สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์แห่งจอร์เจีย
สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์มหาราชินี | |
---|---|
ภาพเฟรสโกของสมเด็จพระราชินีนาถทามาร์ ณ โบสถ์ดอร์มิชัน ในวาร์ดเซีย | |
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งจอร์เจีย | |
ครองราชย์ | 27 มีนาคม ค.ศ. 1184 – 18 มกราคม ค.ศ. 1213[1] (28 ปี 297 วัน) |
ก่อนหน้า | กีออร์กีที่ 3 |
ถัดไป | กีออร์กีที่ 4 |
ประสูติ | ราวค.ศ. 1160 |
สวรรคต | 18 มกราคม ค.ศ. 1213 ปราสาทอาการานี | (53 ปี)
คู่อภิเษก | เจ้าชายยูรี โบกอลยูปสกี (แต่ง 1185; หย่า 1187) เจ้าชายดาวิท ซอสลาน (แต่ง 1191; ตาย 1207) |
พระราชบุตร | พระเจ้ากีออร์กีที่ 4 แห่งจอร์เจีย สมเด็จพระราชินีนาถรูซูดานแห่งจอร์เจีย |
ราชวงศ์ | บากราตีออนี |
พระราชบิดา | พระเจ้ากีออร์กีที่ 3 แห่งจอร์เจีย |
พระราชมารดา | เจ้าหญิงบูร์ดุกคานแห่งอลาเนีย |
ศาสนา | ศาสนาคริสต์ออร์ทอดอกซ์จอร์เจีย |
ลายพระอภิไธย |
สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์มหาราชินีแห่งจอร์เจีย (จอร์เจีย: თამარ მეფე, อักษรโรมัน: tamar mepe, tamar mepe "กษัตริย์ทามาร์") (ราว ค.ศ. 1160 - 18 มกราคม ค.ศ. 1213) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถผู้ครองราชย์ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งจอร์เจียตั้งแต่ค.ศ. 1184 ถึง ค.ศ. 1213 พระนางครองราชย์ในช่วงที่จุดรุ่งเรืองสูงสุดของยุคทองจอร์เจีย[2] พระนางทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์บากราตีออนี พระอิสริยยศของพระนางเป็นสตรีคนแรกที่ได้ปกครองจอร์เจียด้วยสิทธิของพระนางเองทำให้ทรงได้รับการเน้นในฐานะ "เมเป" (mepe; "กษัตริย์") ซึ่งปรากฏตามหลักฐานในยุคกลางที่กล่าวถึง "พระนางทามาร์"[3]
เจ้าหญิงทามาร์ได้รับการประกาศเป็นรัชทายาทและเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมในรัชกาลของพระเจ้ากีออร์กีที่ 3 แห่งจอร์เจีย พระราชบิดา ในค.ศ. 1178 แต่พระนางต้องเผชิญกับแรงต่อต้านจากขุนนางที่คัดค้านการขึ้นครองอำนาจเต็มรูปแบบของพระนางหลังการสวรรคตของพระราชบิดา สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์ประสบความสำเร็จในการลบล้างความขัดแย้งนี้และทรงเริ่มต้นนโยบายต่างประเทศที่ทรงพลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากความเสื่อมโทรมของจักรวรรดิเซลจุค พระนางทรงต่อยอดความสำเร็จจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนหน้าคือ การพึ่งพาชนชั้นนำทางทหารที่ทรงอำนาจในการกระชับอำนาจจักรวรรดิให้ครอบงำเทือกเขาคอเคซัส จนกระทั่งล่มสลายในสองทศวรรษให้หลัง หลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถทามาร์ ซึ่งถูกโจมตีโดยจักรวรรดิมองโกล[4]
สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์อภิเษกสมรสสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงค.ศ. 1185 ถึง 1187 เสกสมรสกับเจ้าชายจากรัส คือ เจ้าชายยูรี โบกอลยูปสกี ซึ่งต่อมาได้เป็นกษัตริย์พระราชสวามี เวลาถัดมา พระนางทรงหย่าร้างและเนรเทศเจ้าชายออกจากอาณาจักร เนื่องจากพระองค์ทรงพยายามก่อการรัฐประหารพระนาง พระราชสวามีพระองค์ที่สองเป็นบุคคลที่ทรงเลือกเองในค.ศ. 1191 คือ เจ้าชายจากอลาเนีย ชื่อ ดาวิท ซอสลาน ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสธิดา 2 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายกีออร์กีและเจ้าหญิงรูซูดาน ซึ่งทั้งสองได้ครองราชบัลลังก์จอร์เจียสืบต่อมา[5][4]
รัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถทามาร์เป็นช่วงเวลาของความสำเร็จทางการเมือง การทหารและวัฒนธรรม ประกอบกับบทบาทของพระนางในฐานะประมุขสตรี ทำให้ทรงมีสถานะเป็นบุคคลในอุดมคติและถูกทำให้เป็นเรื่องยวนใจในศิลปะจอร์เจียและความทรงจำทางประวัติศาสตร์ พระนางยังคงเป็นสัญลักษณ์สำคัญในวัฒนธรรมประชานิยมจอร์เจีย
อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Pennington, Reina; Higham, Robin D.S. (2003). Amazons to Fighter Pilots: A Biographical Dictionary of Military Women. Vol. 2. Greenwood Press. p. 428. ISBN 0-313-32708-4. สืบค้นเมื่อ 17 January 2018.
