ข้ามไปเนื้อหา

แร้งเทาหลังขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แร้งเทาหลังขาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Accipitriformes
วงศ์: Accipitridae
สกุล: Gyps
สปีชีส์: G.  bengalensis
ชื่อทวินาม
Gyps bengalensis
(Gmelin, 1788)
แผนที่แสดงที่ที่เคยเป็นที่พบแร้งเทาหลังขาว (สีแดง)
ชื่อพ้อง
  • Pseudogyps bengalensis

แร้งเทาหลังขาว (อังกฤษ: The Indian White-rumped Vulture; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gyps bengalensis) นกล่าเหยื่อจำพวกอีแร้งชนิดหนึ่ง

ลักษณะ

[แก้]

จัดเป็นนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ลำตัวยาวถึง 90 เซนติเมตร สีลำตัวดำแกมสีน้ำตาล บริเวณส่วนหัวและลำคอไม่มีขนปกคลุมเป็นแผ่นหลังสีคล้ำตอนล่างของคอมีขนเป็นวงสีขาวรอบหลังตอนล่างและโคนหางสีขาวเด่นชัดบริเวณด้านในของต้นขามีแต้มสีขาวซึ่งจะเห็นได้ชัดขณะเกาะยืน นกอายุน้อยลำตัวสีน้ำตาลออกแดงหรือสีน้ำตาลเข้มไม่มีแถบสีขาวเลย

พฤติกรรมและการขยายพันธุ์

[แก้]

กินซากสัตว์เป็นอาหาร ทำรังในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ทำรังบนยอดไม้สูง เคยพบทำรังบนยอดต้นมะพร้าว วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันทำรังและกกไข่

การกระจายพันธุ์

[แก้]

มีการแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, จีนด้านตะวันออกเฉียงใต้ และทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในป่าชุมนุมใกล้กับที่อยู่ของมนุษย์เคยพบมีชุกชุมทั่วไปในบริเวณที่ราบชอบเกาะอยู่ในฝูงใหญ่บนต้นไม้ตามลาดเขาและต้นไม้สูงตามชายป่าหรือริมไร่นา สำหรับในประเทศไทย แร้งเทาหลังขาวเป็นนกที่หาดูได้ยากมาก มีรายงานการพบแร้งชนิดนี้ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ในเขตจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ที่ใกล้โรงฆ่าสัตว์ จังหวัดปัตตานี และที่ทุ่งนาริมถนนในจังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น

สถานะอนุรักษ์

[แก้]

ปัจจุบัน แร้งเทาหลังขาว เป็นนกที่หาได้ยากมากในประเทศไทย จึงถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เช่นเดียวกับแร้งและนกในกลุ่มเดียวกันนี้ชนิดอื่น ๆ[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ["จาก [[IUCN]] (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-30. สืบค้นเมื่อ 2012-11-01. จาก IUCN (อังกฤษ)]
  2. "อีแร้งเทาหลังขาว". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 2012-01-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Gyps bengalensis ที่วิกิสปีชีส์