ข้ามไปเนื้อหา

ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์
ปกรุ่นปีค.ศ.1871
ผู้ประพันธ์ฌูล แวร์น
ชื่อเรื่องต้นฉบับVingt mille lieues sous les mers
ผู้วาดภาพประกอบAlphonse de Neuville กับ Édouard Riou
ประเทศฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศส
ชุดVoyages Extraordinaires
ประเภทผจญภัย
สำนักพิมพ์Pierre-Jules Hetzel
วันที่พิมพ์1870
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ
1872
เรื่องก่อนหน้าCaptain Grant's Children 
เรื่องถัดไปCircling the Moon 
หน้าปก Vingt mille lieues sous les mers ใต้ทะเลสองหมื่นลีก ฉบับภาษาฝรั่งเศส

ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์ (ฝรั่งเศส: Vingt mille lieues sous les mers; อังกฤษ: Twenty Thousand Leagues Under the Sea) เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดยฌูล แวร์น ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1870

นวนิยายกล่าวถึง กัปตันนีโม กับเรือดำน้ำของเขา ชื่อ นอติลุส ผ่านมุมมองของศาสตราจารย์ปิแอร์ แอรอนแนกซ์ นักชีววิทยาผู้โดยสารไปกับเรือ เรือดำน้ำลำนี้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างลับๆ โดยหน่วยงานของรัฐบาล และเดินทางไปทั่วโลก

ตอนที่มีชื่อเสียงที่สุดของนิยาย คือตอนที่เรือดำน้ำถูกโจมตีโดย ปลาหมึกยักษ์ ลูกเรือต้องต่อสู้กับปลาหมึกยักษ์และเสียชีวิตไปหลายคน

เรือดำน้ำนอติลุส

[แก้]

นอติลุส (Nautilus) แปลว่า หอยงวงช้าง ฌูล แวร์น นำชื่อของเรือดำน้ำนอติลุส มาจากชื่อเรือดำน้ำลำแรกของโลกที่ใช้งานได้จริงที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1800 โดยโรเบิร์ต ฟุลตัน ในภายหลังชื่อนี้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อเรือดำน้ำของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา หลายลำ ว่า "ยูเอสเอส นอติลุส" รวมทั้งเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ลำแรกของโลก "ยูเอสเอส นอติลุส (SSN-571)"' สร้างในปี ค.ศ. 1954

ภาพยนตร์

[แก้]

นวนิยายถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้ง ครั้งแรกในฝรั่งเศส เป็นภาพยนตร์เงียบในปี ค.ศ. 1907 ชื่อเรื่อง 20.000 Lieues Sous les Mers และในสหรัฐอเมริกา เป็นภาพยนตร์เงียบในปี ค.ศ. 1916 ชื่อเรื่อง 20,000 Leagues Under the Sea

ภาพยนตร์ฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุด สร้างโดยดิสนีย์ ในปี ค.ศ. 1954 นำแสดงโดย เคิร์ก ดักลาส

เกร็ด

[แก้]

ชื่อกัปตันนีโม ของเรือนอติลุส มาจากชื่อในมหากาพย์ของกรีกเรื่อง โอดิสซี แต่งโดย โฮเมอร์ มีความหมายว่า "No-man" หรือ "No-body" ถูกนำมาใช้เป็นชื่อตัวละคร ปลาการ์ตูน ใน นีโม...ปลาเล็กหัวใจโต๊...โต (Finding Nemo) ภาพยนตร์แอนิเมชัน ปี 2003 ของดิสนีย์

ภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]