เจ้าจอมมารดาห่วง ในรัชกาลที่ 4
เจ้าจอมมารดาห่วง ในรัชกาลที่ 4 | |
---|---|
เสียชีวิต | พ.ศ. 2463 |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บุตร | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญกมลสุขสวัสดิ์ |
บิดามารดา | ขุนเทพฯ เกษ |
เจ้าจอมมารดาห่วง เป็นนางละครและบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งให้ประสูติการพระราชโอรสและพระราชธิดาสามพระองค์คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญกมลสุขสวัสดิ์[1]
ประวัติ
[แก้]เจ้าจอมมารดาห่วง เป็นธิดาของขุนเทพฯ กับเกษ ถวายตัวเข้าเป็นฝ่ายในสนองพระเดชพระคุณเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ให้ประสูติการพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสิ้นสามพระองค์คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญกมลสุขสวัสดิ์
เจ้าจอมมารดาห่วงมีชื่อเสียงจากการรับบทเป็นนางจินตะหรา จากละครเรื่อง อิเหนา และได้เป็นครูละครหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[2]
หลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตก็ยังพำนักอยู่ในพระบรมมหาราชวังจนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปีวอก พ.ศ. 2463[3] ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2463 ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2436 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า[5]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://digital.lib.kmutt.ac.th/king4/index_family.html
- ↑ ตำนานละครครั้งรัชกาลที่ ๔ [1]
- ↑ มหาชาติพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมมารดาห่วงรัชกาลที่ 4 ปีวอก พ.ศ. 2463[2][ลิงก์เสีย]
- ↑ "การพระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายน่าฝ่ายใน แลศพข้าราชการฝ่ายใน ทั้งศพเสนาบดี แลข้าราชการฝ่ายน่า บางศพซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงเปนการพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0 ง): หน้า 553. 23 พฤษภาคม 2463.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๓๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 570