หนังสือพระวรสาร
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
หนังสือพระวรสาร (กรีก: Εὐαγγέλιον, Evangélion, อังกฤษ: Gospel Book หรือ Book of the Gospels) เป็นประเภทของวรรณกรรมคริสต์ศาสนา ที่เป็นประมวลหรือหนังสือรวมเล่มที่ประกอบด้วยพระวรสารในสารบบทั้งสี่ฉบับในพันธสัญญาใหม่ของคริสต์ศาสนา หนังสือพระวรสารจะมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ครบถ้วนและจัดเรียงตามลำดับพระวรสาร ซึ่งต่างจาก “หนังสือพระวรสารฉบับตัดตอน” (Evangeliary) ซึ่งมีเนื้อหาเฉพาะบางตอนจากพระวรสารเท่านั้นที่ใช้ในการทำพิธีมิสซาหรือคริสต์ศาสนพิธีอื่นๆ
ประวัติ
[แก้]ในยุคกลางการสร้างคัมภีร์ไบเบิลทั้งฉบับเป็นสิ่งที่หายาก การผลิตหนังสือแต่ละเล่มหรือประมวลหนังสือก็จะทำโดยมีวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง หนังสือพระวรสารสร้างขึ้นเพื่อทั้งใช้ในการศึกษาเป็นการส่วนบุคคล หรือ เพื่อใช้เป็น “หนังสือแสดง” ในพิธีและเพื่อการตกแต่ง ฉะนั้นหนังสือบางเล่มจึงสร้างกันอย่างหรูหราวิจิตร โดยเฉพาะหนังสือพระวรสารที่นิยมสร้างกันมากก็จะเป็นหนังสือที่เรียกว่า “หนังสือวิจิตร” ที่ได้รับการตกแต่งอย่างเต็มที่มาจนถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 เมื่อมาแทนที่ด้วยหนังสือเพลงสวดสดุดีและคัมภีร์ไบเบิลโรมาเนสก์ทางตะวันตก แต่ทางตะวันออกหนังสือพระวรสารก็คงยังดำรงความนิยมกันอยู่จนกระทั่งเมื่อมีวิวัฒนาการการพิมพ์กันขึ้น การตกแต่งที่นิยมกันก็จะเป็นภาพเหมือนประกาศก งานชิ้นเอกส่วนใหญ่ของหนังสือวิจิตรของศิลปะเกาะเป็นหนังสือพระวรสาร รวมทั้งหนังสือพระวรสารของไบแซนไทน์และ ราชวงศ์กาโรแล็งฌีย็องอีกหลายฉบับ แต่หนังสือพระวรสารส่วนใหญ่ก็มิได้รับการสร้างให้เป็นหนังสือวิจิตร หรือเพียงแต่ตกแต่งด้วยอักษรตัวต้นประดิษฐ์หรือสิ่งอื่นๆ อีกเพียงเล็กน้อย เนื้อหาของหนังสือพระวรสารก็จะเป็นข้อความจากพระวรสารเอง, หนังสือสนับสนุนที่รวมทั้งตารางแบ่งพระวรสาร (Eusebian Canons), บทสรุปข้อความ, อภิธานศัพท์ และคำอธิบายอื่นๆ
หนังสือพระวรสารฉบับสำคัญ
[แก้]- “Ada Gospels”
- “Rossano Gospels”
- “Rabula Gospels”
- “Mulling Gospels”
- “Book of Durrow”
- “Echternach Gospels”
- “St. Augustine Gospels”
- “Stonyhurst Gospel”
- “Durham Gospels”
- “พระวรสารลินดิสฟาร์น”
- “Lichfield Gospels” (หรือที่รู้จักกันว่า St. Chad Gospels)
- “Leningrad Gospels”
- “พระวรสารเคลล์ส”
- “Barberini Gospels”
- “พระวรสารบรมราชาภิเษกเวียนนา”
- “Aachen Coronation Gospels”
- “Ebbo Gospels”
- “พระวรสารเซนต์เอมเมอแรม”
- “พระวรสารลอร์สช”
- “Codex Aureus of Echternach”
- “Gospels of Henry the Lion”
- “Tetraevangelia of Ivan Alexander”
- “Peresopnytsia Gospels”
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ฉากจากทุกขกิริยาของพระเยซู
“พระวรสารเซนต์ออกัสติน”คริสต์ศตวรรษที่ 6
อิตาลี -
“พระวรสารรอสซาโน”
คริสต์ศตวรรษที่ 6
อิตาลี -
“พระวรสารเดอร์โรว์”
คริสต์ศตวรรษที่ 7
อังกฤษ/ไอร์แลนด์? -
“พระวรสารลินดิสฟาร์น”<ref>Celtic and Anglo-Saxon Art: Geometric Aspects Derek Hull, Published 2003 -
หน้าปก “พระวรสารลอร์สช”
ราว ค.ศ. 778 ถึงค.ศ. 820
โดยสกุลช่างของราชสำนัก
ของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ -
“พระวรสารอดา”
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9
จักรวรรดิแฟรงค์ -
หน้าปก “พระวรสารบรมราชาภิเษก”
ออสเตรีย -
หน้าปกของหนังสือพระวรสารของ
ซาร์อเล็กซี -
“พระวรสารเฮนรีเดอะไลออน”
คริสต์ศตวรรษที่ 12
เยอรมนี
อ้างอิง
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หนังสือพระวรสาร