ข้ามไปเนื้อหา

รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รางวัลพระสุรัสวดี)
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี
ปัจจุบัน: รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 31 ประจำปี พ.ศ. 2560
รางวัลสำหรับผู้สร้างสรรค์ผลงานด้านวิทยุโทรทัศน์
ประเทศ ไทย
จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย
รางวัลแรก3 สิงหาคม พ.ศ. 2500 (67 ปี)
ตัวอย่างผู้ชนะรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดีล่าสุด
← 2557 2560
สาขา ตุ๊กตาทองเกียรติยศ ศิลปินแห่งชาติปูชณียบุคคลของวงการภาพยนตร์ไทย ตุ๊กตาทองเกียรติยศ บุคคลเกียรติยศผู้สร้างสรรค์งานในวงการภาพยนตร์ไทย
ผู้ชนะเลิศ ฉลอง ภักดีวิจิตร และ มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา สมบัติ เมทะนี และ ดวงดาว จารุจินดา
 
สาขา ตุ๊กตาทองเกียรติยศ บุคคลในวงการภาพยนตร์ไทยผู้อุทิศตนเพื่อสังคมดีเด่น ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ผู้ชนะเลิศ กรุง ศรีวิไล และ เขมนิจ จามิกรณ์ นัฐวุฒิ พูนพิริยะ
(ฉลาดเกมส์โกง)
 
สาขา นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
ผู้ชนะเลิศ ชานน สันตินธรกุล
(ฉลาดเกมส์โกง)
ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง
(ฉลาดเกมส์โกง)

รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี หรือ รางวัลตุ๊กตาทอง เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคคลในวงการผลิตภาพยนตร์ไทย ที่มีผลงานดีเด่นที่สุดในสาขาต่าง ๆ ในแต่ละปี โดยหอการค้ากรุงเทพ จัดพิธีมอบรางวัลนี้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2500 และผลัดเปลี่ยนผู้จัดทุกปีจนถึง พ.ศ. 2508 หลังจากนั้นได้งดไปหลายปี

สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยได้จัดงานประกาศผลรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดีอีกครั้ง ตั้งแต่ครั้งที่ 9 (นับเป็นครั้งที่หนึ่งใหม่) ประจำปี พ.ศ. 2516-17 เป็นต้นมา และจัดเป็นประจำทุกปี หรือ ปีเว้นปี จนถึงครั้งที่ 36 (นับใหม่เป็นครั้งที่ 28) ในปี พ.ศ. 2549 จากนั้นได้เว้นช่วงไปประมาณ 7 ปี แล้วกลับมาจัดใหม่สำหรับผลงานปี พ.ศ. 2555[1]

ประวัติ

[แก้]

รางวัลตุ๊กตาทองเกิดขึ้นจากการริเริ่มของ นายสงบ สวนสิริ หรือ "สันตศิริ" บรรณาธิการนิตยสาร ตุ๊กตาทอง มีแนวคิดที่จะจัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2496 แต่แล้วก็ไม่ได้จัด[2] จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เวทีลีลาศ ลุมพินีสถาน สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2500 จัดโดย หอการค้ากรุงเทพ นักแสดงนำยอดเยี่ยม จะได้รับรางวัล ละคอนรำ เป็นตุ๊กตา รูปนางละคอนรำ อันเป็นที่มาของการเรียกชื่อรางวัลนี้ว่า รางวัลตุ๊กตาทอง ส่วนรางวัลอื่น จะได้รับ โล่สำเภาทอง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหอการค้าไทย ซึ่งเป็นผู้จัดงาน

ต่อมา มีการออกแบบรางวัลขึ้นใหม่ เป็นรูป พระสุรัสวดี ซึ่งเป็นเทพีแห่งความรู้ และภาษา ของอินเดีย เป็นผู้อุปถัมภ์ การศิลปะ การดนตรี และการศึกษา ออกแบบโดยนายจิตร บัวบุศย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง โดยความเห็นชอบของนายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากร จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น รางวัลพระสุรัสวดี แต่สื่อมวลชนและประชาชนยังคงนิยมเรียกว่ารางวัลตุ๊กตาทอง พิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทอง จัดต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2500 จนถึงครั้งที่ 8 พ.ศ. 2509 ก็ได้หยุดการจัดงานเป็นเวลา 9 ปี และได้รื้อฟื้นขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2517 โดย สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน และ พระราชทานรางวัล ในงานประกาศผลรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2507 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2508หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2508 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร ยังความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อผู้จัดงาน และผู้รับพระราชทานรางวัล เป็นอย่างสูง เมื่อสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยรื้อฟื้นพิธีมอบรางวัลขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2517 จึงใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตราบจนปัจจุบัน

ประเภทรางวัล

[แก้]

ผลรางวัล

[แก้]
ครั้ง(ปี)ที่จัด ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
รางวัลตุ๊กตาทอง
ครั้งที่ 1 (2500)
เศรษฐีอนาถา วสันต์ สุนทรปักษิณ
ทางสายเปลี่ยว
ลือชัย นฤนาท
เล็บครุฑ
วิไลวรรณ วัฒนพานิช
สาวเครือฟ้า
เจิ่ม ปั้นอำไพ
เศรษฐีอนาถา
พงษ์ลดา พิมลพรรณ
นักสืบพราน ตอน จำเลยไม่พูด
ครั้งที่ 2 (2501) รักริษยา มารุต
รักริษยา
สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์
กตัญญูประกาศิต
อมรา อัศวนนท์
รักริษยา
ประจวบ ฤกษ์ยามดี
รักริษยา
สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย
ยอดอนงค์
ครั้งที่ 3 (2502) ไอ้แก่น รัตน์ เปสตันยี
โรงแรมนรก
ทักษิณ แจ่มผล
แผ่นดินของใคร
รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง
ไอ้แก่น
สมควร กระจ่างศาสตร์
ไอ้แก่น
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ
ขบวนเสรีจีน
ครั้งที่ 4 (2503) มือโจร วิชัย ปาลวัฒน์วิไชย
ยอดพยศ
จิตรกร สุนทรปักษิณ
เด็กเสเพล
สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย
ค่าน้ำนม
ประจวบ ฤกษ์ยามดี
มือโจร
ภาวนา ชนะจิต
แสงสูรย์
ครั้งที่ 5 (2505) เรือนแพ วิจิตร คุณาวุฒิ
สายเลือดสายรัก
ไชยา สุริยัน
เรือนแพ
เมตตา รุ่งรัตน์
วัยรุ่นวัยคะนอง
ส. อาสนจินดา
เรือนแพ
สุพรรณ บูรณะพิมพ์
สุรีรัตน์ล่องหน
ครั้งที่ 6 (2506) นางทาษ วิจิตร คุณาวุฒิ
ดวงตาสวรรค์
