เอออร์ตาส่วนท้อง
เอออร์ตาส่วนท้อง | |
---|---|
ภาพส่วนของเอออร์ตา พร้อมทั้งส่วน เหนือไต และ ใต้ไต ของเอออร์ตาส่วนท้อง | |
เอออร์ตาส่วนท้องและแขนง | |
รายละเอียด | |
จาก | เอออร์ตาส่วนอก |
แขนง |
|
หลอดเลือดดำ | อินฟีเรียร์เวนาคาวา |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | Aorta abdominalis, pars abdominalis aortae |
MeSH | D001012 |
TA98 | A12.2.12.001 |
TA2 | 4205 |
FMA | 3789 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
เอออร์ตาส่วนท้อง (อังกฤษ: Abdominal aorta) เป็นหลอดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในช่องท้อง เป็นส่วนหนึ่งของเอออร์ตา ต่อเนื่องมาจากเอออร์ตาส่วนลง (ของส่วนอก)[1]
โครงสร้าง
[แก้]เอออร์ตาส่วนท้องเริ่มต้นที่ระดับกะบังลม ผ่านทางช่องเอออร์ติก โดยตามหลักการแล้วจะอยู่ด้านหลังของกะบังลม ที่กระดูกสันหลังระดับ T12[1] เอออร์ตาส่วนท้องทอดตัวลงไปตามผนังด้านหลังของช่องท้อง ด้านหน้าของลำกระดูกสันหลัง ดังนั้นหลอดเลือดนี้จึงโค้งตามรูปร่างของกระดูกสันหลังส่วนเอว นั่นคือนูนออกมาทางด้านหน้า (นูนเข้าไปหาผนังช่องท้อง) โดยจุดที่นูนที่สุดของเอออร์ตาส่วนท้องนี้คือ ณ กระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่สาม (L3) เอออร์ตาส่วนท้องจะทอดตัวขนานไปกับอินฟีเรียร์ เวนา คาวา ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของเอออร์ตาส่วนท้อง และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงเมื่อจะแยกออกเป็นแขนง ที่ซี่โครงซี่ที่ 11 เอออร์ตาส่วนท้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 122 มม. และกว้าง 55 มม. และมีความดันคงที่[2] เอออร์ตาส่วนท้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วนทางคลินิก ได้แก่
- ส่วนเหนือไต (suprarenal) หรือส่วนเข้าถึงอวัยวะภายใน (paravisceral) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของกะบังลม แต่อยู่ด้านบนของหลอดเลือดไต
- ส่วนใต้ไต (Infrarenal) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของหลอดเลือดไต และอยู่ด้านบนของจุดแยกสองง่ามกระดูกปีกสะโพก (Iliac bifurcation)
แขนง
[แก้]เอออร์ตาส่วนท้องส่งเลือดส่วนมากไปเลี้ยงในช่องท้อง โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ T12 และสิ้นสุดที่ L4 พร้อมกับการเข้าสู่จุดแยกสองง่ามกระดูกปีกสะโพก เป็นหลอดเลือดแดงกระดูกปีกสะโพกร่วม[1] โดยแยกออกเป็นแขนงดังต่อไปนี้
แขนงหลอดเลือดแดง | กระดูกสันหลัง | ชนิด | แขนงคู่ หรือไม่ |
ตำแหน่งหน้า หรือหลัง |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|---|
กะบังลมส่วนล่าง | T12 | ผนังหุ้ม | ใช่ | หลัง | แยกออกที่ด้านบนของช่องท้องใต้กะบังลม ผ่านทางด้านบนและทางด้านในไปยังต่อมหมวกไตและผ่านทแยงขา (crus) ของกะบังลมเหมือนกันทั้งสองข้าง ไปเลี้ยงกะบังลมและแยกออกเป็นหลอดเลือดแดงหมวกไตบน |
ท้อง | T12 | อวัยวะ | ไม่ใช่ | หน้า | แขนงหลอดเลือดแดงใหญ่ |
เยื่อยึดลำไส้เล็กบน | L1 | อวัยวะ | ไม่ใช่ | หน้า | แขนงหลอดเลือดแดงใหญ่ แยกออกบริเวณใต้ช่องท้อง |
หมวกไตกลาง | L1 | อวัยวะ | ใช่ | หลัง | ทแยงข้ามด้านข้างขาของกะบังลมในแต่ละฝั่ง ไปเลี้ยงต่อมหมวกไต |