- ↑ Rapp 2003, p. 338.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อEastmond-109
- ↑ 4.0 4.1 Allen 1971, p. 104.
- ↑ Toumanoff 1966, "Armenia and Georgia", p. 623.
แหล่งที่มา
[แก้]- Alemany, Agustí (2000). Sources of the Alans: A Critical Compilation. Leiden, Boston and Köln: Brill. ISBN 90-04-11442-4.
- Allen, William Edward David (1971) [1932]. A History of the Georgian People: From the Beginning Down to the Russian Conquest in the Nineteenth Century (2nd ed.). New York: Routledge & Kegan Paul. ISBN 0-7100-6959-6.
- Čiževskij, Dmitrij (1971) [1960]. History of Russian Literature: From the Eleventh Century to the End of the Baroque. The Hague: De Gruyter (Mouton & Co., Publishers). ISBN 9789027919175.
- Dondua, Varlam; Berdzenishvili, Niko (1985). Жизнь царицы цариц Тамар (The Life of the Queen of Queens Tamar) (ภาษารัสเซีย). Tbilisi: Metsniereba. (English Summary)
- Dragadze, Tamara (1984). Kinship and Marriage in the Soviet Union: Field Studies. London and Boston: Routledge. ISBN 0-7100-0995-X.
- Eastmond, Antony (1997). "Gender and Orientalism in Georgia in the Age of Queen Tamar". ใน James, Liz (บ.ก.). Women, Men and Eunuchs: Gender in Byzantium. London and New York: Routledge. pp. 100–118. ISBN 0-415-14685-2.
- Eastmond, Antony (1998). Royal Imagery in Medieval Georgia. University Park, PA: Pennsylvania State Press. ISBN 0-271-01628-0.
- Humphreys, R. Stephen (1977). From Saladin to the Mongols: The Ayyubids of Damascus, 1193–1260. Albany, NY: State University of New York Press. ISBN 0-87395-263-4.
- Japaridze, Gocha (2012). "თამარ მეფის გარდაცვალების თარიღის შესახებ [On the Date of the Death of Queen Tamar]". Saistorio Krebuli (ภาษาจอร์เจีย). 2: 348–363. ISSN 1987-7285.
- Javakhishvili, Ivane (1983). ქართველი ერის ისტორია, ტ. 2. (History of the Georgian Nation, Volume 2) (PDF) (ภาษาจอร์เจีย). Tbilisi: Metsniereba. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-17. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
- Khazanov, Anatoly M.; Wink, André, บ.ก. (2001). Nomads in the Sedentary World. London and New York: Routledge. ISBN 0-7007-1369-7.
- Lordkipanidze, Mariam Davydovna; Hewitt, George B. (1987). Georgia in the XI–XII Centuries. Tbilisi: Ganatleba Publishers.
- Melikishvili, Giorgi; Anchabadze, Zurab (1979). საქართველოს ისტორიის ნარკვევები ტ. 3: საქართველო XI–XV საუკუნეებში (Studies in the History of Georgia, Volume 3: Georgia in the 11th–15th Centuries) (PDF) (ภาษาจอร์เจีย). Tbilisi: Sabchota Sakartvelo.[ลิงก์เสีย]
- Metreveli, Roin (1992). მეფე თამარი (Queen Tamar) (ภาษาจอร์เจีย). Tbilisi: Ganatleba Publishers. ISBN 5-520-01229-6.
- Oxfeldt, Elisabeth (2005). Nordic Orientalism: Paris and the Cosmopolitan Imagination. Copenhagen: Museum Tusculanum Press (University of Copenhagen). ISBN 87-635-0134-1.
