อำเภอศรีประจันต์
อำเภอศรีประจันต์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Si Prachan |
วัดไก่เตี้ย มีเจดีย์ทรงลังกาวี ได้รับอิทธิพลจากสิลปะแบบลังกาผสมอู่ทอง ฐานมีลายสลักรูปไก่ขนาดเล็กโดยรอบ (สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อวัด) | |
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอศรีประจันต์ | |
พิกัด: 14°37′11″N 100°8′40″E / 14.61972°N 100.14444°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 181.0 ตร.กม. (69.9 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 61,068 คน |
• ความหนาแน่น | 337.39 คน/ตร.กม. (873.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7205 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 72140 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ศรีประจันต์ เป็นอำเภอในจังหวัดสุพรรณบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอศรีประจันต์ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสามชุก และอำเภอแสวงหา (จังหวัดอ่างทอง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอโพธิ์ทองและอำเภอสามโก้ (จังหวัดอ่างทอง)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอดอนเจดีย์
ประวัติ
[แก้]เดิมเขตท้องที่อำเภอศรีประจันต์นี้ขึ้นกับอำเภอท่าพี่เลี้ยงและอำเภอนางบวช แต่อำเภอทั้งสองมีอาณาเขตกว้างใหญ่เกินไป ราษฎรไปมาลำบาก ทางราชการจึงได้แบ่งท้องที่อำเภอท่าพี่เลี้ยงตอนเหนือและแบ่งท้องที่อำเภอนางบวชตอนใต้มารวมตั้งอำเภอขึ้นอีกอำเภอหนึ่ง รวมเรียกว่า "อำเภอศรีประจันต์" โดยยืมชื่อศรีประจัน แม่ยายขุนแผนในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ซึ่งน่าจะมีภูมิลำเนาในเขตท้องที่ที่ตั้งเป็นอำเภอใหม่นี้[ต้องการอ้างอิง] อำเภอศรีประจันต์ได้ตั้งเมื่อ ร.ศ. 120 หรือ พ.ศ. 2444 และแบ่งการปกครองออกเป็น 22 ตำบล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเขียน "ศรีปะจันต์" แต่ต่อมาใน พระราชหัตถเลขา เรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า เมื่อ ร.ศ. 127 (คือ พ.ศ. 2451) ทรงเขียนชื่ออำเภอนี้ว่า "ศรีประจันต์" ในข้อความว่า "พลับพลาที่พักนี้ตั้งตำบลบ้านกร่าง ใกล้กับที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ฝั่งตะวันออก ตรงกับวัดที่ชื่อเดียวกันข้าม มีพระเจดีย์กลางน้ำองค์หนึ่ง เป็นพระเจดีย์ไม้สิบสองอยู่ข้างเขื่อน ว่าเป็นที่ราษฎรประชุมกันไหว้พระทุกปี"[1]
ในปี พ.ศ. 2499 ได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลศรีประจันต์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลศรีประจันต์ และต่อมาได้มีการขยายเขตพื้นที่สุขาภิบาลให้ครอบคลุมบางส่วนของตำบลบ้านกร่าง เมื่อปี พ.ศ. 2502
ใน พ.ศ. 2505 ได้แยกพื้นที่ฝั่งทิศตะวันตกของทางอำเภอ ได้แก่ ตำบลดอนเจดีย์และตำบลหนองสาหร่าย ออกไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอดอนเจดีย์[2] ในปีเดียวกัน ประชาชนได้แจ้งแก่ทางราชการว่า ตำบลสระกระโจมไปติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอดอนเจดีย์สะดวกกว่าไปติดต่อกับอำเภอศรีประจันต์ จึงได้โอนไปขึ้นกับทางกิ่งอำเภอดอนเจดีย์[3] ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2505 อำเภอเมืองสุพรรณบุรีได้โอนพื้นที่ตำบลไร่รถมาขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์[4] และได้โอนพื้นที่ตำบลไร่รถที่มาขึ้นการปกครองใหม่ไปขึ้นกับทางกิ่งอำเภอดอนเจดีย์[5] และแยกเป็นอำเภอเอกเทศออกจากอำเภอศรีประจันต์ใน พ.ศ. 2508[6]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอศรีประจันต์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล ได้แก่
1. | ศรีประจันต์ | (Si Prachan) | 6. | ปลายนา | (Plai Na) | ||||||||||||
2. | บ้านกร่าง | (Ban Krang) | 7. | วังหว้า | (Wang Wa) | ||||||||||||
3. | มดแดง | (Mot Daeng) | 8. | วังน้ำซับ | (Wang Nam Sap) | ||||||||||||
4. | บางงาม | (Bang Ngam) | 9. | วังยาง | (Wang Yang) | ||||||||||||
5. | ดอนปรู | (Don Pru) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอศรีประจันต์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลศรีประจันต์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลศรีประจันต์และตำบลบ้านกร่าง
- เทศบาลตำบลวังยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังยางทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลปลายนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลายนาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านกร่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกร่าง (นอกเขตเทศบาลตำบลศรีประจันต์)
- เทศบาลตำบลวังหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหว้าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลวังน้ำซับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้ำซับทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศรีประจันต์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีประจันต์ (นอกเขตเทศบาลตำบลศรีประจันต์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลมดแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมดแดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางงามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนปรู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนปรูทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี - ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2566
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (4 ง): 32–33. วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2505
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอดอนเจดีย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (40 ง): 1166–1167. วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2505
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี และอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. ๒๕๐๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (69 ง): 821–823. วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (103 ง): 2449. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอไพศาลี อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านกรวด อำเภอเด่นชัย อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอกะเปอร์ อำเภออากาศอำนวย อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอจอมพระ และอำเภอสามโก้ พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (59 ก): 565–569. วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2508