ข้ามไปเนื้อหา

๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ
ปกภาพยนตร์ ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ
กำกับวิวัธน์ จิโรจน์กุล
บทภาพยนตร์ปัณฑา สิริกุล
วิวัธน์ จิโรจน์กุล
ปราชญ์ สามสี
อำนวยการสร้างวิวัธน์ จิโรจน์กุล
นักแสดงนำฉัตรชัย เปล่งพานิช
สินจัย เปล่งพานิช
จิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร
สุเมธ องอาจ
กิตติ เชี่ยววงศ์กุล
วันชนะ สวัสดี
นิติพงษ์ ห่อนาค
ทีมพากย์ไทยซื่อตรง
ผู้บรรยายจิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร
ตัดต่ออติกริช อารีสกุลกิจ
ดนตรีประกอบพันเอก ดร. ประทีป สุพรรณโรจน์
บริษัทผู้สร้าง
นคราสตูดิโอ
วันฉาย9 มีนาคม พ.ศ. 2567 (รอบปฐมทัศน์)
13 มีนาคม พ.ศ. 2567 (ออนไลน์)
ความยาว125 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย

๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ (อังกฤษ: 2475 Dawn of Revolution) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันไทยอิงประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. 2567 สร้างโดยนคราสตูดิโอ กำกับโดยวิวัธน์ จิโรจน์กุล เขียนบทโดยปัณฑา สิริกุล วิวัธน์ จิโรจน์กุล และ ปราชญ์ สามสี [1][2]

ภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศสยามในช่วงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย ตั้งแต่เหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ไปถึงการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2477

นักพากย์ผู้ให้เสียงตัวละครหลักได้แก่ ฉัตรชัย เปล่งพานิช, สินจัย เปล่งพานิช, จิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร, สุเมธ องอาจ, กิตติ เชี่ยววงศ์กุล, วันชนะ สวัสดี และนิติพงษ์ ห่อนาค ภาพยนตร์ออกฉายรอบปฐมทัศน์ที่โรงภาพยนตร์เซ็นจูรี่ สุขุมวิทเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2567 และฉายทางออนไลน์ให้ชมฟรีทางยูทูบ เฟซบุ๊ก และติ๊กต็อกในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567[1][3] ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางและก่อให้เกิดข้อถกเถียงทั้งในแง่บวกและแง่ลบหลังจากภาพยนตร์ออกฉาย[4][5][6]

ตัวละคร

[แก้]
ตัวละคร ให้เสียงโดย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉัตรชัย เปล่งพานิช
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี สินจัย เปล่งพานิช
ลุงดอน (ตัวละคร อ้างอิง จากประวัติของ พโยม โรจนวิภาต) [7][8] จิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
พระยาศรีวิสารวาจา
ปรีดี พนมยงค์ สุเมธ องอาจ
พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) กิตติ เชี่ยววงศ์กุล
พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) วันชนะ สวัสดี
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) นิติพงษ์ ห่อนาค
พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) พีรศักดิ์ เกษร
หลวงพิบูลสงคราม
พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) วรวุฒิ วรเนตร
ตี๋
ประยูร ภมรมนตรี อภิชาติ สมุทคีรี
เบิ้ม
พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) สุริยา บุญเจริญ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
พระยาวิชิตชลธี (ทองดี สุวรรณพฤกษ์)
เมเจอร์ เสาวลักษณ์ แซ่จิว

การออกฉาย

[แก้]

นคราสตูดิโอจัดฉายภาพยนตร์ "๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ" รอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงภาพยนตร์เซ็นจูรี่ เดอะ มูฟวี่ พลาซ่า สุขุมวิท และเผยแพร่ทางออนไลน์ในอีกสี่วันต่อมา[9] หลังจากนั้นได้มีฉายรอบพิเศษในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ณ พารากอนซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "'2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ' แอนิเมชันประวัติศาสตร์ที่คนไทยควรดู". กรุงเทพธุรกิจ. March 17, 2024. สืบค้นเมื่อ March 20, 2024.
  2. [ https://www.facebook.com/2475animation/videos/1538940683339419 ภาพบรรยากาศ วันฉายภาพยนตร์แอนิเมชัน 2475 Dawn of Revolution รอบพิเศษ ณ ห้องศิลปนิทรรศ มารศี วังสวนผักกาด เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567] |
  3. "ระดมดาราดังพากย์เสียง หนังแอนิเมชัน '2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ' รับชมฟรี 13 มี.ค.นี้". ไทยโพสต์. February 28, 2024. สืบค้นเมื่อ March 20, 2024.
  4. เปิดตัวแอนิเมชัน 2475 ประวัติศาสตร์แบบ "ทุกฝ่ายดูได้" ชมฟรีออนไลน์ 13 มี.ค.นี้
  5. 2475 Dawn of Revolution บทความโดย ดร.เสรี วงษ์มณฑา
  6. ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ : ขอบคุณนะคะที่กล้าจะสอน บทความโดย พิมพ์ชนก พุกสุข
  7. "รู้จัก 'ลุงดอน' ตัวเดินเรื่องแห่ง '๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ' หน่วยราชการพิเศษ ผู้ภักดีและอยู่เคียงข้าง 'ในหลวง ร.๗'". THESTATESTIMES (ภาษาอังกฤษ).
  8. ตัวละครลุงดอนได้รับแรงบันดาลใจมาจาก นาย พโยม โรจนวิภาต เดิมทีมี นามปากกา อ.ก. รุ่งแสง ("Facebook". www.facebook.com.
  9. "เปิดตัวแอนิเมชัน 2475 ประวัติศาสตร์แบบ "ทุกฝ่ายดูได้" ชมฟรีออนไลน์ 13 มี.ค.นี้". mgronline.com. 2024-03-09.
  10. "คนล้นโรง! 'พีระพันธุ์'นำทัพคนรักสถาบันฯ ดูหนัง'๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ'". mgronline.com. 2024-06-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]