ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชินีฮุไมรา เบกุมแห่งอัฟกานิสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮุไมรา เบกุม
حميرا بیگم
สมเด็จพระราชินีฮุไมรา เบกุม กับพระราชสวามีของพระนาง พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์ทำเนียบขาว ในปี พ.ศ. 2506
สมเด็จพระราชินีอัฟกานิสถาน
ดำรงพระยศ8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516
พระราชสมภพ24 กรกฎาคม พ.ศ. 2461
กรุงคาบูล, เอมิเรตอัฟกานิสถาน
สวรรคต26 มิถุนายน พ.ศ. 2545 (83 ปี)
โรม, อิตาลี
ฝังพระศพเนินเขามารันจัน
คู่อภิเษกพระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์
พระราชบุตร
ราชวงศ์บารักไซ
พระราชบิดาชาร์ดา ฮาเหม็ด ชาห์ ข่าน
พระราชมารดาไซเรน เบกุม
ศาสนาอิสลามซุนนี

สมเด็จพระราชินีฮุไมรา เบกุม (เปอร์เซีย: حميرا بیگم ; 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 – 26 มิถุนายน พ.ศ. 2545)[1] เป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน พระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ณ เอมิเรตอัฟกานิสถาน เป็นบุตรีของ ชาร์ดา ฮาเหม็ด ชาห์ ข่าน กับ ไซเรน เบกุม พระเชษฐาในเจ้าหญิงมาห์ ปาวาร์ เบกุม พระมเหสีในพระเจ้าโมฮัมหมัด นาเดียร์ ชาห์ และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์สุดท้ายแห่งอัฟกานิสถาน

อภิเษกสมรส

[แก้]

นางสาวฮไมรา เบกุม ทรงเข้าพระราชภิธีอภิเษกสมรสกับ พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน ขณะนั้นดำรงพระราชอิสริยยศที่ มกุฎราชกุมารแห่งอัฟกานิสถาน เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2474 รับพระราชทานพระราชอิสริยยศ เจ้าหญิงฮุไมรา เบกุม มกุฎราชกุมารีแห่งอัฟกานิสถาน พระวรชายา ขณะนั้น พระราชสวามีมีพระชนมายุ 18 พรรษา และพระองค์มีพระชนมายุ 14 พรรษา มีพระราชุบตรดังนี้

  1. เจ้าหญิงบิลควิส เบกุม
  2. เจ้าชายมูฮัมเหม็ด อักบัร ข่าน มกุฎราชกุมารแห่งอัฟกานิสถาน
  3. เจ้าชายอาหมัด ชาห์ ข่าน มกุฎราชกุมารแห่งอัฟกานิสถาน
  4. เจ้าหญิงมัรยัม เบกุม
  5. เจ้าชายโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์
  6. เจ้าชายชาห์ มาห์มูด ข่าน
  7. เจ้าชายมูฮัมหมัด ดาวูด พาทุนยา ข่าน
  8. เจ้าชายไมร์ เวส ข่าน

หลังจากนั้น วันที่ 8 พฤศจิกายน 2476 พระราชสวามีเสด็จขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน พระองค์จึงกลายเป็น สมเด็จพระราชินีแห่งอัฟกานิสถาน

พระชนม์ชีพที่ทุกข์ลำบาก

[แก้]

พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน และ สมเด็จพระราชินีฮุมไรา พร้อมด้วยพระราชบุตรทั้ง 8 พระองค์ ต้องเผชิฐความลำบากมาก เนื่องจาก 2516 เกิดการปฏิวัติโค่นล้มระบอบกษัตริย์ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ ประเทศอิตาลี ซึ่งพระราชสวามีทรงกำลังผ่าตัดดวงพระเนตร (ดวงตา) และทรงมีพระอาการปวดที่พระกฤษฎี (เอว) ซึ่งขณะนั้น โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน นายกรัฐมนตรีของอัฟกานิสถาน พระญาติในพระราชสวามี ได้พยายามทำการโค่นล้มรัฐบาลเพื่อนำพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินกลับ แต่ก็เป็นผลน้อยมาก พระราชสวามีเลือกสละราชสมบัติแทนที่การเกิดสงครามกลางเมือง พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพต่างประเทศถึง 29 ปี โดยทรงดำรงพระชนม์ชีพแบบสามัญชนธรรมดา มิได้โอ้อวดถึงพระราชอิสริยยศหรือตำแหน่ง พระราชสวามีทรงมีบัญชีทางธนาคาร ซึ่งเป็นความช่วยเหลือที่พระสหายทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย

สวรรคต

[แก้]

หลังจากที่เหตุการณ์บ้านเมืองสงบลงนั้น ก่อนที่พระราชสวามี พระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินกลับ สมเด็จพระราชินีฮุไมรา เบกุมแห่งอัฟกานิสถาน ทรงประชวนด้วยพระอาการหายพระทัยไม่ถนัด และโรคพระหทัย ไม่นานหลังจากนั้น สมเด็จพระราชินีฮุไมรา เบกุมแห่งอัฟกานิสถานได้สวรรคตลงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2545 สิริพระชนมายุ 83 พรรษา

เหรียญในพระองค์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Englisch, Andreas (29 June 2002). "Homaira, Afghanistans Exil-Königin". Die Welt (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2019. สืบค้นเมื่อ 8 January 2022. Homaira Begum Schah wurde am 24. Juli 1916 in Kabul geboren und starb am 26. Juni 2002 in Rom.
  2. "Photo". cloudfront.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-11. สืบค้นเมื่อ 2019-10-02.
  3. "Photo". cloudfront.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-11. สืบค้นเมื่อ 2019-10-02.
  4. "Afghan Queen Homeira (L), French Preside".
  5. Bildung, Bundeszentrale für politische. "Deutschlands Engagement in Afghanistan - www.bpb.de". www.bpb.de.