แบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม
แลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม (อังกฤษ: Lambda-CDM) ย่อมาจาก Lambda-Cold Dark Matter หรือ แลมบ์ดา-สสารมืดเย็น มักถูกอ้างถึงในฐานะเป็น แบบจำลองมาตรฐาน ของการศึกษาจักรวาลวิทยาตามทฤษฎีบิกแบง เป็นความพยายามอธิบายถึงการมีอยู่และโครงสร้างของรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล โครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ การกระจายตัวขององค์ประกอบแสง และการที่เอกภพขยายตัวออกด้วยอัตราเร่ง ซึ่งสังเกตได้จากแสงจากดาราจักรที่อยู่ห่างไกลหรือซูเปอร์โนวา เป็นแบบจำลองที่เรียบง่ายที่สุดที่เห็นพ้องกันว่าสอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่สังเกตได้
พารามิเตอร์
[แก้]แบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม อ้างอิงจากพารามิเตอร์ 6 ตัว ได้แก่ ความหนาแน่นทางกายภาพของแบริออน ความหนาแน่นทางกายภาพของสสารมืด ความหนาแน่นของพลังงานมืด ดัชนีสเปกตรัมเชิงสเกลาร์ ค่าแอมพลิจูดความผันแปรของความโค้ง และ reionization optical depth จากข้อมูลเหล่านี้ จะสามารถคำนวณหาค่าอื่นๆ ในแบบจำลอง (รวมถึงค่าคงที่ฮับเบิลและอายุของเอกภพ) ได้
พารามิเตอร์ที่แสดงอยู่ในตารางข้างล่างนี้ นำมาจากข้อมูลสังเกตการณ์ของดาวเทียม WMAP[1] ซึ่งรวมถึงการประมาณค่าที่อ้างอิงจากการแกว่งตัวของแบริออน (Baryon Acoustic Oscillations) ในดาราจักร และจากความส่องสว่าง/เวลาขยายตัว ของซูเปอร์โนวาประเภท Ia[2] การตีความข้อมูลเหล่านี้ในแบบจำลองจักรวาลวิทยา มีแสดงอยู่ในเอกสารวิชาการของ Komatsu et al.[3] และ สเพอร์เจล et al.[4]
พารามิเตอร์ | ค่า | คำอธิบาย |
---|---|---|
t0 | ปี | อายุของเอกภพ |
H0 | km s-1 Mpc-1 | ค่าคงที่ฮับเบิล |
Ωb | ความหนาแน่นแบริออน | |
Ωc | ความหนาแน่นสสารมืด | |
ΩΛ | ความหนาแน่นพลังงานมืด | |
Ωtot | kg/m3 | ความหนาแน่นรวม |
ΔR2 | , k0 = 0.002Mpc-1 | แอมพลิจูดความผันแปรของความโค้ง |
σ8 | แอมพลิจูดความผันแปร ที่ 8h-1Mpc | |
ns | ดัชนีสเปกตรัมเชิงสเกลาร์ | |
z* | Redshift at decoupling | |
t* | ปี | Age at decoupling |
τ | Reionization optical depth | |
zreion | Redshift of reionization | |
treion | ปี | Age at reionization |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Table 7 of Hinshaw, G. et al. (WMAP Collaboration). (2009). "Five-Year Wilkinson Microwave Anisotropy Probe Observations: Data Processing, Sky Maps, and Basic Results". The Astrophysical Journal Supplement. 180: 225–245. doi:10.1088/0067-0049/180/2/225. arXiv:0803.0732 astro-ph/ 0803.0732.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - ↑ M. Kowalski et al. 2008 (Supernova Cosmology Project Collaboration). Improved Cosmological Constraints From New, Old and Combined Supernova Datasets.
- ↑ E. Komatsu et al. 2009 (WMAP Collaboration). Five-Year Wilkinson Microwave Anisotropy Probe (WMAP) Observations: Cosmological Interpretation.
- ↑ D. N. Spergel et al. 2003 (WMAP collaboration). First year Wilkinson Microwave Anisotropy Probe (WMAP) observations: determination of cosmological parameters, Astrophys. J. Suppl. 148 175 (2003).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- http://lambda.gsfc.nasa.gov/product/map/dr3/parameters_summary.cfm ข้อมูลประมาณการพารามิเตอร์ของจักรวาลวิทยาล่าสุด จาก WMAP
- http://www.astro.ucla.edu/~wright/cosmolog.htm Ned Wright's Cosmology tutorial.