สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ชื่อย่อ | สอกฉ. / NEVIA |
---|---|
คติพจน์ | สร้างการอาชีวศึกษาเกษตรแนวใหม่ ให้มีคุรภาพ ได้มาตรฐานสากล |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี |
สถาปนา | 4 ธันวาคม 2557 |
สังกัดการศึกษา | สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา |
อธิการบดี | นายพรณรงค์ วรศิลป์ |
นายกสภาสถาบัน | ดร.รอยล จิตรดอน |
ที่ตั้ง | |
วิทยาเขต | |
สี | สีเขียว-ขาว-เหลือง |
เว็บไซต์ | www.nevia.ac.th |
สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อังกฤษ: Northeastern Vocational Institute of Agricultural) เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี ในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เกิดจากการรวมตัวกันของ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อทำหน้าที่ผลิตปัญญาชนด้านเกษตรกร ซึ่งเป็นรากฐานของประเทศ และเพิ่มอัตรากำลังคนอาชีวศึกษาให้ได้รับการศึกษาขั้นสูง โดยเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ(ทล.บ.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ประวัติ
[แก้]สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 มาตรา 13 กำหนดให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาสามารถรวมตัวกันเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาตามคำแนะนำ ของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยคำนึงถึงการประสานความร่วมมือเป็นสำคัญ เน้นให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา
หน้าที่ของสถาบัน
การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพต้องเป็นการจัดการศึกษาในด้านวิชาชีพที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นการยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยนำความรู้ในทางทฤษฎีอันเป็นสากลและภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาผู้รับการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในทางปฏิบัติ และมีสมรรถนะจนสามารถนำไปประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบอาชีพโดยอิสระได้
ต่อมาวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศกฎกระทรวง เรื่อง "การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ. 2556"[1]
โดยให้จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรออกเป็น 4 แห่ง ประกอบด้วย ดังต่อไปนี้
- สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคเหนือ
- สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง
- สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้
หลักสูตร
[แก้]สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับอนุมิติให้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ จากกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนดังนี้[2]
- หลักสูตรระยะสั้น
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- ระดับปริญญาตรี
ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ หลักสูตร 2 ปี(ต่อเนื่อง)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช (ต่อเนื่อง)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ (ต่อเนื่อง)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อเนื่อง)
ประกาศไว้ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม 2559 โดย พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]ส่วนราชการ
[แก้]- สำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน
- สำนักพัฒนายุทธศาสตร์และและความร่วมมืออาชวีศึกษา
- สำนักพัฒนาวิชาการและมาตรฐานทางการศึกษา
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา
- อาชีวศึกษาบัณฑิต
สาขาวิชา
[แก้]- สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช จัดกาเรียนการสอนที่ร้อยเอ็ด ขอนแก่น นครราชสีมา และมหาสารคาม ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2557 จากการที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ประกาศควบรวมเพื่อจัดตั้งสถาบันการศึกษาในสังกัด เพื่อยกระดับการศึกษาอาชีวศึกษาให้สูงถึงระดับปริญญาตรี จึงทำให้กลุ่มแผนกวิชาเกษตรกรรมและแผนกวิชาพืชศาสตร์ ที่มีอยู่เดิมแล้วในแต่ละวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพร้อมด้วยคณาจารย์ผู้มีคุณวุฒิของแผนกวิชาทั้งสอง จึงได้ร่างหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่องจากปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช เสนอเพื่อขออนุมัติเปิดทำการเรียนการสอนใน สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรับนักศึกษารุ่นแรก เมื่อ พ.ศ. 2558[3]
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
[แก้]
|
หลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | |||
---|---|---|---|
วิทยาลัย | ประกาศนียบัตรวิชาชีพ | ปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง | ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) |
ศูนย์กลางร้อยเอ็ด | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
|
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว๊บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เก็บถาวร 2018-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว๊บไซต์สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.isranews.orgl
- ↑ "หลักสูตรอาชีวศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-03. สืบค้นเมื่อ 2017-04-06.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-22. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.