ไต | ระหว่าง L1 และ L2 | อวัยวะ | ใช่ | หลัง | แยกออกที่บรืเวณข้างใต้ของหลอดเลือดแดงเยื่อยึดลำไส้เล็กบน หลอดเลือดแดงไตขวาผ่านลึกลงไปยังหลอดเลือดเวนาคาวาด้านล่างเพื่อไปยังไตข้างขวา และเมื่อถึงจุดนี้จึงแยกออกเป็นแขนง ส่วนหลอดเลือดแดงไตซ้ายผ่านลึกลงไปยังหลอดเลือดดำไตซ้าย และจึงแยกออกในขั้ว (hilum) ของไต โดยหลอดเลือดแดงทั้งสองจะแยกออกเป็นหลอดเลือดแดงหมวกไตบนและแขนงท่อไต |
ต่อมบ่งเพศ | L2 | อวัยวะ | ใช่ | หน้า | ในเพศหญิงเป็นหลอดเลือดแดงรังไข่ และในเพศชายเป็นหลอดเลือดแดงอัณฑะ |
เอว | L1-L4 | ผนังหุ้ม | ใช่ | หลัง | แยกตัวออกเป็นสี่หลอดเลือดในแต่ละฝั่งเพื่อหล่อเลี้ยงผนังท้องและไขสันหลัง ส่วนคู่ที่ห้าอยู่ในแขนงเอวของหลอดเลือดแดงอิลิโอลัมบาร์ หลอดเลือดเหล่านี้ผ่านลึกไปยังขาด้านขางของลำกระดูกสันหลัง และผ่านลึกไปยังฝีข้างใหญ่ (psoas major) และควอดราตัสลัมโบรัมเพื่อเข้าสู่ช่องว่างระหว่างพื้นที่เฉียงชั้นใน (internal oblique) และพื้นที่กลับข้าง (transversus) ของกล้ามเนื้อท้อง หลอดเลือดแดงแต่ละหลอดจะแยกออกเป็นแขนงด้านหลังเล็ก ๆ ซึ่งจะแยกออกเป็นแขนงลำกระดูกสันหลังเพื่อไปยังคลองกระดูกสันหลัง และจากนั้นจึงทอดตัวต่อไปเพื่อไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหลัง |
เยื่อยึดลำไส้เล็กล่าง | L3 | อวัยวะ | ไม่ใช่ | หน้า | แขนงหลอดเลือดแดงใหญ่ |
กระดูกใต้กระเบนเหน็บตรงกลาง | L4 | ผนังหุ้ม | ไม่ใช่ | หลัง | หลอดเลือดแดงแยกออกจากตรงกลามของเอออร์ตาที่จุดต่ำสุด แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของเอออร์ตาด้านหลังดั้งเดิม ซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ในสัตว์มีหาง แต่มีขนาดเล็กกว่าในมนุษย์ |
กระดูกปีกสะโพกร่วม | L4 | จุดจบ | ใช่ | หลัง | แขนง (แบบแยกเป็นสองง่าม) ส่งเลือดไปเลี้ยงที่ขาและเชิงกราน เป็นจุดปลายของเอออร์ตาส่วนท้อง |
โปรดทราบว่าการแยกสองง่าม (ที่ติดกัน) ของอินฟีเรียร์เวนาคาวา คือ ตำแหน่ง L5 และด้านล่างของการแยกสองง่ามของหลอดเลือดแดงเอออร์ตา
- หลอดเลือดแดงกะบังลมล่าง
- หลอดเลือดแดงท้อง
- หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย
- หลอดเลือดแดงม้าม
- หลอดเลือดแดงกระเพาะสั้น (6 เส้น)
- หลอดเลือดแดงม้าม (6 เส้น)
- หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้าย
- หลอดเลือดแดงตับอ่อน
- หลอดเลือดแดงตับร่วม
- หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา
- หลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัล
- หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา
- หลอดเลือดแดงแพนครีเอติโคดูโอดีนัลบน
- หลอดเลือดแดงตับขวา
- หลอดเลือดแดงถุงน้ำดี
- หลอดเลือดแดงตับซ้าย
- หลอดเลือดแดงเยื่อยึดลำไส้เล็กบน
- หลอดเลือดแดงแพนครีเอติโคดูโอดีนัลล่าง
- หลอดเลือดแดงลำไส้เล็กส่วนกลางและลำไส้เล็กส่วนปลาย
- หลอดเลือดแดงลำไส้ใหญ่ส่วนกลาง
- หลอดเลือดแดงลำไส้ใหญ่ขวา
- หลอดเลือดแดงลำไส้เล็กต่อลำไส้ใหญ่
- หลอดเลือดแดงเซเคิลหน้า
- หลอดเลือดแดงเซเคิลหลัง – หลอดเลือดแดงไส้ติ่ง
- หลอดเลือดแดงลำไส้เล็กส่วนปลาย
- หลอดเลือดแดงลำไส้ใหญ่
- หลอดเลือดแดงหมวกไตกลาง
- หลอดเลือดแดงไต
- หลอดเลือดแดงอัณฑะหรือรังไข่
- หลอดเลือดแดงเอวสี่เส้น
- หลอดเลือดแดงเยื่อยึดลำไส้เล็กล่าง
- หลอดเลือดแดงลำไส้ใหญ่ซ้าย
- หลอดเลือดแดงไส้ใหญ่ส่วนคด (2 หรือ 3 เส้น)
- หลอดเลือดแดงไส้ตรงบน
- หลอดเลือดแดงกระดูกใต้กระเบนเหน็บกลาง
