เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์
มีการแนะนำว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรย้ายไปรวมกับบทความ รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (อภิปราย) |
ที่อยู่ | ชั้น 4 ศูนย์การค้าเอสพละนาด รัชดาภิเษก ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร |
---|---|
ชนิด | โรงละครในร่ม |
ประเภท | Proscenium |
เปิดใช้ | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 |
ปรับปรุง | เคยมีการเปลี่ยนที่นั่งใหม่ |
เจ้าของ | ซีเนริโอ ธนาคารไทยพาณิชย์ เมืองไทยประกันชีวิต |
มูลค่าการก่อสร้าง | 500 ล้านบาท ( 2550 ) |
ความจุ | 1,512 ที่นั่ง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ |
เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ (อังกฤษ: Muangthai Rachadalai Theatre) เป็นโรงละครของซีเนริโอ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 และ 6 ศูนย์การค้าเอสพลานาด ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ใช้สำหรับจัดแสดงละครเวทีของซีเนริโอ คอนเสิร์ต การแสดง การประชุม และกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ รวมถึงงานที่จัดแสดงโดยบริษัทในกลุ่มเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เวทีโรงละครเป็นแบบกรอบโพซีเนียม รองรับผู้ชมถึง 1,512 ที่นั่ง นับเป็นโรงละครที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในปัจจุบัน และได้มาตรฐานระดับเดียวกับโรงละครบรอดเวย์[1][2]
ประวัติ
[แก้]บอย - ถกลเกียรติ วีรวรรณ กรรมการผู้จัดการในขณะนั้นของซีเนริโอ ซึ่งเป็นผู้จัดแสดงละครเวทีแห่งเดียวของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เล็งเห็นถึงความสำเร็จและกระแสตอบรับที่ดีของละครเวทีที่ตัวเองจัดแสดงขึ้น จึงได้ต่อยอดเล็งเพื่อสร้างโอกาสและช่องทางทางธุรกิจใหม่ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้มากขึ้นและสร้างกระแสให้คนดูหันมาดูละครเวทีมากขึ้น โดยการสร้างโรงละครขึ้นเพื่อรองรับละครเวทีที่ซีเนริโอจะจัดแสดงในอนาคต โดยซีเนริโอได้ร่วมทุนกับเมืองไทยประกันชีวิต และธนาคารไทยพาณิชย์ สร้างเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ขึ้นภายในศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก โดยใช้เงินลงทุนรวมจากทั้ง 3 บริษัทเป็นจำนวนเงินมากกว่า 500 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายในเวลา 7 ปี[1]
วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปิดโรงละครอย่างเป็นทางการ[3] และได้ทำการแสดงละครเวที ฟ้าจรดทราย เดอะมิวสิคัล รอบปฐมทัศน์ เป็นละครเวทีเรื่องแรกที่จัดแสดงในโรงละครแห่งนี้[2]
การจัดสรรพื้นที่
[แก้]เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ มีพื้นที่ใช้สอยภายในรวมทั้งสิ้นประมาณ 6,500 ตารางเมตร พื้นที่ทั้งหมดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
- ชั้น 4 จัดสรรเป็นโถงต้อนรับผู้ชมจากส่วนศูนย์การค้า มีอาร์คาเฟ่ อาร์ช็อป รวมทั้งจุดบริการของไทยทิคเก็ตเมเจอร์
- ชั้น 6 ซึ่งเป็นพื้นที่เหนือลานจอดรถของศูนย์การค้า เป็นที่ตั้งของโรงละครแบบโพรซีเนียม (Proscenium Theatre) ความจุ 1,512 ที่นั่ง รองรับการเปลี่ยนฉากได้ 48 ระดับชั้น และระบบยกฉากเลื่อนขึ้น-ลง 40 ชุด[2] การตกแต่งภายในมีการนำความเป็นไทยมาผสมผสานเข้ากับการออกแบบสมัยใหม่อย่างกลมกลืน
การแสดง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ซีเนริโอผนึก2พันธมิตร ทุ่มงบ500ล.ผุดโรงละคร". ผู้จัดการออนไลน์. 2007-03-01. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "ผลการวิจัย "กระบวนการสร้างสรรค์ละครเวทีประเภทละครเพลงของบริษัท ซีเนริโอ จำกัด"" (PDF). ศูนย์ข้อมูลการวิจัยดิจิทัล สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ: 41–83. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23.
- ↑ "พระบรมฯ เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดโรงละครเมืองไทยรัชดาลัยฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 2007-05-23. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์