หัมปี
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
---|---|
ที่ตั้ง | อำเภอพาลลรี, รัฐกรณาฏกะ, ประเทศอินเดีย |
รวมถึง | วิรูปักษะมนเทียร |
เกณฑ์พิจารณา | Cultural: i, iii, iv |
อ้างอิง | 241 |
ขึ้นทะเบียน | 1986 (สมัยที่ 10th) |
ภาวะอันตราย | 1999-2006 |
พื้นที่ | 4,187.24 ha |
พื้นที่กันชน | 19,453.62 ha |
เว็บไซต์ | Archaeological Survey of India - Hampi |
พิกัด | 15°20′04″N 76°27′44″E / 15.33444°N 76.46222°E |
หัมปี (Hampi) หรือ หัมเป (Hampe) หรือเรียกว่า กลุ่มอนุสรณ์สถานที่หัมปี (Group of Monuments at Hampi) เป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ตั้งอยู่ทางตะวันออกตอนกลางของรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย[1]
ในอดีต หัมปีเคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิวิชัยนคร ในศตววรณที่ 14[2] บันทึกเหตุการณ์ของนักเดินทางชาวเปอร์เซียและยุโรปโดยเฉพาะชาวโปรตุเกส ระบุว่าหัมปีเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง, มั่งคั่ง และยิ่งใหญ่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตุงคภัทร ในเมืองเต็มไปด้วยวิหาร บ้านเรือน และตลาด ในช่วงปี 1500 หัมปีวิชัยคร เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับสองในบรรดาเมืองยุคกลาง เป็นรองเพียงปักกิ่ง และเป็นไปได้ว่าเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในอินเดียในยุคนั้น มีทั้งผู้ค้าจากเปอร์เซียและโปรตุเกส[3][4]จักรวรรดิวิชัยนครสิ้นสุดลงหลังพ่ายแพ้ภายหลังการปะทะกับรัฐสุลต่านมุสลิม เมืองหลวงหัมปีถูกยึดครอง ทุบทำลายและลักเอาของมีค่าไปโดยกองทัพของสุลต่านในปี 1565 หลังจากนั้นหัมปีก็อยู่ในสภาพเป็นซากปรักหักพังมาโดยตลอด[2][5][6]
ปัจจุบันหัมปีตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ ใกล้กับเมืองโหสปีตี ซากปรักหักพังของหัมปีกินพื้นที่มากกว่า 4,100 เฮกตาร์ (16 ตารางไมล์) และยูเนสโกได้ยกย่องให้หัมปีเป็น "แหล่งที่ขึงขังและยิ่งใหญ่ (austere, grandiose site)" ที่มี 1,600 อาคารที่ยังหลงเหลือมาถึงในปัจจุบัน ของอาณาจักรฮินดูอันยิ่งใหญ่อาณาจักรสุดท้ายของอินเดียใต้ ประกอบไปด้วยทั้ง "ป้อมปราการ, พื้นที่ริมแม่น้ำ, หมู่อาคารหลวงและศาสนสถาน, เทวาลัย, ศาล, หอที่มีเสา, มณฑป, อนุสาวรีย์, สิ่งก่อสร้างเพื่อขนส่งน้ำและอื่น ๆ"[7]
หัมปีมีอายุเก่าแก่กว่าอาณาจักรวิชัยนคร มีหลักฐานแสดงในจารึกยุคพระเจ้าอโศกมหาราชและมีปรากฏใน รามายณะ และบรรดาปุราณะในศาสนาฮินดูด้วยชื่อปัมปา (ปารวตี) เทวีตีรถะเกษตร[2][8] ในปัจจุบัน หัมปียังคงมีความสำคัญในทางศาสนา เช่นวิรูปักษะมนเทียร ซึ่งเป็นเทวาลัยของอาทิศังการะ และยังคงมีผู้เข้ามาสักการะรวมถึงมีพิธีกรรมอยู่ตลอด[5][9]
คำว่าหัมปีมาจากภาษากันนาดาเก่า ปัมปา (Pampaa) อันแปลว่าใหญ่หรือยิ่งใหญ่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Group of Monuments at Hampi". World Heritage. สืบค้นเมื่อ 20 December 2006.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Anila Verghese 2002, pp. 1–18
- ↑ Michael C. Howard (2011). Transnationalism and Society: An Introduction. McFarland. pp. 77–78. ISBN 978-0-7864-8625-0.
