ข้ามไปเนื้อหา

วิธีใช้:การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน เป็นการกำหนดหน่วยระบุที่ให้กับอนุกรมวิธานทางชีววิทยา โดยฐานข้อมูลทางชีวภาพ และฐานข้อมูลทางอนุกรมวิธาน เพื่อจุดประสงค์ในการสร้างจุดอ้างอิงสำหรับแต่ละบัญชีของหน่วยอนุกรมวิธาน การกำหนดหน่วยอนุกรมวิธานด้วยตัวระบุถาวร เช่นสายอักขระของตัวเลขช่วยให้สามารถปรับปรุงข้อมูลเช่น การจำแนกประเภททางอนุกรมวิธาน โดยไม่กระทบต่อความสามารถในการค้นคืนหรืออ้างอิงข้อมูลของหน่วยอนุกรมวิธานที่เกี่ยวข้อง ตัวระบุหน่วยอนุกรมวิธานทำงานในลักษณะเดียวกับที่ รหัสแท่ง ใช้เพื่อค้นคืนข้อมูลเกี่ยวกับรายการที่สนใจ เมื่อใช้กับวิกิพีเดีย ตัวบ่งชี้หน่วยอนุกรมวิธาน สามารถพบได้ที่ด้านล่างของหน้าวิกิพีเดีย ซึ่งเชื่อมโยงไปยังระเบียนใน ฐานข้อมูลอนุกรมวิธาน ในหลาย ๆ กรณี ชื่อแต่ละหน่วยอนุกรมวิธานในฐานข้อมูลอนุกรมวิธานมีตัวระบุที่ไม่ซ้ำกัน แม้ว่าจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป (ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช ปรกติมีหลายตัวระบุสำหรับชื่อหน่วยอนุกรมวิธาน บ่อยครั้งอยู่ในรูปแบบ N-1, N-2 ฯลฯ)

การแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน ช่วยให้นักวิจัยสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้นในหัวข้อของบทความ โดยไม่จำเป็นต้องแยกแยะเรื่องด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น ตัวระบุหน่วยอนุกรมวิธาน ถูกใช้ในบทความเกี่ยวกับสปีชีส์ เพื่อให้ข้อมูลในบทความสามารถอ้างอิงรายการโยงกับฐานข้อมูล Catalog of Life [en] ซึ่งเป็นที่นิยมได้โดยง่าย

โดยทั่วไปการแยกแยะหน่วยอนุกรมวิธาน เป็นวิธีการสร้างและรักษาเงื่อนไขดัชนีสำหรับวัสดุบรรณานุกรม ลิงค์ที่สร้างโดยแม่แบบ {{Taxonbar}} บนวิกิพีเดีย ไปที่หน้าข้อมูลหน่วยอนุกรมวิธานของ ฐานข้อมูลทางชีวภาพหรือทางอนุกรมวิธานออนไลน์ ตัวอย่างเช่นข้อมูลวิกิพีเดีย Taxonbar ของ Sequoiadendron giganteum [en] มีลักษณะดังนี้:

การแยกแยะที่ระบุไว้สำหรับ Sequoiadendron giganteum [en] จะเชื่อมโยงไปยังรายการที่พบในฐานข้อมูลออนไลน์ที่เกี่ยวข้อง:

  1. Wikidata: วิกิสนเทศ ซึ่งเป็นฐานความรู้ที่แก้ไขร่วมกันซึ่งให้บริการแม่ข่ายโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย รายการวิกิสนเทศ แต่ละรายการที่เชื่อมโยงกับหน่วยอนุกรมวิธานจะเก็บข้อมูลเช่น ตัวระบุหน่วยอนุกรมวิธาน
  2. ARKive: ARKive [en] ฐานข้อมูลจดหมายเหตุของภาพยนตร์, ภาพถ่าย และสื่อบันทึกเสียงของสปีชีส์ต่าง ๆ ในโลก
  3. FNA: Flora of North America North of Mexico [en] งานหลายรูปแบบที่อธิบายถึงพืชพื้นเมือง และการแนะนำพืชของทวีปอเมริกาเหนือ
  4. FOC: Flora of China [en] สิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายหรือแนะนำให้รู้จักกับพืชพื้นเมืองของประเทศจีน
  5. Eol: Encyclopedia of Life [en] ซึ่งเป็นสารานุกรมความร่วมมือออนไลน์ที่ไม่คิดค่าบริการ มุ่งหวังที่จะบันทึกสิ่งมีชีวิตทั้งหมด 1.9 ล้านชนิดที่รู้จักกันในทางวิทยาศาสตร์
  6. GBIF: Global Biodiversity Information Facility [en] องค์กรระหว่างประเทศที่มุ่งเน้นการสร้างข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยใช้บริการเว็บ
  7. GRIN: Germplasm Resources Information Network [en] ฐานข้อมูลออนไลน์ของโครงการทรัพยากรพันธุกรรมแห่งชาติของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) สำหรับการถือครองเชื้อพันธุกรรมพืชทั้งหมดที่เก็บรวบรวมโดยระบบพันธุกรรมพืชแห่งชาติสหรัฐอเมริกา
  8. iNaturalist: iNaturalist [en] โครงการพลเมืองวิทยาศาสตร์ในการทำแผนที่และแบ่งปันการสังเกตการณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก
  9. IPNI: International Plant Names Index [en] ฐานข้อมูลของชื่อและรายละเอียดบรรณานุกรมพื้นฐานที่เกี่ยวข้องของพืชมีเมล็ด, เฟิร์น และพืชมีท่อลำเลียง
  10. ITIS: Integrated Taxonomic Information System [en] ระบบข้อมูลแบบบูรณาการของหน่วยงานอิสระ ภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา ที่ออกแบบมาเพื่อให้ข้อมูลที่สอดคล้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับอนุกรมวิธานของสายพันธุ์ทางชีวภาพ
  11. IUCN: บัญชีแดงไอยูซีเอ็น รายการที่ครอบคลุมมากที่สุดของสถานะการอนุรักษ์ทั่วโลกของสายพันธุ์ทางชีวภาพ
  12. NCBI: National Center for Biotechnology Information [en] ข้อมูลอนุกรมวิธานจากศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา
  13. Plant List: The Plant List [en] ลำดับรายการรายชื่อทางพฤกษศาสตร์ของสายพันธุ์พืชที่สร้างขึ้นโดยสวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว สหราชอาณาจักร และสวนพฤกษศาสตร์มิสซูรี สหรัฐอเมริกา
  14. PLANTS: Natural Resources Conservation Service [en] ฐานข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ที่ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่เกษตรกร รวมถึงเจ้าของและผู้จัดการที่ดินอื่น ๆ
  15. Tropicos: Tropicos [en] ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์ออนไลน์ที่มีข้อมูลอนุกรมวิธานเกี่ยวกับพืช ที่ส่วนใหญ่มาจากเขตชีวภาพนีโอทรอปิก (ภูมิภาคอเมริกากลางและอเมริกาใต้)
  16. WCSP: World Checklist of Selected Plant Families [en] ความร่วมมือระหว่างประเทศที่ให้ข้อมูลการพิขญพิจารณ์ล่าสุด และตีพิมพ์เผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ และชื่อพ้องของตระกูลพืชที่เลือก

นี่เป็นชุดย่อยของฐานข้อมูลที่สามารถหาได้ และลิงก์เหล่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยอนุกรมวิธาน ขึ้นอยู่กับชนิดและความพร้อมของการบันทึกรายการฐานข้อมูล

ฐานข้อมูลที่สนับสนุน

[แก้]

รายการฐานข้อมูลที่สนับสนุนทั้งหมดสามารถดูได้ที่ en:Template: Taxonbar/doc#Taxon identifiers

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]