ไชยา สุริยัน
ภูติพิศวาส
พิศมัย วิไลศักดิ์
ดวงตาสวรรค์
ทัต เอกทัต
ชโลมเลือด
สุพรรณ บูรณะพิมพ์
นางทาษ
ครั้งที่ 7 (2507) นางสาวโพระดก วิจิตร คุณาวุฒิ
นางสาวโพระดก
ไชยา สุริยัน
ธนูทอง
เพชรา เชาวราษฎร์
นกน้อย
ดอกดิน กัญญามาลย์
นกน้อย
มาลี เวชประเสริฐ
จำปูน
ครั้งที่ 8 (2508) สาวเครือฟ้า วิจิตร คุณาวุฒิ
เสน่ห์บางกอก
สมบัติ เมทะนี
ศึกบางระจัน
เนาวรัตน์ วัชรา
เดือนร้าว
อดินันท์ สิงห์หิรัญ
ฉัตรดาว
น้ำเงิน บุญหนัก
กาเหว่า
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี
ครั้งที่ 1 (2517)
ชู้ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (เขาชื่อกานต์) นาท ภูวนัย
ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ
ภัทราวดี มีชูธน
ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ
กรุง ศรีวิไล
ชู้
เปียทิพย์ คุ้มวงศ์
ตลาดพรหมจารีย์
ครั้งที่ 2 (2519) ขุนศึก สักกะ จารุจินดา (ขุนศึก) สรพงศ์ ชาตรี
สัตว์มนุษย์
บุปผารัตน์ ญาณประสิทธิกุล
ข้าวนอกนา
เศรษฐา ศิระฉายา
ฝ้ายแกมแพร
ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
ประสาท
ครั้งที่ 3 (2520) แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู ชุมพร เทพพิทักษ์ (แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู) สรพงศ์ ชาตรี
ชีวิตบัดซบ
มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช
ป่ากามเทพ
มานพ อัศวเทพ
เงาราหู
เปียทิพย์ คุ้มวงศ์
เงาราหู
ครั้งที่ 4 (2522) คนภูเขา วิจิตร คุณาวุฒิ (คนภูเขา) จตุพล ภูอภิรมย์
สัญชาติญาณโหด
จันทรา ชัยนาม
เทพธิดาบาร์21
ไกรลาศ เกรียงไกร
เทพธิดาบาร์21
จุรี โอศิริ
วัยตกกระ
ครั้งที่ 5 (2524) หลวงตา หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (ถ้าเธอยังมีรัก) ล้อต๊อก
หลวงตา
เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์
ถ้าเธอยังมีรัก
ภิญโญ ปานนุ้ย
เงาะป่า
ตุ๊กตา จินดานุช
ถ้าเธอยังมีรัก
ครั้งที่ 6 (2525) ลูกอีสาน วิจิตร คุณาวุฒิ (ลูกอีสาน) ปิยะ ตระกูลราษฎร์
เทพเจ้าบ้านบางปูน
จารุณี สุขสวัสดิ์ ปริศนา อโนเชาว์ ยอดบุตร
เทพธิดาโรงงาน
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ
ลูกอีสาน
ครั้งที่ 7 (2526) เพื่อน-แพง สุรสีห์ ผาธรรม (ผู้แทนนอกสภา) สรพงศ์ ชาตรี
มือปืน
จารุณี สุขสวัสดิ์
มายาพิศวาส
ดี๋ ดอกมะดัน
มหาเฮง
พิศมัย วิไลศักดิ์
เงิน เงิน เงิน
ครั้งที่ 8 (2527) อิสรภาพของทองพูน โคกโพ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (อิสรภาพของทองพูน) อำพล ลำพูน
น้ำพุ
สินจัย หงษ์ไทย
นวลฉวี
ชาลี อินทรวิจิตร
คาดเชือก
สินจัย หงษ์ไทย
เพลิงพิศวาส
ครั้งที่ 9 (2528) ผีเสื้อและดอกไม้ ยุทธนา มุกดาสนิท (ผีเสื้อและดอกไม้) รณ ฤทธิชัย
ครูสมศรี
ใหม่ สิริวิมล
ดวงยิหวา
โรม อิศรา
ผีเสื้อและดอกไม้
ญาณี จงวิสุทธิ์
เดือนเสี้ยว
ครั้งที่ 10 (2529) ช่างมันฉันไม่แคร์ พิศาล อัครเศรณี (พิศวาสซาตาน) บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
ตำรวจเหล็ก