- หลอดเลือดแดงกระดูกปีกสะโพกร่วม
- หลอดเลือดแดงกระดูกปีกสะโพกนอก
- หลอดเลือดแดงกระดูกปีกสะโพกใน
ความสัมพันธ์
[แก้]เอออร์ตาส่วนท้องพาดเยื้องไปทางซ้ายของเส้นกลางลำตัว ถูกปกคลุมทางด้านหน้าด้วยโอเมนตัมน้อยและกระเพาะอาหาร ด้านหลังซึ่งเป็นแขนงหลอดเลือดแดงท้องและข่ายหลอดเลือดแดงท้อง อยู่ด้านล่างของหลอดเลือดดำม้าม, ตับอ่อน, หลอดเลือดดำไตซ้าย, ส่วนล่างของลำไส้เล็กส่วนต้น, เยื่อแขวนลำไส้ และข่ายหลอดเลือดแดงเอออร์ติกส่วนท้อง
ส่วนด้านหลัง เอออร์ตาส่วนท้องจะถูกแยกออกจากกระดูกสันหลังส่วนเอวและกระดูกอ่อนเส้นใยกระดูกสันหลังโดยเอ็นตามยาวหน้า (anterior longitudinal ligament) และหลอดเลือดดำเอวซ้าย
ที่ด้านขวาเอออร์ตาส่วนท้องมีความสัมพันธ์กับหลอดเลือดดำเอไซโกส, ซิสเตอร์นาไคลี, ท่อช่องอก และขาด้านขวาของกะบังลม โดยจะแยกกันที่สุดท้ายจากส่วนบนของอินฟีเรียร์เวนาคาวา และจากทางขวาของปมประสาทท้อง โดยอินฟีเรียร์เวนาคาวานั้นจะสัมผัสกับเอออร์ตาด้านล่าง
ที่ด้านซ้ายของขาด้านซ้ายของกะบังลม, ด้านซ้ายของปมกระสาทท้อง, ส่วนขึ้นของลำไส้เล็กส่วนต้น และบางขดของลำไส้เล็ก
ความสัมพันธ์กับอินฟีเรียร์เวนาคาวา
[แก้]เอออร์ตาส่วนท้องของคู่หลอดเลือดดำ โดยอินฟีเรียร์เวนาคาวา (IVC) จะทอดตัวขนานไปกับเอออร์ตาส่วนท้องด้านขวา
- ด้านบนของระดับสะดือ เอออร์ตาค่อนข้างจะอยู่ด้านหลังของ IVC โดยส่งหลอดเลือดแดงไตขวาไปทางด้านหลังของ IVC โดย IVC ก็มีการส่งในลักษณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่ง นั่นคือส่งหลอดเลือดดำไตซ้ายพาดผ่านด้านหน้าของเอออร์ตา
- ด้านล่างของระดับสะดือ โดยทั่วไปแล้วจะกลับกันกับด้านบน โดยเอออร์ตาจะส่งหลอดเลือดแดงคอมมอนกระดูกปีกสะโพกขวาพาดผ่านด้านหน้าของ IVC และ IVC จะส่งหลอดเลือดดำคอมมอนกระดูกปีกสะโพกซ้ายไปทางด้านหลังของเอออร์ตา
ภาพเพิ่มเติม
[แก้]-
ภาพจากการทำ MRA แบบเพิ่มความขัดและความคมแล้วของเอออร์ตาส่วนท้อง ทำให้เห็นภาพการแยกเป็นคู่ของแขนงหลอดเลือดแดงได้ชัดเจนขึ้น
-
หลอดเลือดแดงท้องและแขนง โดยกระเพาะอาหารถูกยกขึ้นและเยื่อบุช่องท้องถูกนำออกไป
-
ภาพตัดตามขวางกลางลำตัวบริเวณกลางของกระดูกสันหลังส่วนเอวชิ้นที่หนึ่ง แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของตับอ่อน
-
การทำซีที แสกนแบบเพิ่มความคมชัดตามขวาง แสดงให้เห็นการโป่งพองของเอออร์ติกส่วนท้องขนาด 4.8 x 3.8 ซม.
-
การวัดเอออร์ติกมาตรฐานในการบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงช่องท้อง, เช่นใช้เพื่อตรวจหาท่อเลือดแดงส่วนท้องโป่งพอง, ระหว่างขอบด้านนอกของผนังเอออร์ติก[3]
-
เอออร์ตาส่วนท้อง
อ้างอิง
[แก้]บทความนี้รวมเอาข้อความซึ่งเป็นสาธารณสมบัติจากหน้าที่ 602 ของหนังสือเกรย์อนาโตมีฉบับพิมพ์ครั้งที่ 20 (ค.ศ. 1918 )
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Lech, Christie; Swaminathan, Anand (November 2017). "Abdominal aortic emergencies". Emergency Medicine Clinics of North America. 35 (4): 847–867. doi:10.1016/j.emc.2017.07.003. PMID 28987432.
- ↑ Jim, Jeffrey; Thompson, Robert W. "Clinical features and diagnosis of abdominal aortic aneurysm". UpToDate.
- ↑ Jang, Timothy (28 August 2017). "Bedside ultrasonography evaluation of abdominal aortic aneurysm—technique". Medscape.