ข้ามไปเนื้อหา

โครงการอาหารโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงการอาหารโลก
ชื่อย่อดับเบิลยูเอฟพี (WFP)
ก่อตั้ง19 ธันวาคม 1961; 62 ปีก่อน (1961-12-19)
ประเภทองค์กรพหุรัฐบาล, องค์กรกำกับการ, คณะกรรมการแนะนำ
สถานะตามกฎหมายดำเนินการอยู่
สํานักงานใหญ่โรม ประเทศอิตาลี
กรรมการบริหาร
Cindy McCain
รองกรรมการบริหาร
Carl Skau
องค์กรปกครอง
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
พนักงาน (2023)
22,300+[1]
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (2020)
เว็บไซต์www.wfp.org

โครงการอาหารโลก (อังกฤษ: World Food Programme, WFP) เป็นฝ่ายให้ความช่วยเหลือด้านอาหารขององค์การสหประชาชาติ และเป็นองค์การด้านมนุษยธรรมใหญ่ที่สุดของโลกซึ่งจัดการปัญหาความหิวโหยทั่วโลก[2] ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ค.ศ. 2020[3] โครงการอาหารโลกจัดหาอาหารให้แก่ประชากรโลกเฉลี่ย 90 ล้านคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้ 58 ล้านคนเป็นเด็ก[4] โครงการดังกล่าวมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี และมีสำนักงานสาขาในอีกมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก มีหน้าที่ทำงานช่วยเหลือผู้ไม่สามารถผลิตหรือได้อาหารเพียงพอแก่ตนเองและครอบครัว โครงการดังกล่าวเป็นสมาชิกของกลุ่มพัฒนาแห่งสหประชาชาติและเป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มฯ[5] ใน ค.ศ. 2007 โครงการฯ มีพนักงาน 9,139 คน โดยราว 90% ปฏิบัติการภาคสนาม[6]

ประวัติการจัดตั้ง

[แก้]

โครงการอาหารโลกจัดตั้งขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 1961[7] หลังการประชุมองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติใน ค.ศ. 1960 เมื่อจอร์จ แม็กกัฟเวิร์น ผู้อำนวยการโครงการอาหารเพื่อสันติภาพของสหรัฐอเมริกา (Food for Peace) เสนอให้จัดตั้งโครงการความช่วยเหลือด้านอาหารพหุภาคี ต่อมา โครงการฯ มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1963 โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติและสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ โดยมีระยะขั้นทดลองสามปี ใน ค.ศ. 1965 โครงการดังกล่าวได้ขยายเป็นขั้นต่อเนื่อง

กิจกรรม

[แก้]

ใน ค.ศ. 2006 โครงการอาหารโลกแจกจ่ายอาหาร 4 ล้านเมตริกตัน แก่ประชากร 87.8 ล้านคนใน 78 ประเทศ ผู้ได้รับประโยชน์ 63.4 ล้านคนได้รับความช่วยเหลือในปฏิบัติการฉุกเฉิน รวมถึงเหยื่อความขัดแย้ง ภัยธรรมชาติและความล้มเหลวทางเศรษฐกิจในประเทศอย่างโซมาเลีย เลบานอน และซูดาน ค่าใช้จ่ายโดยตรงอยู่ที่ 2.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ประเทศที่โครงการอาหารโลกปฏิบัติการขนาดใหญ่ที่สุดใน ค.ศ. 2006 คือ ซูดาน ซึ่งโครงการฯ ได้ช่วยเหลือประชากรกว่า 6.4 ล้านคน ส่วนประเทศที่มีปฏิบัติการของโครงการฯ ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองและสาม คือ เอธิโอเปียและเคนยา ตามลำดับ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "WFP at a glance". World Food Programme. สืบค้นเมื่อ 30 March 2023.
  2. "About WFP". World Food Programme. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-16. สืบค้นเมื่อ 2009-03-31.
  3. "The Nobel Prize Peace 2020". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "UN Agencies raised human rights awareness through photo exhibit". Daily Star Egypt. 2007-02-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2007-02-03.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-10-06.
  6. "Facts & Figures". World Food Programme. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-13. สืบค้นเมื่อ 2009-05-05.
  7. "About AFP". World Food Program. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-25. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]