ข้ามไปเนื้อหา

วัดต้นธง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดต้นธง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดต้นธง, วัดจองเงี้ยว, วัดจองใต้, วัดเงี้ยว
ที่ตั้งตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดต้นธง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 20 ตารางวา

วัดต้นธง หรือ วัดจองเงี้ยว หรือ วัดจองใต้[1] คนเมืองเรียกว่า วัดเงี้ยว ตามประวัติวัดระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2418 โดยพ่อเฒ่าปิ่นหย่า แม่เฒ่าคำเอ้ย เชื้อชาติเงี้ยว (ไทใหญ่) ได้ซื้อที่ดินจากเจ้าหลวงเมืองแพร่ในราคา 40 บาทเพื่อสร้างวัด ซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ 20 ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2506 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2507 วัดได้รับการทำนุบำรุงมาโดยตลอด โดยมีลูกหลานในตระกูลเงี้ยวทั้งหลายเป็นแกนนำ เช่นตระกูลพ่อส่างอ่อง (กุศล) ปัญญามาลัย ตระกูลแม่เฒ่านุ สุวรรณาลัย เป็นต้น จนในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเมืองแพร่ พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นวัดเงี้ยวมีเสาธงเป็นไม้แกะสลักมีความงดงาม พระองค์จึงพระราชทานชื่อวัดให้ใหม่ว่า "วัดต้นธง"

สถาปัตยกรรมของวัดมีรูปแบบศิลปะไทใหญ่[2] มีกุฏิวิหารรวมอยู่ด้วยกันและสร้างด้วยไม้ ตกแต่งด้วยลวดลายฉลุงดงาม จนเมื่อ พ.ศ. 2505 พ่อส่างอ่อง (กุศล) ปัญญามาลัย เห็นว่ากุฏิวิหารเสื่อมโทรมลงมาก ควรจะรื้อถอน จึงได้รื้อถอนกุฏิวิหารออกทั้งหมด จึงได้สละทุนทรัพย์ส่วนตัวสร้างวิหาร (อุโบสถ) ขึ้นใหม่แบบไทยแทนของเดิม จนแล้วเสร็จและทำการฉลองในปี พ.ศ. 2507[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. ""เมืองแพร่" โครงสร้างทางกายภาพของเมืองโบราณที่มีชีวิต". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
  2. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. "วัดและชุมชนในเวียงแพร่: ความสัมพันธ์ระหว่างวัดและชาวเมืองแบบโบราณ". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
  3. "วัดต้นธง".