อันดับปลาคาราซิน
หน้าตา
อันดับปลาคาราซิน ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียสยุคต้น-ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
Rhaphiodon vulpinus ในวงศ์ Cynodontidae พบในแม่น้ำอเมซอนและสาขา มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกับปลาฝักพร้า (Macrochirichthys macrochirus) มาก ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กันและพบกันต่างทวีป ต่างกันที่ครีบไขมันซึ่งฝักพร้าไม่มี | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Characiformes |
วงศ์ | |
|
อันดับปลาคาราซิน (อังกฤษ: Characins) หรือ อันดับปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นอันดับปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่พบในทวีปอเมริกาเหนือจรดถึงทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา โดยใช้ชื่ออันดับว่า Characiformes สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นหลายวงศ์ โดยมี วงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) เป็นวงศ์หลักที่มีจำนวนสมาชิกมาก
หลายชนิดเป็นปลาที่รู้จักดี เช่น ปลาปิรันย่า, ปลาเปคู หรือ ปลาขนาดเล็ก ที่เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลานีออน เป็นต้น ซึ่งปลาในขนาดเล็กในอันดับนี้มักถูกเรียกชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "เตตร้า" (Tetra)
จุดเด่นของปลาในอันดับนี้ คือ มีครีบไขมัน ซึ่งเป็นครีบขนาดเล็กที่เป็นร่องรอยเหลือจากวิวัฒนาการในอดีตหลงเหลืออยู่ ที่ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว ปรากฏอยู่ระหว่างครีบหลังก่อนถึงต้นครีบหาง
วงศ์ในอันดับปลาคาราซินมีตามนี้
- Acestrorhynchidae
- Alestidae
- Anostomidae
- Characidae (วงศ์ปลาคาราซิน)
- Chilodontidae
- Citharinidae
- Crenuchidae
- Ctenoluciidae
- Curimatidae
- Cynodontidae (วงศ์ปลาฟันสุนัข)
- Distichodontidae
- Erythrinidae
- Gasteropelecidae
- Hemiodontidae
- Hepsetidae
- Lebiasinidae
- Parodontidae
- Prochilodontidae
- † Salminopsidae สูญพันธุ์แล้ว
- Serrasalmidae
- † Sorbinicharacidae สูญพันธุ์แล้ว[1][2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Nelson, Joseph, S. (2006). Fishes of the World. John Wiley & Sons, Inc. ISBN 0-471-25031-7.; Buckup P.A.: "Relationships of the Characidiinae and phylogeny of characiform fishes (Teleostei: Ostariophysi)", Phylogeny and Classification of Neotropical Fishes, L.R. Malabarba, R.E. Reis, R.P. Vari, Z.M. Lucena, eds. (Porto Alegre: Edipucr) 1998:123-144.
- ↑ "Characiformes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-14. สืบค้นเมื่อ 2010-06-11.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Characiformes