นาถยา แดงบุหงา
ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท
ส. อาสนจินดา
บ้าน
วรรษมน วัฒโรดม
ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท
ครั้งที่ 11 (2530) ครั้งเดียวก็เกินพอ นันทนา วีระชน (ภุมรีสีทอง) ลิขิต เอกมงคล
ครั้งเดียวก็เกินพอ
พิม วัฒนพานิช
จงรัก
พีท ทองเจือ
รักฤๅเสน่หา
อภิรดี ภวภูตานนท์
ภุมรีสีทอง
ครั้งที่ 12 (2531) คู่กรรม ชาริยา รุ่งเรือง (คนกลางเมือง) สันติสุข พรหมศิริ
พ่อปลาไหล แม่พังพอน
จินตหรา สุขพัฒน์
คู่กรรม
พิศาล อัครเศรณี
พ่อปลาไหล แม่พังพอน
มยุรา ธนะบุตร
พ่อปลาไหล แม่พังพอน
ครั้งที่ 13 (2532) บุญชู 2 น้องใหม่ มนู วรรณายก (นักเลง) บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
รอยไถ
ภัสสร บุญยเกียรติ
แม่เบี้ย
อำนาจ อนุลักษณ์
โหดตามคิว
ทิพย์ ธัมมสิริ
จากวันที่เหลืออยู่
ครั้งที่ 14 (2533) นายซีอุย แซ่อึ้ง หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (น้องเมีย) ฉัตรชัย เปล่งพานิช
น้องเมีย
ภัสสร บุณยเกียรติ
หลงไฟ
สุเทพ ประยูรพิทักษ์
บุญชู 5 เนื้อหอม
ภัทรา ไวซ์
มาม่าซัง
ครั้งที่ 15 (2534) วิถีคนกล้า ยุทธนา มุกดาสนิท (วิถีคนกล้า) สามารถ พยัคฆ์อรุณ
ลิขิต เอกมงคล
ขยี้
จินตหรา สุขพัฒน์
เพียงเรามีเรา
สมบัติ เมทะนี
มือขวาอาถรรพ์
กันตา ดานาว
ขยี้
ครั้งที่ 16 (2535) เร็วกว่าใจไกลเกินฝัน พยุง พยกุล (ดิฉันไม่ใช่โสเภณี) บิลลี่ โอแกน
ยุ่งด๊ะม๊ะด๊อง
ธิดา ธีรรัตน์
ดิฉันไม่ใช่โสเภณี
วรเชษฐ์ นิ่มสุวรรณ
ยุ่งด๊ะม๊ะด๊อง
อลิสา อินทุสมิต
ครั้งนี้โลกฉุดไม่อยู่
ครั้งที่ 17 (2536) มือปืน 2 สาละวิน หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (มือปืน 2 สาละวิน) สรพงศ์ ชาตรี
มือปืน 2 สาละวิน
ธิดา ธีรรัตน์
หัวใจใส่เกือก
ส. อาสนจินดา
ณ สุดขอบฟ้า
ขวัญภิรมย์ หลิน
หัวใจใครจะรู้
ครั้งที่ 18 (2537) เสียดาย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (เสียดาย) จอนนี่ แอนโฟเน่
เสียดาย
สินจัย หงษ์ไทย
มหัศจรรย์แห่งรัก
วิลลี่ แมคอินทอช
มหัศจรรย์แห่งรัก
วราพรรณ หงุ่ยตระกูล
มหัศจรรย์แห่งรัก
ครั้งที่ 19 (2538) คู่กรรม ยุทธนา มุกดาสนิท (คู่กรรม) ธงไชย แมคอินไตย์
คู่กรรม
สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
โลกทั้งใบให้นายคนเดียว
อภิชาติ หาลำเจียก
ศยามล
จารุณี สุขสวัสดิ์
บุญชู 8 เพื่อเธอ
ครั้งที่ 20 (2539) เสียดาย 2 หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (เสียดาย 2) สรพงศ์ ชาตรี
เสียดาย 2
ศิริลักษณ์ ผ่องโชค
คู่กรรม 2
ญาณี ตราโมท
เสียดาย 2
อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง
เสียดาย 2
ครั้งที่ 21 (2540) ท้าฟ้าลิขิต ออกไซด์ แปง (ท้าฟ้าลิขิต) สัญญา คุณากร
ท้าฟ้าลิขิต
กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา
ฝันติดไฟหัวใจติดดิน
อนันต์ บุนนาค
ฝันติดไฟหัวใจติดดิน
สินจัย หงษ์ไทย
อันดากับฟ้าใส
ครั้งที่ 22 (2541) กล่อง หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (กล่อง) อำพล ลำพูน
