สุเมธ ตันติเวชกุล
หน้าตา
สุเมธ ตันติเวชกุล | |
---|---|
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน 2531 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2482 จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงจินตนา ตันติเวชกุล |
บุตร | 2 คน |
บุพการี |
|
สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ประธานกรรมการของบริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ที่ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของนาย อารีย์ ตันติเวชกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 3 สมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ท่านผู้หญิงประสานสุข ตันติเวชกุล ต้นเครื่องพระกระยาหารไทยในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ รองศาสตราจารย์ คุณหญิงจินตนา ตันติเวชกุล อาจารย์ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีบุตร 2 คน คือ นายณิชศีล และ นายอรวัต ตันติเวชกุล
การศึกษา
[แก้]- ประถมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ (เรียนเพียงปีเดียว)
- วชิราวุธวิทยาลัย
- ระดับมัธยมและอนุปริญญา ที่ประเทศเวียดนามและประเทศลาว ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส
- ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบล์ ประเทศฝรั่งเศส
- ปริญญาโท-เอกทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมงเปอลีเย (Université de Montpellier) ประเทศฝรั่งเศส
- ประกาศนียบัตร การพัฒนาเศรษฐกิจ EDI ธนาคารโลก วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
- ประกาศนียบัตร การวางแผนเศรษฐกิจ IIAP สถาบันบริหารระหว่างประเทศ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 28
- วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 23
การทำงาน
[แก้]- พ.ศ. 2513 เข้าทำงานที่กองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- พ.ศ. 2523 รองเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
- พ.ศ. 2524-2542 เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
- พ.ศ. 2537-2539 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)
- พ.ศ. 2540-2542 กรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- พ.ศ. 2548-2554 นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
- พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน ที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารทรัพยากรน้ำ(กยน.)และ คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(กนอช.)
- พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน ประธานกรรมการ และกรรมการอิสระ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)[1]
รางวัลเกียรติคุณ
[แก้]- รางวัลบุคคลตัวอย่างประจำปี 2537
- รางวัลผู้บริหารราชการ ดีเด่น ประจำปี 2538
- รางวัลบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
- รางวัลบุคคล ดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. 2541
- วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2541
- ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาจิตวิทยา ประจำปีการศึกษา 2552 จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
หนังสือที่แต่ง
[แก้]- ใต้เบื้องพระยุคลบาท ,2543
- หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท ,2549
- ข้าแผ่นดินสอนลูก ,2549
- อะไรกันละหว่า?,2561
- บันทึกนึกอร่อย ,2567
- ชีวิตนี้ชะตาลิขิต,2567
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[2]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[5]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[8]
- พ.ศ. 2543 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[9]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "อมรินทร์ เปิดชื่อบอร์ดบริหารชุดใหม่ 'ดร.สุเมธ' นั่งปธ.กรรมการ หลังตระกูลอุทกะพันธุ์ ลาออก". มติชน.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๒๙ กันยายน ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๖๑, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๐, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๖ ง หน้า ๘๑๙๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑, ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองเพชรบุรี
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักวิชาการชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเกรอนอบล์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยมงเปอลีเย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- บุคคลผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยพะเยา
- ประธานบริษัทชาวไทย