สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา[1][2] ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และอดีตรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง เป็นหนึ่งในแกนนำพรรครวมชาติพัฒนา[3] (ปัจจุบันคือพรรคชาติพัฒนากล้า) แต่ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั่วไป 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เนื่องจากถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ | |
---|---|
สุวัจน์ในปี พ.ศ. 2553 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พงศ์เทพ เทพกาญจนา |
ถัดไป | พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
ถัดไป | สุเทพ เทือกสุบรรณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | สมศักดิ์ เทพสุทิน |
ถัดไป | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2537 – 17 กรกฎาคม 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | พิศาล มูลศาสตรสาทร |
ถัดไป | ยิ่งพันธ์ มนะสิการ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุธรรม แสงประทุม |
ถัดไป | ยุบตำแหน่ง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | เดช บุญ-หลง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม) |
ถัดไป | อุไรวรรณ เทียนทอง |
หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา | |
ดำรงตำแหน่ง 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547 | |
ก่อนหน้า | กร ทัพพะรังสี |
ถัดไป | เชษฐา ฐานะจาโร (หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา) |
ประธานพรรคชาติพัฒนา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | |
ก่อนหน้า | วรรณรัตน์ ชาญนุกูล |
เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา | |
ดำรงตำแหน่ง 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 | |
ก่อนหน้า | ประจวบ ไชยสาส์น |
ถัดไป | ปวีณา หงสกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ปวงชนชาวไทย (2531–2535) ชาติพัฒนา (2535–2547) ไทยรักไทย (2547–2550) ชาติพัฒนากล้า (2555–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ |
ประวัติ
แก้สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เกิดวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายวิศว์ และนางจรัสพิมพ์ ลิปตพัลลภ (สกุลเดิม : ศักดิ์สมบูรณ์) นับเป็นบุตรคนที่สามในพี่น้องทั้งหมด 5 รายจากรายนามต่อไปนี้ นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ ผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน[4]นายเสวี ลิปตพัลลภ, นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ, พล.ต.อ.วุฒิ ลิปตพัลลภ ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5][6], อดีตที่ปรึกษา สบ.10[7] และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ ประธานสโมสรนครราชสีมา เอฟซี สโมสรฟุตบอลนครราชสีมา
สุวัจน์ ลิปตพัลลภจบการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี และระดับมัธยมจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเพอร์ดู รัฐอินดีแอนา ประเทศสหรัฐอเมริกา
สมรสกับ พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีบุตรด้วยกัน 2 คนคือ นายพสุ ลิปตพัลลภ และ นางสาว พราวพุธ ลิปตพัลลภ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์[8]ต่อมา นางสาว พราวพุธ ลิปตพัลลภ สมรสกับ นาย อิทธิชัย พูลวรลักษณ์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) นายพสุ สมรส กับนางสาว ปัทมรัตน์ พหิทธานุกร บุตรสาว ปานปรีย์ พหิทธานุกร
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ มีเครื่องบินส่วนตัวหนึ่งลำได้แก่ HS-SPL ย่อมาจาก Mr. Suwat Liptapanlop
การเมือง
แก้นายสุวัจน์ เริ่มเข้าสู่การเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2531 ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัน (1)[9] พ.ศ. 2534 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัน (2)[10]
ภายหลังการยุบสภาในปี พ.ศ. 2535 นายสุวัจน์ ได้เข้าร่วมกับพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกร ทัพพะรังสี และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง จัดตั้งพรรคชาติพัฒนาขึ้น[11]
ในรัฐบาลของพลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[12] และในปี พ.ศ. 2538 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของชวลิต ยงใจยุทธ[13] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย
ในปี พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร (1)[14] และ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นรองนายกรัฐมนตรี ต่อจากนั้นไม่นานก็ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (2)[15]
สุวัจน์เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ต่อจากนายกร ทัพพะรังสี ซึ่งลาออกไปร่วมกับพรรคไทยรักไทย และต่อมาในปี พ.ศ. 2548 นายสุวัจน์ จึงประกาศยุบพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 สุวัจน์ได้ส่งตัวแทนนำหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคไทยรักไทย พร้อมสมาชิกกลุ่มอีก 30 คน โดยมีนายจำลอง ครุฑขุนทด ประธานคณะทำงานติดตามบริหารราชการแผ่นดิน พรรคไทยรักไทย เป็นตัวแทนรับหนังสือลาออกดังกล่าวไว้ ทั้งนี้ได้จัดตั้งกลุ่มแนวร่วมสมานฉันท์กับ พินิจ จารุสมบัติ, ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ และ สุวิทย์ คุณกิตติ พร้อมสมาชิกอีกประมาณ 40 คน โดยยืนยันจะเดินหน้าทำงานด้านการเมืองต่อไป โดยยึดหลักความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในประเทศ และปฏิเสธข่าวไม่ได้เข้าพบคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด[16]
และในปีเดียวกัน สุวัจน์ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[17]
5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 สุวัจน์ถูกจับตามองเรื่องการจัดตั้ง พรรคสมานฉันท์ โดยมีสมาชิกเป็นกลุ่มทั้ง 30 คนที่ลาออกจากพรรคไทยรักไทยไปก่อนหน้านี้ โดยแถลงกับสื่อมวลชนว่าจะมีความชัดเจนหลังวันที่ 19 สิงหาคม เพราะการตัดสินใจต้องรอว่าประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่าน ทั้งนี้ หากประชามติไม่ผ่านอาจจะมีกติกาใหม่ๆ เกิดขึ้น[18]
3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 สุวัจน์นำกลุ่มแนวร่วมสมานฉันท์ ร่วมกับ พรรครวมใจไทย (พ.ศ. 2550) ก่อตั้ง พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
การกีฬา
แก้สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย วาระปี พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2556 และดำรงตำแหน่งนายกลอนเทนนิสสมาคมอีกด้วยและประธานกิตติมศักดิ์ สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[20]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[21]
อ้างอิง
แก้- ↑ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏ (คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช, นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ, ศาสตราจารย์เกษม จันทร์แก้ว, ศาสตราจารย์ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา, ศาสตราจารย์เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
- ↑ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ตัวจริงรวมใจไทยชาติพัฒนา
- ↑ "ชีวประวัติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2012-10-02.
- ↑ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ↑ ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ อดีตที่ปรึกษา สบ.10
- ↑ พราวผุดคอนโดลักชัวรีในหัวหินรับเปิดเมืองจับกลุ่มครอบครัว-รีไทร์เมนท์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ "ได้เข้าร่วมกับพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกร ทัพพะรังสี และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง จัดตั้งพรรคชาติพัฒนาขึ้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-01-05.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-13.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ""สุวัจน์" ถือฤกษ์วันเกิดทิ้ง ทรท.-ผนึก "พินิจ" ตั้งกลุ่ม "สมานฉันท์"". mgronline.com. 2007-02-09.
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ ""สุวัจน์" แย้มเปิดตัว "พรรคสมานฉันท์" หลังประชามติร่าง รธน". mgronline.com. 2007-08-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย “สึนามิ”, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