- Pahlitzsch, Johannes (1996). "Georgians and Greeks in Jerusalem (1099–1310)". ใน Ciggaar, Krijnie; Teule, Herman (บ.ก.). East and West in the Crusader States. Leuven and Dudley: Peeters Press. pp. 35–52. ISBN 90-429-1287-1.
- Rapp, Stephen H. (1993). "Coinage of T'amar, Sovereign of Georgia in Caucasia". Le Muséon. 106 (3–4): 309–330. doi:10.2143/MUS.106.3.2006033.
- Rapp, Stephen H. (2003). Studies In Medieval Georgian Historiography: Early Texts And Eurasian Contexts. Leuven: Peeters. ISBN 90-429-1318-5.
- Rayfield, Donald (1994). The Literature of Georgia: A History. Oxford: Clarendon Press. ISBN 978-0-19-815191-3.
- Salia, Kalistrat (1983). History of the Georgian Nation (Translator: Katharine Vivian) (2nd ed.). Paris: Académie française.
- Kuehn, Sara (2011). The Dragon in Medieval East Christian and Islamic Art. Leiden: Koninklijke Brill NV. ISBN 9789004186637.
- Sikharulidze, Ksenia (1979). "Rituals and Songs of Weather in Georgian Poetic Folklore". ใน Blacking, John A.R.; Keali'inohomoku, Joann W. (บ.ก.). The Performing Arts: Music and Dance. IXth International Congress of Anthropologica. The Hague, Paris and New York: De Gruyter (Mouton Publishers). pp. 167–176. ISBN 90-279-7870-0.
- Suny, Ronald Grigor (1994) [1988]. The Making of the Georgian Nation (2nd ed.). Bloomington and Indianapolis: Indiana University Press. ISBN 0-253-20915-3.
- Spurling, Amy (2001). "The Georgian Literary Scene". PEN Bulletin of Selected Books. 51–53: 96.
- Tillett, Lowell (1969). The Great Friendship: Soviet Historians on the Non-Russian Nationalities. Chapel Hill: University of North Carolina Press.
- Toumanoff, Cyril (1966). "Armenia and Georgia". The Cambridge Medieval History (Volume 4). Cambridge: Cambridge University Press. pp. 593–637.
- Toumanoff, Cyril (July 1940). "On the Relationship between the Founder of the Empire of Trebizond and the Georgian Queen Thamar". Speculum. The University of Chicago Press. 15 (3): 299–312. doi:10.2307/2855207. JSTOR 2855207. S2CID 162584594.
- Tuite, Kevin (2003). "Political and Social Significance of Highland Shrines in Post-Soviet Georgia". Amirani. 9: 7–23.
- Vasiliev, A. A. (1935). Byzance et les Arabes, Tome I: La Dynastie d'Amorium (820–867) (ภาษาฝรั่งเศส). French ed.: Henri Grégoire, Marius Canard. Brussels, Belgium: Éditions de l'Institut de Philologie et d'Histoire Orientales. pp. 195–198.
- Vasiliev, Alexander (January 1936). "The Foundation of the Empire of Trebizond (1204–1222)". Speculum. The University of Chicago Press. 11 (1): 3–37. doi:10.2307/2846872. JSTOR 2846872. S2CID 162791512.
- Vateĭshvili, Dzhuansher Levanovich (2003). Грузия и европейские страны. Очерки истории взаимоотношений, XIII-XIX века. Том 1. Грузия и Западная Европа, XIII-XVII века. Книга 1. (Georgia and the European Countries: Studies of Interrelationship in the 13th–19th Centuries. Volume 1: Georgia and Western Europe, 13th–17th Centuries. Book 1.) (ภาษารัสเซีย). Moscow: Nauka. ISBN 5-02-008869-2.
เว็บไซต์อ้างอิง
[แก้]- Queen Tamar: The myth of a perfect ruler The Forum, BBC Sounds
- Georgian coins minted in Tamar's reign, Zeno – Oriental Coins Database.
- Irakli Paghava, THE FIRST ARABIC COINAGE OF GEORGIAN MONARCHS: REDISCOVERING THE SPECIE OF DAVIT IV THE BUILDER (1089–1125), KING OF KINGS AND SWORD OF MESSIAH
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์แห่งจอร์เจีย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้ากีออร์กีที่ 3 | สมเด็จพระราชินีนาถแห่งจอร์เจีย ร่วมกับ กษัตริย์กีออร์กีที่ 3 (1178-1184) กษัตริย์กีออร์กีที่ 4 (1207-1213) (ค.ศ. 1178 - ค.ศ. 1213) |
พระเจ้ากีออร์กีที่ 4 |