โรงเรียนนครสวรรค์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนนครสวรรค์ Nakhonsawan School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
173 ถนนมาตุลี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | น.ว. N.W. NSSC |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | สุโข ปญฺญา ปฏิลาโภ (ปัญญา คือ ลาภให้เกิดสุข) |
สถาปนา | 21 กันยายน พ.ศ. 2439 (128 ปี 58 วัน) |
ผู้ก่อตั้ง | พระครูธรรมฐิติวงศ์ |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ |
รหัส | 07600101 |
ผู้อำนวยการ | ดร.ชาญณรงค์ ยาสุทธิ (ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ) |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย |
จำนวนนักเรียน | 3,109 คน (ปีการศึกษา 2566) |
สี | ม่วง ขาว |
เพลง | มาร์ชนครสวรรค์ |
เว็บไซต์ | www.nssc.ac.th |
โรงเรียนนครสวรรค์ เป็นโรงเรียนสหศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ รู้จักกันในนาม โรงเรียนชาย เดิมอยู่บริเวณวัดนครสวรรค์ และได้ย้ายมาอยู่บริเวณเชิงเขากบใกล้กับเทศบาลนครนครสวรรค์ โดยในปัจจุบัน เปิดสอนในระดับชั้น ม.1- ม.6 เป็น แห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นโรงเรียนศูนย์อาเซียน (Sister School) ของประเทศไทย
ซึ่งในปัจจุบันทางสมาคมศิษย์เก่าได้มีการจัดการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชิงทุนการศึกษาทุกปีเพื่อส่งเสริมอัจฉริยภาพและประสิทธิภาพของนักเรียนรวมถึงผู้สนใจโดยทั่วไป[ต้องการอ้างอิง]
ประวัติโรงเรียน
[แก้]เจ้าอาวาสวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีชื่อว่า “โรงเรียนธรรมฐิติวงศ์วิทยา” ใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่เรียน มีนักเรียนจำนวน 23 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 ทางราชการได้อนุมัติงบประมาณสร้างอาคารเรียนใหม่ แยกออกจากศาลาการเปรียญเป็นโรงเรียนเอกเทศ เมื่อสร้างอาคารเรียนเสร็จเปิดทำการสอนได้เพียง 9 เดือน เพลิงไหม้อาคารเรียนเสียหายอย่างหนัก กระทรวงธรรมการจึงได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 3,000 บาท และได้ย้ายสถานที่จากวัดโพธารามมาอยู่ที่โรงเรียนใหม่บริเวณวัดหัวเมือง (ปัจจุบัน คือ วัดนครสวรรค์) จัดการเรียนการสอนจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ปี พ.ศ. 2501 กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ ทำการสอนในระดับชั้นเตรียมอุดมศึกษาจึง เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนนครสวรรค์” แล้วย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนมาอยู่ ในบริเวณป่าสักเชิงเขากบอันเป็นสถานที่ตั้งของ โรงเรียนในปัจจุบัน บริเวณนครสวรรค์ ป่าสัก เชิงเขากบนี้ เดิมเป็นที่ดินของราชพัสดุเต็มไปด้วยต้นสักที่อุดมสมบูรณ์ มีประชาชน ปลูกที่อยู่อาศัยกันเพื่อหาของป่า พระยา อรรถกวีสุนทร ซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลในขณะนั้น พร้อมด้วยขุนวิวรณ์สุขวิทยา และอาจารย์เกษม พุ่มพวง ได้ร่วมกันจับจองไว้ เพื่อจะใช้เป็นสถานที่สร้างโรงเรียนเกษตรกรรมแห่งใหม่ (เดิม อยู่ที่สถาบันราชภัฏนครสวรรค์ปัจจุบันนี้) แต่การสร้างโรงเรียนต้องระงับลงเนื่องจาก พระยาอรรถกวีสุนทรย้ายไปเนื่องจาก มีการยุบมณฑลนครสวรรค์ อย่างไรก็ตามยังถือว่าบริเวณป่าสักเป็นของกระทรวงศึกษาธิการอยู่
ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2479 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย หลวงบุรกรรมโกวิท ได้ มาราชการที่จังหวัดนครสวรรค์ ขุนวิวรณ์สุขวิทยา จึงได้พูดปรารภกับจอมพล ป. พิบูลสงครามว่า โรงเรียนนครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัดหัวเมืองมีพื้นที่ คับแคบมาก ต้อง การย้ายมาอยู่ในบริเวณป่าสักเชิงเขากบ และได้รับการเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี ดังนั้น ขุนวิวรณ์สุขวิทยา จึงได้นำเรื่องเสนอ ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อ ของบประมาณก่อสร้าง