วิรุฬห์ พื้นแสน
วิรุฬห์ พื้นแสน | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 เมษายน พ.ศ. 2480 อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | เบญจา พื้นแสน |
พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน (15 เมษายน พ.ศ. 2480) อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[1]และอดีตสมาชิกวุฒิสภา เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
ประวัติ
[แก้]วิรุฬห์ เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2480 ที่บ้านเลขที่ 11 หมู่ 4 บ้านท่าสะพาน ตำบลกุดน้ำใส อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรคนที่ 2 จากทั้งหมด 12 คน ของนายสุทธิ และนางตา พื้นแสน (อาชีพครูประชาบาลในโรงเรียนประจำตำบลกุดน้ำใส) จบการศึกษาจากโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย และระดับปริญญาตรี ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 12
วิรุฬห์ พื้นแสน สมรสกับนางเบญจา พื้นแสน (สกุลเดิม รัชตวัฒน์) มีบุตร 2 คน คือ นาวาอากาศตรี จิรัฐติ์ พื้นแสน และนายณัฐพงศ์ พื้นแสน[2]
การทำงาน
[แก้]วิรุฬห์ พื้นแสน เข้ารับราชการตำรวจจนกระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงราย[3] ในระหว่างปี พ.ศ. 2543 - 2549[2]
ต่อจากนั้นจึงได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน ในปี พ.ศ. 2550[4] ต่อมาได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ พ.ศ. 2554 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 28[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2519 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[10]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF
- ↑ 2.0 2.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.ต.ท.วิรุฬห์ พื้นแสน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดเชียงราย (นางเตือนใจ ดีเทศน์ พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
- ↑ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-05. สืบค้นเมื่อ 2011-07-12.
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๓๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๖, ๒ เมษายน ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๐๔, ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๕ มกราคม ๒๕๑๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอพนมไพร
- ตำรวจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์