คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย
คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) เป็นชื่อของระบบวิปในประเทศไทย สำหรับฝ่ายรัฐบาลเป็นหลัก
เริ่มมีการดำเนินการอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2526 ในสมัยคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43 (พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี) โดยมี บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็นประธานคนแรก ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 76/2526
ปัจจุบัน องค์ประกอบตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 311/2567 มีดังต่อไปนี้
- คณะที่ปรึกษา - ปัจจุบันได้แก่ นายชูศักดิ์ ศิรินิล นางมนพร เจริญศรี นายสมคิด เชื้อคง และ นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์
- ประธานกรรมการ - มาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา (หรือเป็นบุคคลที่รัฐบาลให้ความไว้วางใจที่จะประสานงานระหว่าง สภาฯ กับ รัฐบาล) 1 ราย
- รองประธานกรรมการ - 6 รายมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา
- กรรมการ - มาจากพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล โดยจัดสรรตามที่นั่งในสภา จำนวน 40 ราย
- กรรมการที่มาจาก ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 1 ราย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 1 ราย ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 1 ราย
- เลขานุการ - จะมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา ปัจจุบันได้แก่ นาย ศรัณย์ ทิมสุวรรณ
- ผู้ช่วยเลขานุการ - ปัจจุบันมาจาก ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านประสานกิจการภายในประเทศ (นางภคนันท์ ศิลาอาสน์) ผู้อำนวยการกองประสานงานการเมืองสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายจงเจริญ สุวรรณรัตน์) ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานการเมือง 1 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย 2 ราย
รวมจำนวนบุคคลที่เป็นคณะกรรมการทั้งหมด 59 ราย
อำนาจหน้าที่
แก้วิปรัฐบาล
แก้หน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร หลัก ๆ มีดังนี้[1]:
- ประสานงานเรื่องที่เกี่ยวข้องระหว่างสภาฯ กับ คณะรัฐมนตรี หรือ ระหว่างสมาชิกสภาฯ ในฝั่งรัฐบาลกันเอง
- พิจารณาระเบียบวาระการประชุม และแจ้งผลการพิจารณา ให้สมาชิกสภาฯ ทราบ ก่อนการประชุมสภาฯ
- ประสานงานในการลงมติ และ สรุปผลลงมติให้กับรัฐบาล
รายชื่อประธานวิป
แก้ประธานวิปรัฐบาล
แก้รายนามประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ประธานวิปรัฐบาล)[1]
ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | พรรคการเมือง | คณะรัฐมนตรี | |
-
(ไม่เป็นทางการ) |
พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร
(รองนายกรัฐมนตรี) |
1 มีนาคม พ.ศ. 2523 | 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | ชาติไทย | เปรม 1 | ||
1 | บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
(รองนายกรัฐมนตรี) |
30 เมษายน พ.ศ. 2526 | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 | กิจสังคม | เปรม 2 | ||
2 | พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา
(รองนายกรัฐมนตรี) |
10 สิงหาคม พ.ศ. 2529 | 23 กันยายน พ.ศ. 2529 | ||||
3 | พิชัย รัตตกุล | 24 กันยายน พ.ศ. 2529 | 29 เมษายน พ.ศ. 2531 | ประชาธิปัตย์ | เปรม 3 | ||
4 | บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี) |
27 เมษายน พ.ศ. 2531 | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | ชาติไทย | ชาติชาย 1 ชาติชาย 2 | ||
5 | ณรงค์ วงศ์วรรณ
(รองนายกรัฐมนตรี) |
29 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | สามัคคีธรรม | สุจินดา | ||
6 | เทอดพงษ์ ไชยนันทน์
(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี) |
1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | ประชาธิปัตย์ | ชวน 1 | ||
7 | ปองพล อดิเรกสาร
(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี) |
3 กรกฏาคม พ.ศ. 2538 | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2539 | ชาติไทย | บรรหาร | ||
8 | ชิงชัย มงคลธรรม
(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี) |
31 ธันวาคม พ.ศ. 2539 | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 | ความหวังใหม่ | ชวลิต | ||
9 | จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี) |
7 ธันวาคม พ.ศ. 2541 | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 | ประชาธิปัตย์ | ชวน 2 | ||
10 | เสนาะ เทียนทอง | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2544 | 4 กันยายน พ.ศ. 2548 | ไทยรักไทย | ทักษิณ 1 ทักษิณ 2 | ||
11 | พงศ์เทพ เทพกาญจนา | 5 กันยายน พ.ศ. 2548 | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2549 | ทักษิณ 2 | |||
12 | หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | อิสระ | สุรยุทธ์ | ||
13 | ชัย ชิดชอบ | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550 | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | พลังประชาชน | สมัคร | ||
14 | สามารถ แก้วมีชัย | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2551 | ||||
15 | วิทยา บุรณศิริ | 7 กรกฏาคม พ.ศ. 2551 | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | สมัคร สมชาย | |||
16 | ชินวรณ์ บุณยเกียรติ | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | 6 มกราคม พ.ศ. 2553 | ประชาธิปัตย์ | อภิสิทธิ์ | ||
17 | วิทยา แก้วภราดัย | 12 มกราคม พ.ศ. 2553 | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | ||||
18 | อุดมเดช รัตนเสถียร | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | เพื่อไทย | ยิ่งลักษณ์ | ||
19 | อำนวย คลังผา | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557 | ||||
20 | สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี) |
23 ธันวาคม พ.ศ. 2557 | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562 | อิสระ | ประยุทธ์ 1 | ||
21 | วิรัช รัตนเศรษฐ | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562 | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 | พลังประชารัฐ | ประยุทธ์ 2 | ||
22 | นิโรธ สุนทรเลขา | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | พลังประชารัฐ ↓ รวมไทยสร้างชาติ |
|||
23 | อดิศร เพียงเกษ | 14 กันยายน พ.ศ. 2566 | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 | เพื่อไทย | เศรษฐา | ||
24 | วิสุทธิ์ ไชยณรุณ | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน |
ประธานวิปฝ่ายค้าน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (มกราคม 2024) |
ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | พรรคการเมือง | คณะรัฐมนตรี | |
1
(1) |
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ | 28 ธันวาคม พ.ศ. 2539 | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2540[2] | ประชาธิปัตย์ | ชวลิต | ||
2 | อดิศร เพียงเกษ | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2540 | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | ความหวังใหม่ | ชวน 2 | ||
1
(2) |
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 | 31 มกราคม พ.ศ. 2548 [2] | ประชาธิปัตย์ | ทักษิณ 1 | ||
3 | สาทิตย์ วงศ์หนองเตย | 4 เมษายน พ.ศ. 2548 | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | ทักษิณ 2 | |||
2 มกราคม พ.ศ. 2551 | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | สมัคร สมชาย | |||||
4 | วิทยา บุรณศิริ | 1 มกราคม พ.ศ. 2552 | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | เพื่อไทย | อภิสิทธิ์ | ||
1
(3) |
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | ประชาธิปัตย์ | ยิ่งลักษณ์ | ||
5 | สุทิน คลังแสง | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[3] | 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | เพื่อไทย | ประยุทธ์ 2 | ||
6 | ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน | ก้าวไกล | เศรษฐา | ||
ประชาชน | แพทองธาร |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:0
- ↑ 2.0 2.1 "คณะกรรมการบริหาร กองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-03-04. สืบค้นเมื่อ 2024-03-04.
- ↑ "ส่วนที่ ๑ ความเป็นมาของคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร". คณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ – ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔). กลุ่มงานผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: 13. สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2024 – โดยทาง คลังสารสนเทศของสภานิติบัญญัติ.