- ↑ Nicholas F. Gier (2014). The Origins of Religious Violence: An Asian Perspective. Lexington. pp. 11–14. ISBN 978-0-7391-9223-8., Quote: "In its peak of glory, ca. 1500, with a population of about 500,000 and sixty square miles in area, Vijayanagara was the second largest city in the world behind Beijing."
- ↑ 5.0 5.1 Fritz & Michell 2016, pp. 11–23, backpage
- ↑ Lycett, Mark T.; Morrison, Kathleen D. (2013). "The Fall of Vijayanagara Reconsidered: Political Destruction and Historical Construction in South Indian History 1". Journal of the Economic and Social History of the Orient. 56 (3): 433–470. doi:10.1163/15685209-12341314.
- ↑ Group of Monuments at Hampi, UNESCO
- ↑ John M. Fritz; George Michell; Clare Arni (2001). New Light on Hampi: Recent Research at Vijayanagara. Marg Publications. pp. 1–7. ISBN 978-81-85026-53-4.
- ↑ Joan-Pau Rubiés (2002). Travel and Ethnology in the Renaissance: South India Through European Eyes, 1250–1625. Cambridge University Press. pp. 234–236. ISBN 978-0-521-52613-5.
บรรณานุกรม
[แก้]- S.Srinivasachar, T.S.Satyan, Hampi : The fabled capital of the Vijayanagara Empire, (Directorate of Archaeology and Museums), Govt. of Karnataka, 1995
- Vinayak Bharne; Krupali Krusche (2014). Rediscovering the Hindu Temple: The Sacred Architecture and Urbanism of India. Cambridge Scholars. ISBN 978-1-4438-6734-4.
- Eaton, Richard M. (2006). A social history of the Deccan, 1300–1761: eight Indian lives. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-71627-7.
- Heather Elgood (2000). Hinduism and the Religious Arts. Bloomsbury Academic. ISBN 978-0-304-70739-3.
- J.M. Fritz; George Michell, บ.ก. (2001). New Light on Hampi: Recent Research at Vijayanagara. Marg. ISBN 978-81-85026-53-4.
- Fritz, John M; Michell, George (2016). Hampi Vijayanagara. Jaico. ISBN 978-81-8495-602-3.
- Adam Hardy (1995). Indian Temple Architecture: Form and Transformation : the Karṇāṭa Drāviḍa Tradition, 7th to 13th Centuries. Abhinav. ISBN 978-81-7017-312-0.
- Stella Kramrisch (1993). The Hindu Temple. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0224-7.
- George Michell (1977). The Hindu Temple: An Introduction to Its Meaning and Forms. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-53230-1.
- George Michell (1995). Architecture and Art of Southern India. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-44110-0.
- David Kinsley (1988). Hindu Goddesses: Visions of the Divine Feminine in the Hindu Religious Tradition. University of California Press. ISBN 978-0-520-90883-3.
- James Lochtefeld (2002), The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Vol. 2: N–Z, Rosen Publishing, ISBN 978-0-8239-2287-1
- A.N. Longhurst, Hampi Ruins Described and Illustrated, (Laurier Books Ltd., 1998) ISBN 81-206-0159-9
- Michael W. Meister; Madhusudan A. Dhaky (1996). Encyclopaedia of Indian Temple Architecture. American Institute of Indian Studies. ISBN 978-81-86526-00-2.
- Anila Verghese (2002). Hampi. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-565433-2.
- Anila Verghese (2000). Archaeology, Art and Religion: New Perspectives on Vijayanagara. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-564890-4.
- The Ruins of Hampi:Travel Guide ISBN 81-7525-766-0
- Karnataka State Gazetteer 1983.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Hampi Museum, Archaeological Survey of India
- Group of Monuments at Hampi, UNESCO World Heritage List
- Vijayanagara Research Project, Penn Museum
- Fields of Victory: Vijayanagara เก็บถาวร 2015-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Kathleen Morrison, UC Berkeley
- Hampi เก็บถาวร 2019-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Exploring The Lost Empire
- Hampi - Travel Guide