วิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2556/เลือกผู้สมัคร/การแก้ไขนโยบายฯ
หน้าตา
ข้อเสนอแก้ไขนโยบาย
[แก้]หมายเหตุ นโยบายเก่าอยู่ที่ วิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ/นโยบาย และนโยบายส่วนที่แก้ไขอยู่ที่หน้าผู้สมัครว่าด้วยการขอแก้ไขนโยบาย ขอให้ผู้ลงคะแนนศึกษานโยบายดังกล่าว และโปรดระบุด้วยว่าท่านเห็นด้วยหรือคัดค้านส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด ทั้งนี้อาจเสนอข้อแก้ไขได้หากจำเป็น
ทั้งฉบับ
[แก้]สนับสนุน
[แก้]- เห็นด้วย เป็นการปรับโครงสร้างปลีกย่อยทั่วไปที่เปิดโอกาสให้ คอต. ทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงเปิดโอกาสในการเปิดรับโครงการพี่น้องเข้ามาร่วมกระบวนการ --Taweethaも (พูดคุย) 22:18, 2 ธันวาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Sasakubo1717 (พูดคุย) 20:45, 19 ธันวาคม 2556 (ICT)
คัดค้าน
[แก้]เฉพาะส่วน
[แก้]สนับสนุน
[แก้](โปรดระบุส่วนที่สนับสนุน)
- คะแนนเสียงของ octahedron80 --奥虎 ボンド 16:58, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย การปรับแก้ข้อความปกิณกะ อ่านง่ายขึ้น สาระสำคัญก็ไม่ได้ต่างจากเดิมมาก
- เห็นด้วย การระบุว่าไกล่เกลี่ยในนามของตัวเองโดยไม่ผูกพันกับ คอต. เป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากข้อนี้จะเป็นเครื่องป้องกัน คอต. ไม่ให้ถูกถอดถอนหรือถูกฟ้องร้องทั้งคณะด้วยเหตุที่ คอต. คนใดคนหนึ่งเข้าไกล่เกลี่ยเสียก่อน แล้วมีความไม่ชอบธรรมเกิดขึ้น สิ่งนี้เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายด้วยในบางกรณี
- คะแนนเสียงของ G(x) --∫G′(∞)dx 19:51, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
คัดค้าน
[แก้](โปรดระบุส่วนที่คัดค้าน)
- คะแนนเสียงของ Aristitleism --Aristitleism (พูดคุย) 15:44, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย กับข้อเสนอที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมนิยาม "ประชาคม" ให้หมายความรวมถึง ประชาคมในโครงการอื่นด้วย เพราะเป็นการนอกเหนืออำนาจ (ultra vires) โครงการวิกิมีเดียแต่ละโครงการอยู่ในระนาบเดียวกัน ข้อเสนอเช่นนั้นจะทำให้วิกิพีเดียภาษาไทยมีสถานะเหนือโครงการอื่น และสามารถออกข้อบังคับมาใช้แก่โครงการอื่น ซึ่งไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ กำหนดเผื่อไว้ ก็ยังไม่แน่ว่า สมาชิกโครงการอื่นจะรับด้วยหรือไม่ แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ ไม่มีอำนาจ ต้องทำเป็นนโยบายภายในของแต่ละโครงการไป
- ไม่เห็นด้วย กับข้อเสนอที่ให้สมาชิก คอต. ได้สิทธิผู้ดูแลระบบโดยอัตโนมัติ เพราะคุณสมบัติและความเหมาะสมในการเป็นสมาชิก คอต. และผู้ดูแลระบบต่างกัน วัตถุประสงค์ในการเลือกตั้งก็ต่างกัน ที่เลือกผู้ดูแลระบบเพราะต้องการผู้ดูแลระบบ ไม่ได้ต้องการผู้วินิจฉัยข้อพิพาท เป็นคนละเรื่องกัน ต้องพิจารณาแยกกัน
- ไม่เห็นด้วย กับข้อเสนอที่ให้สมาชิก คอต. ไกล่เกลี่ยได้ เพราะไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อระบุว่า ให้ทำในนามส่วนตัว และไม่ผูกพัน คอต. ด้วยแล้ว ก็ยิ่งไม่จำเป็นต้องมีข้อนี้ในนโยบายเลย ข้อเสนอนี้เหมือนกับให้ใครก็ได้ไกล่เกลี่ย นอกจากนี้ การสร้างความสัมพันธ์อันดี การประสานงาน ฯลฯ ก็เป็นเรื่องที่ควรทำกันอยู่แล้ว และสามารถทำได้ทุกคนอยู่แล้ว แม้ไม่กำหนดไว้ คอต. ก็ทำได้ ฉะนั้น ในเมื่อไม่เกี่ยวข้องกับ คอต. และ คอต. สามารถทำได้อยู่แล้ว ก็ไม่เห็นเหตุที่จะต้องกำหนดไว้
- คะแนนเสียงของ octahedron80 --奥虎 ボンド 16:58, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
