ราชวงศ์เหลียว
ต้าเหลียว / ชี่ตัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
916–1125 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
แผ่นดินเหลียวเมื่อราวปี 1000 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | ช่างจิง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาจีนกลาง, ภาษานฺหวี่เจิน, ภาษาชี่ตัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาพุทธ ศาสนาผี ลัทธิเต๋า ศาสนาโซโรอัสเตอร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
• 907–926 | ไท่จู่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
• 1101–1125 | เทียนจั้ว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 916 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
• สิ้นสุด | 1125 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | มองโกเลีย จีน รัสเซีย เกาหลีเหนือ |
เป็นส่วนหนึ่งของ |
ประวัติศาสตร์จีน |
---|
ราชวงศ์เหลียว (อังกฤษ: Liao Dynasty; ชี่ตัน: Mos Jælud; มองโกล: Ляо Улс/Lyao Uls; จีนตัวย่อ: 辽朝; จีนตัวเต็ม: 遼朝; พินอิน: Liáo Cháo)[1] หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิชี่ตัน (อังกฤษ: Khitan Empire; ชี่ตัน: Mos diau-d kitai huldʒi gur; มองโกล: Хятан (Khyatan) Гүрэн, Кидан (Kidan) Гүрэн; จีนตัวย่อ: 契丹国; จีนตัวเต็ม: 契丹國; พินอิน: Qìdān Guó)[2] เป็นชื่อจักรวรรดิหนึ่งในเอเชียตะวันออก มีอำนาจในมองโกเลีย ภาคตะวันออกไกลบางส่วนของรัสเซีย เกาหลีเหนือ และภาคเหนือของจีนส่วนในตั้งแต่ปี 907 ถึง 1125 จักรพรรดิเหลียวไท่จู่หรือเย่ว์ลู่ อาปาจี้ ข่านแห่งชาวชี่ตัน สถาปนาจักรวรรดินี้ขึ้นหลังจากราชวงศ์ถังของประเทศจีนล่มสลาย และไม่ช้าไม่นานหลังก่อตั้งขึ้น ราชวงศ์เหลียวก็เริ่มขยายดินแดน โดยจักรพรรดิเหลียวไท่จู่ทรงเอาชัยเหนือพวกพัลแฮเป็นผลสำเร็จ พระเจ้าแผ่นดินองค์ถัด ๆ มายังทรงได้สิบหกมณฑลของจีนไว้โดยใช้วิธียุแยงให้รัฐที่สามส่งการก่อกวนเข้ามา แล้วราชวงศ์เหลียวจึงคอยตีกิน ทำให้ราชวงศ์ถังอวสานลง และราชวงศ์โครยอแห่งเกาหลี กับราชวงศ์ซ่งแห่งจีน ตกเป็นเมืองออกของราชวงศ์เหลียวในที่สุด คำว่า "เหลียว" นี้ในภาษาจีนหมายความว่า ห่าง หรือไกล
จุดเด่นของราชวงศ์เหลียว คือ ความตึงเครียดระหว่างจารีตประเพณีทางสังคมและการเมืองแบบชี่ตันกับแบบจีนซึ่งนำไปสู่วิกฤติการณ์ทางการสืบสันตติวงศ์ เพราะพระเจ้าแผ่นดินเหลียวฝักใฝ่คติบุตรหัวปีเป็นใหญ่ตามแบบจีน แต่ผู้ลากมากดีชาวชี่ตันส่วนใหญ่นิยมประเพณีที่ให้ผู้แข็งแกร่งที่สุดสืบเชื้อสาย ความแตกต่างกันระหว่างจารีตประเพณีชี่ตันและจีนนี้ยังเป็นเหตุให้พระเจ้าไท่จู่แห่งราชวงศ์เหลียวทรงตั้งการปกครองสองแบบขนานกัน ภาคเหนือซึ่งเป็นอาณาเขตชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีชี่ตัน ภาคใต้ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ไม่ใช่ชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีจีน ความแตกต่างทางสังคมแบบชี่ตันกับแบบจีนยังได้แก่ บทบาทของบุคคลแต่ละเพศและยุทธวิธี ชาวชี่ตันเห็นว่า บุคคลเสมอภาคกันไม่ว่าเพศใด ขณะที่ประเพณีทางวัฒนธรรมจีนถือว่า สตรีต้องอยู่ในโอวาทบุรุษ ฉะนั้น หญิงชี่ตันจึงเล่าเรียนการรบ ทั้งยังจัดการทรัพย์สินครัวเรือน และดำรงตำแหน่งทางทหาร ทั้งยังไม่มีการคลุมถุงชน ตลอดจนสตรีไม่จำต้องครองความบริสุทธิ์ทางเพศไว้จนถึงการสมรสครั้งแรก กับมีสิทธิที่จะหย่าและสมรสใหม่ด้วย
ในปี 1125 ชาวนฺหวี่เจินหรือชาวแมนจูจากราชวงศ์จิน จับกุมพระจักรพรรดิเหลียวเทียนจั้วแห่งเหลียวไว้ได้ และทำลายราชวงศ์เหลียวลงสิ้น แต่ชาวชี่ตันที่ยังเหลืออยู่มีเยลฺวี่ ต้าฉือเป็นผู้นำ พากันก่อตั้งราชวงศ์ใหม่เรียกว่า "เหลียวตะวันตก" ปกครองกันอยู่ในเอเชียกลางบางส่วนเป็นเวลายาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ ก่อนจะถูกทัพเจงกีส ข่านแห่งจักรวรรดิมองโกล เข้ายึดครอง แม้ความสำเร็จทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์เหลียวจะสลักสำคัญ กับทั้งเครื่องปั้นและศิลปวัตถุอื่น ๆ ก็มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์และสถานสะสมต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แต่สภาพที่แท้จริงและขอบข่ายของอิทธิพลที่วัฒนธรรมเหลียวมีต่อพัฒนาการในระยะหลัง ๆ เช่น ด้านศิลปะการแสดงและการสังคีตนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างยิ่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 愛新覚羅烏拉熙春 (Aisin-Gioro Ulhicun). "遼朝國號非「哈喇契丹(遼契丹)」考:兼擬契丹大字及契丹小字的音値 (The State Name of the Liao Dynasty was not "Qara Khitai (Liao Khitai )": with Presumptions of Phonetic Values of Khitai Large Script and Khitai Small Script )" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-13. สืบค้นเมื่อ February 4, 2012.
- ↑ 愛新覚羅烏拉熙春 (Aisin-Gioro Ulhicun). "契丹文dan gur與「東丹國」國號:兼評劉浦江「再談"東丹國"國号問題」 (Original Meaning of Dan gur in the Khitai Scripts: with a Discussion of the State Name of the Dongdanguo)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-19. สืบค้นเมื่อ February 4, 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ราชวงศ์เหลียว | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชวงศ์ถัง ห้าราชวงศ์ |
ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน (ค.ศ. 907–1125) |
ราชวงศ์จิน ราชวงศ์เหลียวเหนือ ราชวงศ์เหลียวตะวันตก |