เสือ...โจรพันธุ์เสือ
เมทินี กิ่งโพยม
กล่อง
ดอม เหตระกูล
เสือ...โจรพันธุ์เสือ
อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ
วัยระเริง
ครั้งที่ 23 (2542) นางนาก นนทรีย์ นิมิบุตร (นางนาก) อำพล ลำพูน
โคลนนิ่งคนก๊อปปี้คน
ลลิตา ปัญโญภาส
เรื่องตลก 69
อรรถพร ธีมากร
กำแพง
พิศมัย วิไลศักดิ์
กำแพง
ครั้งที่ 24 (2543) บางระจัน ธนิตย์ จิตต์นุกูล (บางระจัน) บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
บางระจัน
ฌัชฌา รุจินานนท์
อั้งยี่ลูกผู้ชายมังกร
ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล
บางระจัน
จินตหรา สุขพัฒน์
สตางค์
ครั้งที่ 25 (2544) 14 ตุลาฯ สงครามประชาชน บัณฑิต ฤทธิ์ถกล (14 ตุลา สงครามประชาชน) สมชาย เข็มกลัด
มือปืน/โลก/พระ/จัน
คาร่า พลสิทธิ์
ข้างหลังภาพ
เทพ โพธิ์งาม
มือปืน/โลก/พระ/จัน
วิภาวี เจริญปุระ
จัน ดารา
ครั้งที่ 26 (2545) มนต์รักทรานซิสเตอร์ เป็นเอก รัตนเรือง (มนต์รักทรานซิสเตอร์) ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
มนต์รักทรานซิสเตอร์
สิริยากร พุกกะเวส
มนต์รักทรานซิสเตอร์
ฉัตร มงคลชัย
ตำนานกระสือ
หทัยทิพย์ ศรีสังข์
ธรณีกรรแสง
ครั้งที่ 27 (2547) โหมโรง อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ (โหมโรง) ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์
ไอ้ฟัก
แอน ทองประสม
จดหมายรัก
อดุลย์ ดุลยรัตน์
โหมโรง
จารุณี บุญเสก
แจ๋ว
ครั้งที่ 28 (2549) Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย นิธิวัฒน์ ธราธร (Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย) ชาลี ไตรรัตน์
เด็กหอ
จินตหรา สุขพัฒน์
เด็กหอ
โก๊ะตี๋ อารามบอย
แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า
ปรางทอง ชั่งธรรม
The Passion อำมหิตพิศวาส
ครั้งที่ 29 (2555) ชัมบาลา ปัญจพงศ์ คงคาน้อย (ซัมบาลา) เดวิด อัศวนนท์
เคาท์ดาวน์
เพ็ญพักตร์ ศิริกุล
Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ
จิรายุ ละอองมณี
รัก 7 ปี ดี 7 หน
ศิรพันธ์ วัฒนจินดา
Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ
ครั้งที่ 30 (2557) เพชฌฆาต นิธิวัฒน์ ธราธร (คิดถึงวิทยา) ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์
ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้
ปรีชญา พงษ์ธนานิกร
ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้
พิชญะ นิธิไพศาลกุล
ตายโหง ตายเฮี้ยน ตอน ทุบกรรม
อภิญญา สกุลเจริญสุข
ภวังค์รัก
ครั้งที่ 31 (2560) ฉลาดเกมส์โกง นัฐวุฒิ พูนพิริยะ (ฉลาดเกมส์โกง) ชานน สันตินธรกุล (ฉลาดเกมส์โกง) ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง (ฉลาดเกมส์โกง) หม่อมราชวงศ์มงคลชาย ยุคล (ของขวัญ ตอน สัจจะธรณี) พลอย ศรนรินทร์ (สยามสแควร์)

อ้างอิง

[แก้]
  1. งานประกาศผลรางวัลพระสุรัสวดีและเมขลา ประจำปี 2555
  2. "กระทู้จาก thaifilm". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-01-05.