- คะแนนเสียงของ G(x) --∫G′(∞)dx 19:35, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
- คะแนนเสียงของ Timekeepertmk (พูดคุย) 19:43, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
งดออกเสียง
[แก้]- คะแนนเสียงของ Aristitleism --Aristitleism (พูดคุย) 15:44, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
- งดออกเสียง เกี่ยวกับข้อเสนอของ Aristitleism ทั้งหมด
- งดออกเสียง เกี่ยวกับข้อเสนอเรื่องสมาชิก คอต. 1 คนต่อผู้ใช้ 100 คน เพราะไม่มีความเห็น และไม่เข้าใจ
- คะแนนเสียงของ G(x) --∫G′(∞)dx 19:49, 3 ธันวาคม 2556 (ICT)
- เป็นกลาง เข้าใจว่านโยบายที่ว่าอนุญาตให้สิทธิผู้ดูแลระบบในตัวจะตีความไปในทำนองว่า "เพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่ตุลาการ ตุลาการอาจได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องมือผู้ดูแลระบบเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงเฉพาะที่เกี่ยวกับข้อพิพาทดังกล่าว" (เป็น case-by-case) เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถใช้เครื่องมือผู้ดูแลในการตรวจสอบสิ่งที่ผู้ใช้ทั่วไปอาจตรวจสอบไม่ได้ (เช่น Revision Delete, หน้าที่ถูกลบ) แต่เนื่องจากในปัจจุบันผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้งยังไม่มีอำนาจในการถอนสิทธิผู้ดูแลระบบด้วยตนเอง (ดูสิทธิกลุ่มผู้ใช้ และหน้าอ้างอิงผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง) จึงอาจก่อให้เกิดความล่าช้าในการ desysop หลังจากเสร็จข้อพิพาทที่ต้องพิจารณาแล้ว
- เป็นกลาง เกี่ยวกับข้อเสนอจำนวน คอต. ต่อผู้ใช้ เนื่องจากยังไม่มีความเห็นเพิ่มเติม
แม้ว่าจะเป็นการดีที่กำหนดจำนวน คอต. ให้ flexible กับ activity ของผู้ใช้ แต่ระยะเวลาเพียงเดือนเดียวอาจน้อยไป อาจเป็นเฉลี่ยสองหรือสามเดือน - เป็นกลาง เกี่ยวกับ dispute resolution เนื่องจากเห็นพ้องกับความเห็นทั้ง Octahedron80 และ Aristitleism ข้างต้น
อภิปราย
[แก้]- ข้อเสนอของผม คือ ให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งตุลาการ ทำหน้าที่ "ไกล่เกลี่ยอย่างเป็นทางการ" ตามขั้นตอนใน วิกิพีเดีย:การระงับข้อพิพาท ได้
- ไม่ได้หมายความว่า บุคคลนั้นมีอำนาจตุลาการในการทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ฉะนั้นจึงไม่เป็นปัญหาที่จะต้องฟ้องร้องหรือถอดถอนออกจาก คอต.
- การทำหน้าที่ดังกล่าวมีขั้นตอนปฏิบัติ จึงไม่ใช่หน้าที่ที่ใครจะมาทำก็ได้ (ซึ่งจะไปตรงกับ "ความเห็นที่สาม" หรือ "การไกล่เกลี่ยอย่างไม่เป็นทางการ") ผมเสนอให้ตุลาการมาทำหน้าที่นี้ เพราะเห็นว่าเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ มิฉะนั้นจะหาบุคคลอื่นมาทำหน้าที่แทนก็ได้ แต่คงหาได้ยาก
- เจตนารมณ์ คือ ให้การระงับข้อพิพาทไม่ข้ามขั้นตอน จะได้มีความพยายามระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอื่นก่อน แล้วค่อยพึ่งการวินิจฉัยของ คอต. อันเป็นที่พึ่งสุดท้าย --Horus | พูดคุย 02:52, 5 ธันวาคม 2556 (ICT)
- ความเห็น --Aristitleism (พูดคุย) 11:18, 5 ธันวาคม 2556 (ICT)
- การให้ตุลาการไกล่เกลี่ยได้ด้วยนั้น ผมขอให้พิจารณาให้รอบด้าน ต้องอย่าลืมว่า แม้ไม่ได้ไกล่เกลี่ยในฐานะตุลาการ แต่ถ้าภายหลังมีเรื่องสืบเนื่องกันขึ้นมาให้ คอต. พิจารณา ตุลาการผู้นั้นจะถูกคัดค้าน (judicial disqualification) ตามนโยบายได้ ซึ่งอาจทำให้ คอต. ขาดเสียงข้างมาก (unable to obtain a majority) หรือขาดองค์ประชุม (lack of quorum) และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในที่สุด (เพราะตามข้อเท็จจริง สมาชิก คอต. วิกิพีเดียไทยก็น้อยอยู่ด้วย)
