รายชื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หน้าตา
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไปแล้วทั้งสิ้น 17 คน 20 วาระ จำแนกเป็นผู้ว่าราชการที่มาจากการเลือกตั้ง 8 คน มาจากการแต่งตั้ง 9 คน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก คือ ชำนาญ ยุวบูรณ์ ผู้ดำรงตำแหน่งคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง คือ ธรรมนูญ เทียนเงิน ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลานานที่สุด คือ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน คือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ยังมีชีวิตอยู่มีจำนวน 6 คน ได้แก่ อาษา เมฆสวรรค์, จำลอง ศรีเมือง, พิจิตต รัตตกุล, อภิรักษ์ โกษะโยธิน, หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร และอัศวิน ขวัญเมือง
รายชื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[แก้]ลำดับ | รูป | ชื่อ | ที่มา | วาระดำรงตำแหน่ง | พรรค | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ (สิ้นสุดโดย) |
ระยะเวลา | ||||||
1 | ชำนาญ ยุวบูรณ์ | แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี | 1 มกราคม พ.ศ. 2516[1] | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | 0 ปี 294 วัน | - | ||
2 | อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล | แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516[2] | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2517 | 0 ปี 215 วัน | - | ||
3 | ศิริ สันติบุตร | แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2517[3] | 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 | 0 ปี 281 วัน | - | ||
4 | สาย หุตะเจริญ | แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2518[4] | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2518 | 0 ปี 72 วัน | - | ||
5 | ธรรมนูญ เทียนเงิน | เลือกตั้ง พ.ศ. 2518 | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 | 29 เมษายน พ.ศ. 2520 | 1 ปี 262 วัน | ประชาธิปัตย์ | ||
6 | ชลอ ธรรมศิริ | แต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย | 29 เมษายน พ.ศ. 2520 | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | 2 ปี 15 วัน | - | ||
7 | เชาวน์วัศ สุดลาภา | แต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 | 16 เมษายน พ.ศ. 2524 | 1 ปี 286 วัน | - | ||
8 | เทียม มกรานนท์ | แต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย | 28 เมษายน พ.ศ. 2524 | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 | 3 ปี 187 วัน | - | ||
9 | ไฟล์:อาษา เมฆสวรรค์.jpg | อาษา เมฆสวรรค์ | แต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 | 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 | 1 ปี 7 วัน | - | |
10 | พลตรี จำลอง ศรีเมือง | เลือกตั้ง พ.ศ. 2528 | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 | 6 ปี 15 วัน | กลุ่มรวมพลัง | ||
เลือกตั้ง พ.ศ. 2533 | 7 มกราคม พ.ศ. 2533 | 22 มกราคม พ.ศ. 2535 | พลังธรรม | |||||
11 | ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา | เลือกตั้ง พ.ศ. 2535 | 19 เมษายน พ.ศ. 2535 | 18 เมษายน พ.ศ. 2539 | 4 ปี 0 วัน | พลังธรรม | ||
12 | พิจิตต รัตตกุล | เลือกตั้ง พ.ศ. 2539 | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 | 4 ปี 49 วัน | กลุ่มมดงาน[a] | ||
13 | สมัคร สุนทรเวช | เลือกตั้ง พ.ศ. 2543 | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2547 | 4 ปี 36 วัน | ประชากรไทย | ||
14 | อภิรักษ์ โกษะโยธิน | เลือกตั้ง พ.ศ. 2547 | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 | 4 ปี 82 วัน | ประชาธิปัตย์ | ||
เลือกตั้ง พ.ศ. 2551 | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (ลาออก)[5] | ||||||
15 | หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร | เลือกตั้ง พ.ศ. 2552 | 11 มกราคม พ.ศ. 2552 | 9 มกราคม พ.ศ. 2556 (ลาออก)[6] |
6 ปี 202 วัน[b] | ประชาธิปัตย์ | ||
เลือกตั้ง พ.ศ. 2556 | 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559[c] | ||||||
16 | พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง | แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559[9] | 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 (ลาออก)[10] |
5 ปี 157 วัน | - | ||
17 | ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | เลือกตั้ง พ.ศ. 2565 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[11] | ปัจจุบัน | 2 ปี 167 วัน | อิสระ |
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ เป็นสมาชิกพรรคกิจสังคม แต่ไม่ได้ลงเลือกตั้งในนามพรรค
- ↑ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เคยถูกพักงานเนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง กรณีที่สุเทพ เทือกสุบรรณ หาเสียงเลือกตั้งสนับสนุนหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์โดยปราศรัยโจมตีพลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ หนึ่งในผู้สมัคร ระหว่างที่หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์พักงาน ผุสดี ตามไท รักษาการแทนตั้งแต่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557 ต่อมาวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง[7]
- ↑ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 50/2559 ให้พักงาน หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยไม่พ้นจากตำแหน่ง[8] และวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ให้พ้นจากตำแหน่ง[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 90 ตอนที่ 16 ฉบับพิเศษ หน้า 3, 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 90 ตอนที่ 141 ฉบับพิเศษ หน้า 6, 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 91 ตอนที่ 100 หน้า 2572, 11 มิถุนายน พ.ศ. 2517.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 92 ตอนที่ 109 หน้า 1394, 10 มิถุนายน พ.ศ. 2518.
- ↑ "สปิริต"อภิรักษ์"ลาออกขอโทษคนกทม.-กกต.คาดเลือกใหม่ 11 ม.ค.นี้". mgronline.com. 2008-11-13.
- ↑ "เผย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.จะลาออกในวันพรุ่งนี้". thaiza. 2013-01-08.
- ↑ "สุขุมพันธุ์"รอด!ศาลยกคำร้องคดีใบเหลือง เก็บถาวร 2021-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, โพสต์ทูเดย์, 5 กันยายน พ.ศ. 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 50/2559 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 6 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 188 ง หน้า 17, วันที่ 25 สิงหาคม 2559
- ↑ 9.0 9.1 ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2559 เรื่อง การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่ง และการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เล่ม 133 ตอนพิเศษ 238 ง หน้า 9, วันที่ 18 ตุลาคม 2559
- ↑ ""อัศวิน" เซ็นลาออก "ผู้ว่าฯ กทม." แล้ว ปิดฉาก "คสช." แต่งตั้ง 5 ปี 5 เดือน 5 วัน". bangkokbiznews. 2022-03-24.
- ↑ "กทม.ติดประกาศนโยบาย "ชัชชาติ" 214 ข้อ สั่งห้ามถ่ายรูปหน้าห้อง ผู้ว่าฯ". www.thairath.co.th. 2022-05-31.