีสิส) ยาขับปัสสาวะมีผลลดปริมาตรของเหลวนอกเซลล์ (extracellular fluid-ECF) ยาขับปัสสาวะธรรมดาทั่วไปได้แก่คาเฟอีน น้ำเครนเบอรรี่ และแอลกอฮอล์
ในทางการแพทย์ ยาขับปัสสาวะใช้รักษา
- หัวใจล้มเหลว (heart failure)
- โรคตับแข็ง (liver cirrhosis)
- ความดันโลหิตสูง (hypertension)
- โรคไต (kidney disease)
ยาขับปัสสาวะสามารถบรรเทาโรคดังกล่าวได้เพราะมันทำให้ร่างกายขับโซเดียมและน้ำ ไปพร้อมกับปัสสาวะ ยิ่งมีปัสสาวะมากเท่าไรน้ำและโซเดียม ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการบวมน้ำ (edema) ก็จะลดลง และอาการบวมน้ำก็ลดลง ยาขับปัสสาวะบางตัวเช่นอะเซตาโซลาไมด์ ทำให้ปัสสาวะเป็นด่างซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มการขับถ่ายยาแอสไพรินในกรณีการใช้ยาเกินขนาด