ข้ามไปเนื้อหา

เอียวสิ้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอียวสิ้ว
楊修
ภาพวาดเอียวสิวในสมัยราชวงศ์ชิง
อาลักษณ์แห่งอัครมหาเสนาบดี
(丞相主簿)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 219 (219)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 175[1]
ฮว่าหยิน มณฑลส่านซี
เสียชีวิตสิงหาคม ค.ศ. 219 (44 ปี)[1]
ฮั่นจง มณฑลส่านซี
บุตรYang Xiao
บุพการี
อาชีพขุนนาง, ที่ปรึกษา
ชื่อรองเต๋อสู่ (德祖)

เอียวสิ้ว (ค.ศ. 175[2]–219[3])[a] ที่ปรึกษาคนหนึ่งของโจโฉแห่งวุยก๊ก เขาเป็นชาวเมืองหัวะอิน มณฑลส่านซี มีชื่อรองว่า เต๊อะจู่ เป็นบุตรชายของเอียวปิด เป็นผู้มีรูปร่างหน้าเกลี้ยงเกลา คิ้วและนัยน์ตาเล็ก ฉลาดเฉียวมากปัญญา แต่ชอบใช้ปัญญามากกว่าสติ อันเป็นที่มาของจุดจบชีวิต รับราชการกับโจโฉในตำแหน่งผู้ตรวจบัญชีทรัพย์สิน เป็นผู้ที่รู้เท่าทันโจโฉตลอดเวลา จึงเป็นที่ระแวงของโจโฉ

เอียวสิ้วมักคบหากับโจสิด บุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉที่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน และเฉลียวฉลาดเช่นกัน จึงมักเป็นที่ไม่พอใจแก่โจโฉ และโจโฉก็ได้เตือนโจสิดเสมอ ๆ ถึงเรื่องเอียวสิ้ว

เมื่อโจโฉติดพันการรบกับขงเบ้งที่ทุ่งหันซุย และกำลังจะถอนทัพกลับ แต่ก็ยังมิได้ตัดสินใจเด็ดขาดและบอกแก่ใคร ตกกลางคืน แฮหัวตุ้นเข้ามาถามโจโฉในที่พักว่า คืนนี้จะให้ขานรหัสว่าอะไร โจโฉขณะรับประทานอาหารอยู่ ได้ใช้ตะเกียบคีบซี่โครงไก่อยู่พอดี จึงตอบไปว่า ซี่โครงไก่ เมื่อรู้กันในกองทัพว่า รหัสคืนนี้คือ ซี่โครงไก่ เอียวสิ้วจึงบอกให้แฮหัวตุ้นสั่งการแก่ทหารทั้งปวงให้เก็บข้าวของ เพราะโจโฉตัดสินใจถอนทัพแล้ว แฮหัวตุ้นสงสัยว่าท่านทราบได้อย่างไร เอียวสิ้วจึงตอบคลายสงสัยทั้งหมดว่า เพราะซี่โครงไก่ไม่มีเนื้อก็จริง แต่ทิ้งไปก็เสียดายรสชาติ เหมือนท่านโจโฉขณะนี้จะถอนทัพกลับไปก็เสียดาย แต่อยู่ไปก็ไม่ชนะ เมื่อโจโฉรู้ว่าทหารทั้งหมดเก็บข้าวของโดยที่ตนไม่ได้ออกคำสั่ง ว่ามาจากเอียวสิ้ว ก็โมโห และสั่งประหารชีวิตเอียวสิ้วทันที แม้จะไม่เต็มใจนัก โดยอ้างว่า เอียวสิ้วทำให้ทหารเสียขวัญ ก่อนตายเอียวสิ้วเสียใจที่โจโฉทำอย่างนี้กับตน แต่ก็ได้กล่าวเตือนสติโจโฉว่า ต่อไปนี้ท่านอย่าได้ทำการใด ๆ ที่เป็นการฝืนตนเองอีก โจโฉจึงต้องแสดงให้ทหารเห็นว่า ตนมิได้เสียขวัญ ออกนำทัพด้วยตนเอง ปรากฏว่าต้องอุบายของขงเบ้งจนกองทัพพ่ายแพ้และโจโฉก็ถูกฮองตงยิงธนูถูกปาก พลัดตกจากหลังม้า ฟันหักไป 3 ซี่ ปากคอบวมเป่ง เกือบจะเอาชีวิตไม่รอด[4] จากนั้นโจโฉก็ต้องพ่ายแพ้และถอยทัพกลับเมืองลกเอี๋ยง ในช่วงนั้นเขาก็ได้นึกถึงเอียวสิ้วและสำนึกว่าเอียวสิ้วคาดการณ์ถูกต้องจริงๆ โจโฉได้จัดพิธีฝังศพอย่างสมเกียรติเพื่อทดแทนคุณความดี

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Rafe de Crespigny ระบุเครื่องหมายคำถามหลังปีเกิดของเอียวสิ้วใน A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD)[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 de Crespigny (2007), p. 962.
  2. A Continuation of the Book of Han annotation in Yang Xiu's biography in Book of the Later Han indicated that he was 45 (by East Asian reckoning) when he died. (续汉书曰:...故遂收杀之,时年四十五矣。) Xu Hanshu annotation in Houhanshu, vol. 54
  3. A Dianlüè annotation in Cao Zhi's biography in Sanguozhi indicated that Yang Xiu was killed in the autumn (7th to 9th month) of the 24th year of the Jian'an era. The period corresponds to 30 Jul to 25 Oct 219 in the Julian calendar. (《典略》曰:杨脩字德祖,太尉彪子也。谦恭才博。建安中,....至二十四年秋,公以脩前后漏泄言教,交关诸侯,乃收杀之。) Dianlüè annotation in Sanguozhi, vol.19
  4. เจาะลึกเหล่าขุนพลสามก๊ก, เอียวสิ้ว (Yang Xiu) -รู้มากจึงชีพวาย
  • ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
  • ฟ่าน เย่ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). โฮ่วฮั่นชู
  • ล่อกวนตง (คริสต์ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (Sanguo Yanyi).
  • เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้).
  • ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.