เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)
เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) | |
---|---|
ปลัดกรมพระตำรวจ | |
ผู้ช่วยปลัดกรมท่า | |
ผู้สำเร็จราชการในกิจการต่างประเทศ | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2356 |
เสียชีวิต | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2413 (56 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงหนู ทิพากรวงศ์ |
เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี นามเดิม ขำ ตระกูลบุนนาค (1 ตุลาคม พ.ศ. 2356 — 12 มิถุนายน พ.ศ. 2413) เป็นขุนนางและนักเขียนชาวไทย
ประวัติ
[แก้]เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดีเกิดเมื่อปี 2356 ในตระกูลบุนนาค ซึ่งเป็นตระกูลขุนนางไทยที่ทรงอิทธิพลและมีเชื้อสายเปอร์เซีย[1] บิดาของท่านคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพี่ชายของท่านคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ว่าสมุหพระกลาโหมต่อมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชีวิตราชการ
[แก้]เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เข้ารับราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในตำแหน่งขุนนางในกรมท่า หลังจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี 2394 ตระกูลบุนนาคก็มีบทบาทสำคัญในการคัดเลือกผู้สืบราชบัลลังก์ การสนับสนุนพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นสู่ราชบัลลังก์ ทำให้ท่านได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีกรมท่าในปี 2396 เสนาบดีพระคลังในปี 2398 และตำแหน่งเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดีในปี 2408 (ก่อนจะเปลี่ยนเป็นทิพากรวงศ์)[1]
ผลงาน
[แก้]หลังจากสุขภาพไม่ดีจนต้องเกษียณอายุราชการในปี 2410 เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ก็ใช้เวลาที่เหลือของชีวิตเขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และศาสนา[1] ในปี 2410 ท่านได้เขียนหนังสือชื่อ หนังสือแสดงกิจจานุกิจ[2] เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ได้รับพระบรมราชโองการจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เขียนพระราชพงศาวดารของกษัตริย์สี่รัชกาลแรกในราชวงศ์จักรีชื่อ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งท่านเขียนเสร็จก่อนอสัญกรรมในปี 2413 แม้ว่าพระราชพงศาวดารทั้ง 4 เล่มจะแล้วเสร็จภายในปี 2413 แต่ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ก็ไม่ได้รับการตีพิมพ์จนถึงปี 2477 ผลงานทางประวัติศาสตร์ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ชุดนี้ได้รับการชำระเนื้อหาโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (สำหรับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 นิพนธ์โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
ครอบครัว
[แก้]ภรรยาของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดีคือท่านผู้หญิงหนู บุตรีของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์ ณ นคร) บิดานำถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดให้เป็นละครหลวง ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้เป็นเจ้าจอมอยู่งาน และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้เป็นภรรยาเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี
จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านป่วยเป็นวัณโรค และถึงแก่กรรมในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2413 เวลาเช้า 4 โมงเศษ สิริอายุ 78 ปี พระราชทานหีบทองตามเกียรติยศ[3]
อ้างอิง
[แก้]- วิมล พงศ์พิพัฒน์ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 14 พ.ศ. 2527 -2528 หน้า 8681
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Bentiage, Bjorn, Eggert, Marion, Kramer, Hans-Martin, and Reichmuth, Stefan "Religious Dynamics Under the Impacts of Imperialism and Colonialism: A Sourcebook" pp.63-4
- ↑ Bentiage pp. 67-69
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม 7, ตอน 35, 30 พฤศจิกายน 2433, หน้า 311-312
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ชมรมสายสกุลบุนนาค เก็บถาวร 2007-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน