กองทัพภาคที่ 3
กองทัพภาคที่ 3 | |
---|---|
ตราประจำกองทัพภาคที่ 3 | |
ประจำการ | กองทัพที่ 2 (2454 – 2460, 2472 – 2493) กองทัพทหารบกที่ 7 (2460 – 2464) กองทัพที่ 3 (2464 – 2472) ภาคทหารบกที่ 3 (2493 – 2501) กองทัพภาคที่ 3 (2501 – ปัจจุบัน) |
ประเทศ | ไทย |
ขึ้นต่อ | พระมหากษัตริย์ไทย |
เหล่า | กองทัพบกไทย |
รูปแบบ | ผสมเหล่า |
กำลังรบ | กองทัพ |
ขึ้นกับ | กองทัพบกไทย |
กองบัญชาการ | ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 |
วันสถาปนา | 20 สิงหาคม |
ปฏิบัติการสำคัญ | กรณีพิพาทกู่เต็งนาโย่ง |
เว็บไซต์ | http://www.army3.mi.th/home.php |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการปัจจุบัน | พลโท กิตติพงษ์ แจ่มสุวรรณ[1] |
ผบ. สำคัญ | พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ (ผู้บัญชาการคนแรก) พลเอก ประพันธ์ กุลพิจิตร พลเอก สำราญ แพทยกุล พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา |
กองทัพภาคที่ 3 (ทภ.3) ของกองทัพบกไทย ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2445 รับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือทั้งหมด และภาคกลางในบางส่วน ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
ประวัติ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองแพร่อยู่ในฐานะเป็นเมืองประเทศราช มีเจ้าพิริยเทพวงษ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 ได้เกิดกลุ่มโจรเงี้ยวประมาณ 40 คน สมทบกับกลุ่มโจรเงี้ยวบ้านป่าผึ้ง พร้อมอาวุธปืนยกกำลังเข้ายึดโรงพักตำรวจภูธรเมืองแพร่, โรงไปรษณีย์โทรเลข, บ้านข้าหลวง, ที่ว่าการเมืองแพร่, ศาล และคุก เมื่อทำการสำเร็จ มีพวกเงี้ยวกับนักโทษที่ได้รับการปลดปล่อยออกมาเข้าสมทบอีกประมาณ 400 คน ได้ก่อการวุ่นวายรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยแยกกันเป็นหมู่เข้าปล้นบ้านคนไทย จับพระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงกำกับการเมืองแพร่ และจับราษฎรตลอดจนเด็กที่เป็นคนไทยภาคกลางมาเข่นฆ่าอย่างทารุณ จากนั้นได้ยกกำลังเข้าปล้นเมืองลำปาง และส่วนหนึ่งยกมาสกัดกั้นกองทัพไทยที่บริเวณเขาพลึง บริเวณชายแดนเมืองแพร่ต่ออุตรดิตถ์
วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองทหารจากกรุงเทพฯ และราชบุรี จำนวน 8 กองพัน ยกไปปราบกลุ่มโจรเงี้ยวที่เมืองแพร่และลำปาง และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ว่าราชการเมืองพิชัย, ผู้ว่าราชการเมืองสุโขทัย, ผู้ว่าราชการเมืองตาก และผู้ว่าราชการเมืองพิษณุโลกคุมไพร่พลยกไปล่วงหน้า
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2445 กองทัพของพลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เดินทางไปถึงเมืองแพร่ ต่อมาได้จัดการสอบสวนจับกุมผู้กระทำผิด หรือสมคบกระทำผิดเพื่อส่งฟ้องศาลเป็นที่เรียบร้อย และส่งให้กองกำลังเมืองต่างๆ ที่ไม่มีความจำเป็นกลับภูมิลำเนาเดิม ทําให้เกิดความสงบเรียบร้อยกลับคืนมา กองทัพภาคที่ 3 จึงยึดเอาวันที่ 20 สิงหาคมเป็นวันสถาปนากองทัพภาคที่ 3 ของทุกปี[2]
นับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2445 กองทัพภาคที่ 3 มีวิวัฒนาการพัฒนาหน่วยเรื่อยมาตามลําดับ จนในปี พ.ศ. 2501 ได้แปรสภาพเป็นกองทัพภาคที่ 3 จวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้ไปตามนโยบาย และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากกองทัพบก ซึ่งมีภารกิจหลัก 4 ประการ ได้แก่ การป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยภายใน การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และการช่วยพัฒนาประเทศ[3]
หน่วยขึ้นตรง
- กองทัพน้อยที่ 3 ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
ส่วนบัญชาการ
- กองพันทหารสื่อสารที่ 23 กองทัพภาคที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
ส่วนกำลังรบ
- กองพลทหารราบที่ 4 (พล.ร.4) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กรมทหารราบที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายจิรประวัติ ตำบลนครสวรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
- กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายจิรประวัติ ตำบลนครสวรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
- กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายจิรประวัติ ตำบลนครสวรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
- กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กรมทหารราบที่ 7 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายกาวิละ ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายกาวิละ ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 7 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพิชิตปรีชากร ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
- กองพันทหารราบที่ 5 กรมทหารราบที่ 7 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายโสณบัณฑิตย์ ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- กรมทหารราบที่ 14 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายวชิรปราการ ตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
- กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 14 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายวชิรปราการ ตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
- กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 14 ค่ตั้งกองบังคับการที่ายวชิรปราการ ตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
- กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 14 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายวชิรปราการ ตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
- กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายจิรประวัติ ตำบลนครสวรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพระปิ่นเกล้า ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 17 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- กองพันทหารม้าที่ 9 กองพลทหารราบที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองพันทหารช่างที่ 4 กองพลทหารราบที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายจิรประวัติ ตำบลนครสวรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
- กองพันทหารสื่อสารที่ 4 กองพลทหารราบที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองพันเสนารักษ์ที่ 4 กองพลทหารราบที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองสรรพาวุธเบา กองพลทหารราบที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองทหารพลาธิการ กองพลทหารราบที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กรมทหารราบที่ 4 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายจิรประวัติ ตำบลนครสวรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
- กองพลทหารราบที่ 7 (พล.ร.7) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายขุนเณร ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่[4]
- กรมทหารราบที่ 17 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 17 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสุรศักดิ์มนตรี ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
- กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 17 ในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตั้งกองบังคับการที่ค่ายเม็งรายมหาราช ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
- กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 17 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายขุนจอมธรรม ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
- กรมทหารราบที่ 17 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- กองพลทหารม้าที่ 1 (พล.ม.1) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- กรมทหารม้าที่ 2 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพิชัยดาบหัก ตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- กองพันทหารม้าที่ 7 กรมทหารม้าที่ 2 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพิชัยดาบหัก ตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- กองพันทหารม้าที่ 10 กรมทหารม้าที่ 2 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสุริยพงษ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
- กองพันทหารม้าที่ 15 กรมทหารม้าที่ 2 ตั้งกองบังคับการที่ตำบลถืมตอง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
- กรมทหารม้าที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- กองพันทหารม้าที่ 13 กรมทหารม้าที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- กองพันทหารม้าที่ 18 กรมทหารม้าที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- กองพันทหารม้าที่ 26 กรมทหารม้าที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- กรมทหารปืนใหญ่ที่ 21 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 20 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 21 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพระศรีพนมมาศ ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 30 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 21 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- กองพันทหารม้าที่ 12 กองพลทหารม้าที่ 1 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพระยาไชยบูรณ์ ตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
- กองพันทหารม้าที่ 28 กองพลทหารม้าที่ 1 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพ่อขุนบางกลางหาว ตำบลบุ่งนํ้าเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
- กองพันทหารช่างที่ 8 กองพลทหารม้าที่ 1 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- กองพันทหารสื่อสารที่ 11 กองพลทหารม้าที่ 1 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- กองพันเสนารักษ์ที่ 8 กองพลทหารม้าที่ 1 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- กองสรรพาวุธเบา กองพลทหารม้าที่ 1 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพิชัยดาบหัก ตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- กองทหารพลาธิการ กองพลทหารม้าที่ 1 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- กรมทหารม้าที่ 2 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพิชัยดาบหัก ตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- กรมทหารพรานที่ 31 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายขุนจอมธรรม ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
- กรมทหารพรานที่ 32 ตั้งกองบังคับการที่ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
- กรมทหารพรานที่ 33 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กรมทหารพรานที่ 35 ตั้งกองบังคับการที่ตำบลสักงาม อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
- กรมทหารพรานที่ 36 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายเทพสิงห์ ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ส่วนสนับสนุนการช่วยรบ
- กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 (บชร.3) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองพันทหารขนส่งที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองพันส่งกำลังและบริการที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองพันซ่อมบำรุงที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองพันทหารเสนารักษ์ที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- ศูนย์ควบคุมการส่งกําลังบํารุง กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- ส่วนแยก กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
ส่วนภูมิภาค
- มณฑลทหารบกที่ 31 (มทบ.31) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายจิรประวัติ ตำบลนครสวรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
- ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 31 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายจิรประวัติ ตำบลนครสวรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
- มณฑลทหารบกที่ 32 (มทบ.32) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสุรศักดิ์มนตรี ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
- ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 32 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสุรศักดิ์มนตรี ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
- มณฑลทหารบกที่ 33 (มทบ.33) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายกาวิละ ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- กองพันมณฑลทหารบกที่ 33 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายกาวิละ ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 33 ตั้งกองบังคับการที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- มณฑลทหารบกที่ 34 (มทบ.34) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 34 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- มณฑลทหารบกที่ 35 (มทบ.35) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายพิชัยดาบหัก ตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 35 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพิชัยดาบหัก ตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- มณฑลทหารบกที่ 36 (มทบ.36) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 36 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- มณฑลทหารบกที่ 37 (มทบ.37) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายเม็งรายมหาราช ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
- หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 37 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายเม็งรายมหาราช ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
- มณฑลทหารบกที่ 38 (มทบ.38) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสุริยพงษ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
- หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 38 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสุริยพงษ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
- มณฑลทหารบกที่ 39 (มทบ.39) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองพันทหารสารวัตรที่ 31 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 39 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- มณฑลทหารบกที่ 310 (มทบ.310) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายวชิรปราการ ตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
- หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 310 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายวชิรปราการ ตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
ส่วนช่วยการพัฒนาประเทศ