ได้รับงบประมาณจำนวน 4 ล้านบาท ยังไม่ทันดำเนินการก็เกิดการปฏิวัติ ภายหลังขุนวิวรณ์สุขวิทยา นายอวยชัย ธนศรี ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพร้อมด้วยนายโชติ สุวรรณชิน ครูใหญ่โรงเรียนนครสวรรค์ในขณะนั้น ได้ริเริ่มดำเนินการสร้างต่อ แต่เนื่องจากเทศบาลเมืองนครสวรรค์ ประสงค์จะใช้ที่บริเวณนี้ก่อสร้างสวนสาธารณะ ผู้ ริเริ่มก่อสร้างโรงเรียน จึงประสานงานขอความร่วมมือจากศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ปกครอง และประชาชนเรียกร้องด้วยการเขียนข้อความ และเดินขบวนอย่างสงบในตลาดปากน้ำโพ ขอ ใช้บริเวณป่าสักเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียน จนในที่สุดได้รับการอนุญาตจากทางราชการการก่อสร้างโรงเรียนครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติงบประมาณสร้างรั้วและบ้านพักครู จำนวน 2 หลัง เป็นเงิน 100,000 บาท
ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 จึงอนุมัติงบประมาณ 800,000 บาท สร้างอาคารไม้ 2 ชั้น จังหวัดและกรรมการศึกษาพร้อมด้วยพ่อค้าประชาชน เห็นว่าควรสร้างอาคารเป็นตึก จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการ โดยมี นายสวัสดิวงศ์ ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานกรรมการ ร่วมกับอาจารย์โชติ สุวรรณชิน และผู้ใหญ่อีกหลายคน ได้ จัดหาเงินงบประมาณในการก่อสร้างจากผู้มีจิตศรัทธา ได้เงินจำนวน 600,000.00 บาท สมทบกับงบประมาณที่ได้รับก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรกโดยทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2504 โดย มี ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ โรงเรียนนครสวรรค์ในพื้นที่ใหม่และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน คือ เลขที่ 173 ถนนมาตุลี อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ทั้งหมด 38 ไร่ 2 งาน 78 ตารางวา มีอาจารย์โชติ สุวรรณชิน เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรก และได้พัฒนามาเป็นลำดับ จน กระทั่งในปี พ.ศ. 2511 ได้เข้าโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบประสม (คมส) รุ่นแรก เปิดทำการสอนทั้งวิชาสามัญและสายอาชีพ ให้นักเรียนเลือกเรียนตามความสนใจและความสามารถ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้ใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 และในปี พ.ศ. 2524 ได้ใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 เมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ โรงเรียนได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตรในปี พ.ศ. 2531 โดยเริ่มใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2533 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ในปี พ.ศ. 2533 จนถึงปี พ.ศ. 2544
ในปี พ.ศ. 2545 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนแกนนำในการจัดทำและใช้หลักสูตรสถานศึกษาตาม หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 นอกจากนั้นในปี พ.ศ. 2536 โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้จัดการเรียนการสอน 2 โครงการ คือ โครงการลงทะเบียนเรียนตามเวลาและความสามารถในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ลบส.) โดย นักเรียนสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนให้จบหลักสูตรก่อน 3 ปี และโครงการส่งเสริมความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งกรมสามัญศึกษาคัดเลือกเขตการศึกษาละ 1 โรงเรียน ต่อมาได้จัดให้มีการเรียนการสอนโครงการดาวรุ่งมุ่งโอลิมปิกในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยรับนักเรียนที่มีความสามารถตามเกณฑ์เข้าเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปี พ.ศ 2545 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาในการจัดทำ และใช้หลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เป็นต้นมา
ในปีการศึกษา 2552 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และในปีการศึกษา 2553 ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Spirit of ASEAN โดยให้จัดตั้งเป็นศูนย์อาเซียนศึกษาและโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนนครสวรรค์
[แก้]ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | พระครูธรรมธิติวงศ์ | พ.ศ. 2448-2451 |
2 | พระครูสวรรค์นคราจารย์ | พ.ศ. 2451-2456 |
3 | ขุนบรรเจิดวิชาชาญ | พ.ศ. 2456-2458 |
4 | ขุนกุมาโรวาท | พ.ศ. 2458-2462 |
5 | ขุนเสขวุฒิศึกษา | พ.ศ. 2462-2465 |
6 | ขุนอภิรักษ์จรรยา | พ.ศ. 2465-2470 |
7 | นายสนิท มษามาน | พ.ศ. 2470-2475 |
8 | นายประเสริฐ เจริญโต | พ.ศ. 2475-2477 |
9 | นายเลื่อน วุฑฒยากร | พ.ศ. 2477-2484 |
10 | นายเทพ อินสุวรรณ | พ.ศ. 2484-2485 |
11 | นายถิ่น รัติกนก | พ.ศ. 2485-2494 |
12 | นายโชติ สุวรรณชิน | พ.ศ. 2494-2509 |
13 | นายสมบัติ แสงรุ่งเรือง | พ.ศ. 2509-2514 |
14 | นายภิรมย์ บุษยกุล | พ.ศ. 2515-2519 |
15 | นายอุเทน เจริญกูล | พ.ศ. 2519-2523 |
16 | นายชื่น ศรีสวัสดิ์ | พ.ศ. 2523-2532 |
17 | นายธีรพนธ์ กลางนภา | พ.ศ. 2532-2539 |
18 | นายเฉลิม หงษ์สัมฤทธิ์ | พ.ศ. 2539-2542 |
19 | นายวิวัฒน์ อนิวรรตกูล | พ.ศ. 2543-2546 |
20 | นางสาวบุบผา เสนาวิน | พ.ศ. 2546-2553 |
21 | นางสาวเพ็ญจรัส สิงห์ทอง | พ.ศ. 2554-2556 |
22 | ดร.วินัย ทองมั่น | พ.ศ. 2557-2559 |
23 | นายพันศักดิ์ ศรีทอง | พ.ศ. 2560-2563 |
24 | ดร.จงกล เดชปั้น | พ.ศ. 2563-2566 |
25 | นายชาญชัย ชนิดสะ | พ.ศ. 2566-2567 |
26 | ดร.ชาญณรงค์ ยาสุทธิ | พ.ศ. 2567-2569 |
แผนการเรียน
[แก้]มัธยมศึกษาตอนต้น
[แก้]- ห้อง 1-5 โครงการดาวรุ่งมุ่งโอลิมปิก
- ห้อง 6-12 แผนการเรียนปกติ
มัธยมศึกษาตอนปลาย
[แก้]- ห้อง 1-5 โครงการดาวรุ่งมุ่งโอลิมปิก (ม.3 เดิม)
- ห้อง 6-9 โครงการห้องเรียน พสวท. สมทบ
- ห้อง 10-12 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- ห้อง 13 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(เน้นภาษา)
- ห้อง 14 MP Program (ภาษาต่างประเทศ)
- ห้อง 15 Laboratory (ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์)
- ห้อง 16 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
คณะสี
[แก้]- คณะศิวาลัย (Siwalai) สีน้ำเงิน ห้อง 1, 12, 15
- คณะเพชราวุธ (Pinker) สีชมพู ห้อง 2, 11, 13
- คณะพิณทิพย์ (Pintip) สีเลือดหมู ห้อง 3, 10, 14
- คณะตรีโลกนาถ (Azure) สีฟ้า ห้อง 4, 9, 16
- คณะนารายณ์ (Narai) สีเขียว ห้อง 5, 8
- คณะเอราวัณ (Erawan) สีแสด ห้อง 6, 7
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ดร.วราเทพ รัตนากร - อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร), อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (รัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร)
- พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล - อดีตกระทรวงพลังงาน (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร), อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (รัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร)
- สวัสดิ์ คำประกอบ - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (รัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร), สำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์, พลเอก เปรม ติณสูลานนท์, พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ), รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช)
- ภาษิต อภิญญาวาท ผู้ประกาศข่าวช่อง 3
- ปราชญ์ พงษ์ไชย วงซีล
- ธาราเขต เพ็ชร์สุกใส นักแสดงช่อง 7
- ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- เอกพงศ์ จงเกษกรณ์ นักแสดงช่อง 3
- โชคชัย บัณฑิต กวีซีไรต์
- พรพรรณ ฤกษ์อัตการ นักแสดงสงครามนางงาม
- ปรัชญ์ อิทธิชัยเจริญ นักแสดง
- ศาสตราจารย์พิเศษ บัญญัติ สุชีวะ ประธานศาลฎีกา คนที่ 22, อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