เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน
หน้าตา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน | |
---|---|
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1] | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 | |
จเรตำรวจแห่งชาติ[2] | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557 | |
ถัดไป | พลตำรวจเอก ชนินทร์ ปรีชาหาญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2501 อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม |
คู่สมรส | นางธารศรี ศรีวรขาน |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
---|---|
ประจำการ | พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2562 |
ชั้นยศ | พลตำรวจเอก |
พลตำรวจเอก เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน เกิดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2501 รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตจเรตำรวจแห่งชาติ และอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[3]
ประวัติ
[แก้]พลตำรวจเอก เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน เกิดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ที่ตำบลหนองแสง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เป็นบุตรของ นายสมภาพ กับนางเวียงงาม ศรีวรขาน สมรสกับ นางธารศรี ศรีวรขาน (สกุลเดิม พรหมนอก) บุตรสาวของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก อดีตรองนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงวารุณี มีบุตรชาย 3 คน คือ ร.ต.ท.ชัยโชติ ศรีวรขาน , นายกรพล ศรีวรขาน และ ร.ต.ต.กรวัฒน์ ศรีวรขาน[3]
ประวัติการศึกษา
[แก้]- สำเร็จปฐมศึกษาที่ โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร
- สำเร็จมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
- สำเร็จรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (ตำรวจ) จาก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 35
- สำเร็จปริญญาโท บริหารรัฐกิจ จาก มหาวิทยาลัยเคนตั๊กกี้สเตรท
- อบรมหลักสูตร เอฟบีไอ (FBI) รุ่น 201
- อบรมหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ เอกชน การเมือง รุ่นที่ 3 (วปอ.2548)
- อบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บยส.) รุ่นที่ 17
- อบรมหลักสูตรนักบริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง (บยป.) รุ่นที่ 5[3]
ประวัติการรับราชการ
[แก้]เคยดำรงตำแหน่งสำคัญของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ทั้งงานด้านป้องกันปราบปราม งานสืบสวนสอบสวน งานความมั่นคง รวมทั้งงานบริหาร ดังนี้
- พ.ศ. 2535 สารวัตร 3 กองกำกับการ 3 กองตำรวจสันติบาล 2
- พ.ศ. 2537 รองผู้กำกับการ 2 กองบังคับการปราบปราม
- พ.ศ. 2539 ผู้กำกับการ 4 กองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 1
- พ.ศ. 2540 นายเวร อธิบดีกรมตำรวจ
- พ.ศ. 2544 ผู้บังคับการ สำนักงาน กต.ตร.
- พ.ศ. 2550 ผู้บัญชาการ ประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- พ.ศ. 2554 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- พ.ศ. 2555 ที่ปรึกษา (สบ 10)
- พ.ศ. 2556 จเรตำรวจแห่งชาติ[4]
- พ.ศ. 2557 รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เอกฉันท์! โผบิ๊ก ตร.ผ่านฉลุย เฉลิมเกียรติ, จักรทิพย์ รอง ผบ.ตร.
- ↑ ถกเครียด 2 ชั่วโมง แต่งตั้ง-โยกสลับพลตำรวจ 42 ตำแหน่ง
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-05. สืบค้นเมื่อ 2018-10-07.
- ↑ ถกเครียด 2 ชั่วโมง แต่งตั้ง-โยกสลับพลตำรวจ 42 ตำแหน่ง
- ↑ เอกฉันท์! โผบิ๊ก ตร.ผ่านฉลุย เฉลิมเกียรติ, จักรทิพย์ รอง ผบ.ตร.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๒๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๒๗๖, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