เต่ามะเฟือง
เต่ามะเฟือง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยโฮโลซีน 0.012–0Ma | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน Reptilia |
อันดับ: | เต่า Testudines |
อันดับย่อย: | อันดับย่อยเต่า Cryptodira |
วงศ์ใหญ่: | Chelonioidea Chelonioidea |
วงศ์: | วงศ์เต่ามะเฟือง Dermochelyidae |
วงศ์ย่อย: | Dermochelyinae Dermochelyinae Blainville, 1816[3] |
สกุล: | Dermochelys Dermochelys (Vandelli, 1761)[3] |
สปีชีส์: | Dermochelys coriacea |
ชื่อทวินาม | |
Dermochelys coriacea (Vandelli, 1761)[3] | |
ชื่อพ้อง[4] | |
รายการชื่อพ้อง
|
เต่ามะเฟือง หรือ เต่าเหลี่ยม (อังกฤษ: Leatherback turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dermochelys coriacea) เป็นเต่าทะเล จัดเป็นเต่าชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน จึงเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวในวงศ์ Dermochelyidae และสกุล Dermochelys
เต่ามะเฟืองสามารถแยกออกจากเต่าประเภทอื่นได้โดยการสังเกตที่กระดองจะมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับผลมะเฟือง และครีบคู่หน้าไม่มีเล็บ ตั้งแต่ออกจากไข่ ความลึกที่เต่ามะเฟืองสามารถดำน้ำได้ถึง 1,280 เมตร[5]
การขยายพันธุ์
[แก้]เต่ามะเฟืองเพศเมียจะขึ้นมาวางไข่บนชายหาด ประมาณ 66-104 ฟอง/รัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในการวางไข่ เช่น อายุ สภาพอากาศ สภาพแวดล้อมของสถานที่วางไข่
วงจรชีวิต
[แก้]เต่ามะเฟืองจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 60-70 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ของสภาพแวดล้อม หลังจากฟักตัวแล้ว โดยมีประมาณ 85% ที่ฟักตัวได้ ลูกเต่าจะคลานออกจากรัง ลงสู่ทะเลโดยทันที เนื่องจากเป็นเต่ามะเฟืองเป็นเต่าน้ำลึก จึงไม่สามารถเก็บมาอนุบาลได้เป็นเวลานานซึ่งต่างกับเต่าทะเลสายพันธุ์อื่น ในวัยเจริญพันธุ์จะเติบโตและใช้เวลาอยู่ในทะเลเกือบชั่วชีวิต
อาหารของเต่ามะเฟือง
[แก้]เต่ามะเฟือง เนื่องจากเต่ามะเฟืองมีจะงอยปากที่สบกันเหมือนกรรไกร จึงมักกินอาหารที่อ่อนนุ่ม เช่น แมงกะพรุน แพลงก์ตอน สาหร่ายน้ำลึก
การกระจายพันธุ์
[แก้]เนื่องจากเต่าทะเล ส่วนใหญ่จะมีการเดินทางตามกระแสน้ำอุ่น จึงสามารถพบเต่ามะเฟืองได้ตามทวีป หรือ ประเทศที่มีกระแสน้ำอุ่นพัดผ่าน รวมถึงประเทศในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย หมู่เกาะอินดีส ปาปัวนิวกินี และ ในฝั่งทะเลแคริบเบียน
การอนุรักษ์
[แก้]เนื่องจากลูกเต่ามะเฟือง โดยธรรมชาติเมื่อฟักออกมาจะคลานลงทะเลทันที ไม่สามารถมาอนุบาลได้นานเพราะเป็นเต่าทะเลน้ำลึก จึงควรอนุรักษ์เต่ามะเฟืองโดยการไม่รบกวนสถานที่วางไข่ ไม่รับประทานไข่เต่า ไม่ทิ้งถุงพลาสติกลงทะเลเพราะเต่ามะเฟืองอาจะคิดว่าเป็นแมงกะพรุนและกินเข้าไป เมื่อพบว่าเต่าบาดเจ็บควรแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2562
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wallace, B.P.; Tiwari, M.; Girondot, M. (2013). "Dermochelys coriacea". IUCN Red List of Threatened Species. 2013: e.T6494A43526147. doi:10.2305/IUCN.UK.2013-2.RLTS.T6494A43526147.en. สืบค้นเมื่อ 11 October 2021.
- ↑ "Appendices | CITES". Cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- ↑ 3.0 3.1 Rhodin, A. G. J.; van Dijk, P. P.; Inverson, J. B.; Shaffer, H. B. (14 December 2010). Turtles of the world, 2010 update: Annotated checklist of taxonomy, synonymy, distribution and conservation status (PDF). Chelonian Research Monographs. Vol. 5. p. 000.xx. doi:10.3854/crm.5.000.checklist.v3.2010. ISBN 978-0965354097. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 July 2011.
- ↑ Uwe, Fritz; Havaš, Peter (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2): 174–176. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 May 2011. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
- ↑ "เต่ามะเฟือง".
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Wood, Roger Conant; Johnson-Gove, Jonnie; Gaffney, Eugene S.; Maley, Kevin F. (1996). "Evolution and phylogeny of the leatherback turtles (Dermochelyidae), with descriptions of new fossil taxa". Chelonian Conservation and Biology. 2: 266–286.
- The Leatherback Turtle: Biology and Conservation. United States, Johns Hopkins University Press, 2015.
- Rake, Jody Sullivan. Leatherback Sea Turtles. United States, Capstone Press, 2012.
- Hirsch, Rebecca E.. Leatherback Sea Turtles: Ancient Swimming Reptiles. United States, Lerner Publishing Group, 2015.
- ชีวิตสัตว์ทะเล. สมชาย วงส์การุณ. ปัญญาใส. 2542. หน้า 20