- เหตุที่ถูกคัดค้าน เพราะการขัดกันของผลประโยชน์ซึ่งอาจกระทบต่อความเที่ยงธรรมในการวินิจฉัยคดี การวินิจฉัยคดีต้องไม่สามารถคาดเดาผลของคดีได้ แต่ถ้าให้คนเดียวกันทำคดีเดียวกันอีก ก็ย่อมเดาธงได้ (ในทางวิชาการเรียกว่า มีส่วนได้เสียในประเด็นแห่งคดี ตรงข้ามกับส่วนได้เสียในคู่ความ เช่น เป็นพ่อแม่พี่น้องญาติสนิทมิตรสหายของคู่ความ หรือเจ้านาย เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้ปกครอง ฯลฯ ของคู่ความ)
- โดยหลักการข้างต้น ในชีวิตจริง จึงมีบัญญัติไว้ในกฎหมายของหลาย ๆ ประเทศว่า ห้ามตุลาการปฏิบัติหน้าที่ ถ้าเคยมีบทบาทในคดีเดียวกันนั้นมาก่อน เช่น
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของญี่ปุ่น มาตรา 23 ว่า
- "In the following cases, a judge shall be disqualified from performing his/her duties...
- "(iv) Where a judge has served as a witness or expert witness in the case.
- "(v) Where a judge is or was a party's agent or assistant in court in the case.
- "(vi) Where a judge has participated in making an arbitral award in the case or participated in making a judicial decision in the prior instance against which an appeal is entered."
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของเยอรมัน มาตรา 41 ว่า
- "A judge is disqualified by law from exercising judicial office...
- "4. In all matters in which he was appointed as attorney of record or as a person providing assistance to a party, or in which he is or was authorised to make an appearance as a legal representative of a party;
- "5. In all matters in which he is examined as a witness or expert;
- "6. In all matters in which he assisted, at a prior level of jurisdiction or in arbitration proceedings, in entering the contested decision, unless this concerns activities of a judge correspondingly delegated or requested."
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของญี่ปุ่น มาตรา 23 ว่า
- ข้อห้ามทำนองนี้ยังปรากฏในส่วนอื่นของกระบวนพิจารณาอีก เช่น ในการจ่ายคดีให้องค์คณะ ถ้าไม่มีองค์คณะชำนัญพิเศษหรือองค์คณะซึ่งรับผิดชอบท้องที่นั้น ๆ แล้ว จะต้องจ่ายคดีในลักษณะที่ไม่อาจคาดเดาได้ว่า ใครจะรับผิดชอบ ทั้งนี้ เพื่อรักษาความเป็นกลางของศาล
- ในทางปฏิบัติ ถ้ามีการไกล่เกลี่ยหรือชำระข้อพิพาทนั้นในทางอื่นมาก่อนมีคดี และผู้ไกล่เกลี่ยหรือผู้ชำระเป็นผู้วินิจฉัยคดีด้วย เขาก็จะต้องถูกห้ามทำหน้าที่ตามที่กล่าวมาแล้ว หรือถ้าจะต้องไกล่เกลี่ยเมื่อมีคดีแล้ว บุคคลภายนอก (third party) ก็จะเป็นผู้ไกล่เกลี่ย (mediator) บุคคลภายนอกหมายความว่าจะเป็นผู้มีส่วนในประเด็นแห่งคดีนั้นไม่ได้ เช่น เป็นผู้วินิจฉัยคดีเองไม่ได้ และเป็นคู่ความเองก็ไม่ได้ (กรณีหลังนี้จะขัดกับหลัก nemo iudex in causa sua)
- ฉะนั้น ข้อที่ผมขอให้คำนึง ก็คือ สมาชิก คอต. เป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้ แต่ถ้าเป็นแล้ว ต่อมา มีคดีสืบเนื่องกันขึ้นสู่ คอต. สมาชิก คอต. ผู้นั้นสามารถถูกคัดค้าน และอาจส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ คอต. ได้
- ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ --Horus | พูดคุย 16:12, 6 ธันวาคม 2556 (ICT)
- เข้ามาดูครับ ผมนึกว่าศาลรัฐธรรมนูญ ที่นี่มันดูน่ากลัวมาก --Supotmails (พูดคุย) 06:24, 16 ธันวาคม 2556 (ICT)