- กองพลพัฒนาที่ 3 (พล.พัฒนา 3) ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กรมพัฒนาที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองพันพัฒนาที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายขุนเณร ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
- กรมทหารช่างที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กองพันทหารช่างที่ 302 กรมทหารช่างที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- กรมพัฒนาที่ 3 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
รายพระนามและรายนามแม่ทัพภาค
รายพระนามและรายนามแม่ทัพภาค | |||
ลำดับ | พระนามและนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ | พ.ศ. 2454 - 2457 | แม่ทัพกองทัพน้อยที่ 2 |
2 | พลโท หลวงวีระโยธา (วีระ วีระโยธา) | พ.ศ. 2494 - 2494 | |
3 | พลโท หลวงสวัสดิ์สรยุทธ (ดล บุนนาค) | พ.ศ. 2494 - 2495 | |
4 | พลโท หลวงจุลยุทธยรรยง (ทองจุล ศุภชรัสส์) | พ.ศ. 2495 - 2497 | |
5 | พลโท ครวญ สุทธานินทร์ | พ.ศ. 2497 - 2499 | |
6 | พลโท ผ่อง บุญสม | พ.ศ. 2499 - 2499 | |
7 | พลโท ประพันธ์ กุลพิจิตร | พ.ศ. 2501 - 2506 | |
8 | พลโท อรรถ ศศิประภา | พ.ศ. 2506 - 2509 | |
9 | พลโท อ่อง โพธิกนิษฐ | พ.ศ. 2509 - 2512 | |
10 | พลโท สำราญ แพทยกุล | พ.ศ. 2512 - 2516 | |
11 | พลโท ประสาน แรงกล้า | พ.ศ. 2516 - 2517 | |
12 | พลโท ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา | พ.ศ. 2517 - 2518 | |
13 | พลโท สมศักดิ์ ปัญจมานนท์ | พ.ศ. 2518 - 2521 | |
14 | พลโท สีมา ปาณิกบุตร | พ.ศ. 2521 - 2524 | |
15 | พลโท พร้อม ผิวนวล | พ.ศ. 2524 - 2526 | |
16 | พลโท เทียบ กรมสุริยศักดิ์ | พ.ศ. 2526 - 2528 | |
17 | พลโท รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ | พ.ศ. 2528 - 2529 | |
18 | พลโท ชัยชนะ ธารีฉัตร | พ.ศ. 2529 - 2530 | |
19 | พลโท ศิริ ทิวะพันธุ์ | พ.ศ. 2530 - 2533 | |
20 | พลโท ไพโรจน์ จันทร์อุไร | พ.ศ. 2533 - 2535 | |
21 | พลโท ยิ่งยส โชติพิมาย | พ.ศ. 2535 - 2537 | |
22 | พลโท สุรเชษฐ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา | พ.ศ. 2537 - 2538 | |
23 | พลโท ถนอม วัชรพุทธ | พ.ศ. 2538 - 2541 | |
24 | พลโท สมหมาย วิชาวรณ์ | พ.ศ. 2541 - 2542 | |
25 | พลโท วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ | พ.ศ. 2542 - 2544 | |
26 | พลโท อุดมชัย องคสิงห | พ.ศ. 2544 - 2546 | |
27 | พลโท พิชาญเมธ ม่วงมณี | พ.ศ. 2546 - 2548 | |
28 | พลโท สพรั่ง กัลยาณมิตร | พ.ศ. 2548 - 2549 | |
29 | พลโท จิรเดช คชรัตน์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550 | |
30 | พลโท สำเริง ศิวาดำรงค์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 30กันยายน พ.ศ. 2551 | |
31 | พลโท ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553 | |
32 | พลโท วรรณทิพย์ ว่องไว | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 | |
33 | พลโท ชาญชัยณรงค์ ธนารุณ | 1 เมษายน พ.ศ. 2555 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 | |
34 | พลโท ปรีชา จันทร์โอชา | 1 เมษายน พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 | |
35 | พลโท สาธิต พิธรัตน์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 | |
36 | พลโท สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
37 | พลโท วิจักขฐ์ สิริบรรสพ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 | |
38 | พลโท ฉลองชัย ชัยยะคำ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563 | |
39 | พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565[5][6] | |
40 | พลโท สุริยะ เอี่ยมสุโร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
41 | พลโท ประสาน แสงศิริรักษ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - 30 กันยายน พ.ศ. 2567 | |
42 | พลโท กิตติพงษ์ แจ่มสุวรรณ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 |
หมายเหตุ ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
ค่ายทหารที่ตั้งปกติในพื้นที่
ดูเพิ่ม
- รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทย
- กองทัพภาคที่ 1
- กองทัพภาคที่ 2
- กองทัพภาคที่ 4
- หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
- หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก
อ้างอิง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ "ผบ.ทบ. ร่วมวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 120 ปี กองทัพภาคที่ 3". matichon online (ภาษาอังกฤษ). 2022-08-20. สืบค้นเมื่อ 2024-03-29.
- ↑ "history of 3rd Army Area". 3rd Army Area (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-29.
- ↑ กองทัพจัดตั้ง “พล.ร.7” รับมือภัยคุกคามฝั่งตะวันตก – สแกนกำลัง “ชนกลุ่มน้อย-พม่า” กับสัญญาณแรก “นะคะมวย” สืบค้นเมือ 14 พฤศจิกายน 2564
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ หน้า ๓๑ เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล หน้า ๑๒ เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๒๔ ข ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